โครงการจัดบริการแก่เด็กบกพร่องทางพัฒนาการวัยแรกเกิด-5ปี

หลักการและเหตุผล

                                ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กบกพร่องทางพัฒนาการเฉลี่ยร้อยละ 1-2 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเด็กเหล่านี้ยังถูกมองข้าม และถูกทอดทิ้งให้เป็นภาระของครอบครัวและสังคมจำนวนมาก สำหรับกรุงเทพมหานครมีประชากรประมาณ 5,702,224 คน (กรมการปกครอง, 20 ธันวาคม 2552)  จึงประมาณได้ว่าน่าจะมีเด็กบกพร่องทางพัฒนาการประมาณ 57,000-114,000 คน นอกจากนั้นกรุงเทพมหานครมีสถิติเด็กเกิดใหม่เฉลี่ยปีละประมาณ 110,000 คน (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2546-2550) โดยในจำนวนนี้มีเด็กน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ประมาณร้อยละ 12  ซึ่งเป็นกลุ่มสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังปัญหาภาวะบกพร่องทางพัฒนาการ และเมื่อรวมกับเด็กบกพร่องทางพัฒนาการที่ต้องช่วยเหลือดูแลพบว่าเป็น จำนวน 70,200 – 127,200 คน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่บิดามารดาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักในการเฝ้าระวัง และให้การช่วยเหลือดูแลส่งเสริมให้มีการพัฒนาไปตามวัยอย่างถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ถ้าปล่อยปละละเลยไม่มีกระบวนการดูแลช่วยเหลือที่ชัดเจน เด็กจะเสียโอกาสในการพัฒนาตามวัยรวมทั้งอาจเกิดปัญหาพัฒนาการที่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นภาระต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติในที่สุด

                                ในปี 2552 สถาบันราชานุกูล ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ (กรุงเทพมหานคร) และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันดำเนินงานให้มีระบบการคัดกรองเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี ในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร 30 แห่ง และเพิ่มความเข้มแข็งของระบบบริการให้มีการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการ  จากการดำเนินงาน พบว่า เด็กในพื้นที่เป้าหมายได้รับการคัดกรองพัฒนาการจำนวน 52,778 คน (เดือนเมษายน – พฤศจิกายน 2552) คิดเป็นร้อยละประมาณ 25 ของประชากรเด็กในพื้นที่ (ประชากรเด็กในพื้นที่ จำนวน 211,477 คน : กรมการปกครอง, ธันวาคม 2551 ) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2551 เด็กได้รับการตรวจสุขภาพและตรวจพัฒนาการครบตามเกณฑ์ จากศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร 68 แห่ง จำนวน 68,329 คน คิดเป็นร้อยละประมาณ 19  ของประชากรเด็กในพื้นที่(ประชากรเด็กในพื้นที่ จำนวน 357,419 คน : กรมการปกครอง, ธันวาคม 2551) และจากการคัดกรองพัฒนาการเด็กจำนวน 52,778 คน พบมีความเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางพัฒนาการ จำนวน 5,658 คน แต่มีเด็กที่ได้รับการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการจำนวน 671 คน ดังนั้นเพื่อความครอบคลุม และความต่อเนื่องในการจัดบริการ สถาบันราชานุกูล ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ (กรุงเทพมหานคร) และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จึงจัดทำ “โครงการการจัดบริการแก่เด็กบกพร่องทางพัฒนาการวัยแรกเกิด-5 ปี ในกรุงเทพมหานคร” ต่อเนื่องในปี 2553 เพื่อพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ และดำเนินการพัฒนาระบบส่งต่อในระดับทุติยภูมิให้มีประสิทธิภาพ และเตรียมความพร้อมในหน่วยบริการระดับตติยภูมิ  ตลอดจนพัฒนาต้นแบบพื้นที่บริการในชุมชน

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อให้เด็กบกพร่องทางพัฒนาการวัยแรกเกิด- 5 ปี ในกรุงเทพมหานคร ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการให้มีพัฒนาการดีที่สุดตามศักยภาพที่เป็นไปได้อย่างทั่วถึง และถูกต้องเหมาะสม

                2.  เพิ่มความเข้มแข็งของระบบส่งต่อในหน่วยบริการระดับทุติยภูมิ 8 แห่ง และเตรียมความพร้อมในหน่วยบริการระดับตติยภูมิ 4 แห่ง

                3.  ให้การส่งเสริมสนับสนุนแก่บุคลากรในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันในด้านการคัดกรองเด็กและจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการแก่ผู้ปกครองได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                1. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานครสามารถคัดกรองเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการได้ครอบคลุมประชากรของพื้นที่เป้าหมาย

                2. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานครสามารถจัดบริการให้เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างเหมาะสม

                3. มีระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ

                4. มีต้นแบบการคัดกรองและจัดบริการแก่เด็กบกพร่องทางพัฒนาการในชุมชน                

ปัจจุบันสามารถเข้ารับบริการได้ที่

หน่วยบริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร

 

ระดับตติยภูมิ

ชื่อหน่วยงาน

เบอร์โทรศัพท์

สถาบันราชานุกูล

02-245-4601-5

วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

02-244-3000

โรงพยาบาลตากสิน

02-437-0123

โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

02-292-1848

 

ระดับทุติยภูมิ

ชื่อหน่วยงาน

เบอร์โทรศัพท์

ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กราชานุกูล (วัดม่วงแค)

02-234-0456

ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กราชานุกูล (คลองกุ่ม)

02-377-4272

ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ

02-587-0881

ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง

02-246-2553

ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง

02-392-2488, 02-391-6082

ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา

02-236-4055, 02-236-1960

ศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน

02-577-9607, 02-577-1342

ศูนย์บริการสาธารณสุข 33 วัดหงส์รัตนาราม

02-472-5895-6

 

ระดับปฐมภูมิ

ชื่อหน่วยงาน

เบอร์โทรศัพท์

ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์

02-284-2331, 02-284-2420

ศูนย์บริการสาธารณสุข 8 บุญรอด รุ่งเรือง

02-361-6760-2

ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 ประชาธิปไตย

02-282-8494

ศูนย์บริการสาธารณสุข 13 ไมตรี วานิช

02-222-7875

ศูนย์บริการสาธารณสุข 15 ลาดพร้าว

02-541-8380

ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 ประชานิเวศน์

02-591-6360, 02-589-5768

ศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง

02-910-7314-5

ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ

02-321-8813, 02-321-2683

ศูนย์บริการสาธารณสุข 27 จันทร์ ฉิมไพบูลย์

02-465-1000

ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี

02-860-8210, 02-437-2009

 

ระดับปฐมภูมิ(ต่อ)

ชื่อหน่วยงาน

เบอร์โทรศัพท์

ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร

02-476-6629, 02-476-6493

ศูนย์บริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก

02-331-9114

ศูนย์บริการสาธารณสุข 38 จี๊ด ทองคำ บำเพ็ญ

02-241-8378-82

ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค

02-454-7070, 02-454-4188

ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตย

02-249-1385, 02-240-2056

ศูนย์บริการสาธารณสุข 42 ถนอม ทองสิมา

02-415-2052

ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุรี

02-540-7254, 02-540-5615-6

ศูนย์บริการสาธารณสุข 44 ลำผักชี หนองจอก

02-988-1633-6

ศูนย์บริการสาธารณสุข 45 ร่มเกล้า ลาดกระบัง

02-543-0393, 02-543-0458

ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ

02-421-2147-9

ศูนย์บริการสาธารณสุข 50บึงกุ่ม

02-375-2797, 02-374-5633

ศูนย์บริการสาธารณสุข 53 ทุ่งสองห้อง

ความก้าวหน้าของโครงการฯในปี 2554


โปสเตอร์รณรงค์.pdf
ตารางส่งเสริมพัฒนาการ.pdf
บกพร่องทางพัฒนาการ.pdf
ออทิสติก.pdf
โรคซน.pdf

  View : 9.55K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 1,258
 เมื่อวาน 1,986
 สัปดาห์นี้ 5,229
 สัปดาห์ก่อน 13,224
 เดือนนี้ 24,636
 เดือนก่อน 65,202
 จำนวนผู้เข้าชม 817,287
  Your IP : 18.226.251.72