ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยมี ภาวะซีด

รวบรวมข้อมูลโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี

         "ซีด" คือ ภาวะที่มีจำนวนเม็ดเลือดแดง ในร่างกายน้อยกว่าปกติ และติดสีจาง การวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจเลือด สำหรับประวัติที่สำคัญ คือ อายุ เพศ เชื้อชาติ ระยะเวลาเกิดภาวะซีด ประวัติโรคเลือดในครอบครัว อาหารและยาที่เด็กรับประทาน โรคประจำตัว การเสียเลือดทางอวัยวะต่างๆ (เช่น อุจจาระสีดำ) และประวัติการติดเชื้อบางชนิด
          สาเหตุของภาวะซีดนั้น เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ขาดธาตุเหล็ก ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด รองลงมา คือ ขาดธาตุโฟเลต และวิตามินบี 12 เป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคขาดเอนไซม์ของเม็ดเลือดแดง เช่น เอนไซม์จีซิกซ์พีดี ซึ่งพบบ่อยในเด็กผู้ชาย การเสียเลือด เช่น มีพยาธิปากขอ หรือจากมีประจำเดือนมากในเด็กผู้หญิง มีเซลล์ผิดปกติแทนในไขกระดูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคไขกระดูกฝ่อ
          ส่วนการรักษาเบื้องต้นนั้น การรักษาของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะซีด ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาที่ตรงจุด ไม่ควรรักษาด้วยตนเอง
  สำหรับอาการที่ควรไปปรึกษาแพทย์นั้น ประกอบด้วย เหนื่อย ไม่มีแรง เป็นลม อ่อนเพลียง่าย ขาดสมาธิในการเรียนหนังสือ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ชอบกินของแปลกที่ไม่ใช่อาหาร เช่น ยางลบ ดินสอ กระดาษ มีอาการไข้ จ้ำเลือดตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ร่วมด้วย
          อย่างไรก็ตาม ในการป้องกันภาวะนั้น ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผัก และผลไม้ เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า เพื่อป้องกันการติดเชื้อพยาธิปากขอ ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาก ควรรับประทานธาตุเหล็กเสริม ขณะมารดาตั้งครรภ์ ควรแจ้งแพทย์หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเลือด
 
          ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน  โดย  รศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย


  View : 3.27K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 791
 เมื่อวาน 1,080
 สัปดาห์นี้ 4,755
 สัปดาห์ก่อน 97
 เดือนนี้ 5,038
 เดือนก่อน 33,046
 จำนวนผู้เข้าชม 886,716
  Your IP : 3.145.186.132