1.ชื่อผลงาน ปั้น แปะตามรอย
2.หน่วยงาน งานศิลปกรรมบำบัด กลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพและการศึกษาพิเศษ
3.ปีที่ดำเนินการ 2559
4.ความสำคัญ ปั้น แปะ
5.เป้าหมาย เพื่อให้เด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญามีสมาธิเพิ่มขึ้นหลังทำกิจกรรมศิลปะการปั้น
6.ปัญหาและสาเหตุ
งานศิลปกรรมบำบัดเป็นหน่วยงานที่ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้บกพร่องทางพัฒนาและสติปัญญา 3 กลุ่มวัย 3-5 ปี, 6-18 ปี และ 18-25 ปี ที่มีปัญหาพฤติกรรม สมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่ง และเสริมทักษะศิลปะให้ดีขึ้น จากการให้บริการฟื้นฟูฯ พบว่าร้อยละ 70 ผู้บกพร่องฯ กลุ่ม 6-18 ปี ที่มารับบริการ มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่ง ลุกเดินบ่อย ไม่สามารถร่วมกิจกรรมศิลปะได้ตามเวลาที่กำหนด ทำให้การรับรู้ เรื่อง การมอง การฟัง พัฒนาไปได้ช้า ซึ่งผู้บกพร่อง ฯ ในกลุ่มนี้บางคน ยังอยู่ในระบบโรงเรียน มีปัญหาเรื่องสมาธิ ไม่ร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน งานศิลปกรรมบำบัดมีกิจกรรมศิลปะหลายอย่าง แต่พบว่า ผู้บกพร่องฯ ทำกิจกรรมศิลปะ การปั้น แล้วทำให้ พัฒนาผู้บกพร่อง ฯ ให้มีสมาธิเพิ่มขึ้น มากกว่ากิจกรรมอื่น
จากสาเหตุที่กล่าวมานั้น ผู้ฝึกได้คิดกิจกรรมศิลปะ ที่จะช่วยเพิ่มสมาธิแก่ผู้บกพร่องฯ ให้สามารถทำกิจกรรมศิลปะ และกิจกรรมต่างๆ ได้นานขึ้น ผู้ปกครองสามารถนำกิจกรรมนี้ไปฝึกต่อเนื่องที่บ้านได้ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ไม่แพง หาได้ง่าย กิจกรรมที่เรียกว่า “ ปั้น แปะ ตามรอย “จึงได้พัฒนากระบวนการปั้นแปะ ให้มีขั้นตอนมากขึ้น เพื่อเพิ่มสมาธิของผู้บกพร่องฯ ให้มากขึ้น
7.การวัดผลและการเปลี่ยนแปลง
7.1 ก่อนแก้ปัญหา
งานศิลปะได้มีกิจกรรมปั้นอยู่แล้ว แต่กิจกรรมในการปั้นมีขั้นตอนน้อย ทำซ้ำๆทำให้ผู้บกพร่อง ฯ เบื่อไม่อยากทำ
7.2 วิธีการที่เลือกการแก้ปัญหา
- การปั้นเป็นกิจกรรมที่เด็กชอบ โดยสังเกตจาก เมื่อเด็กเข้ามาร่วมกิจกรรมศิลปะ และผู้ปกครองสามารถหาอุปกรณ์ที่จะนำไปฝึกต่อเนื่องที่บ้านได้ จึงปรับและเพิ่มขั้นตอนการปั้นเริ่มจากง่ายไปหายาก
-เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลาของสมาธิในการทำก่อน-หลังทำกิจกรรมการปั้น
-กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาวัยเรียนอายุ 6-12ปี จำนวน 3 คน
-ระยะเวลาเริ่ม 1 พฤษภาคม – 20 มิถุนายน 2559 รวม 8 สัปดาห์
7.3 ข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังการแก้ปัญหา
ตัวแปรที่ศึกษา |
เป้าหมาย |
ข้อมูลก่อนการแก้ปัญหา |
ข้อมูลหลังการแก้ปัญหา |
เปรียบเทียบผล (เพิ่มขึ้น/ลดลง/เท่าเดิม) |
ตัวแปรต้น ปั้น ตัวแปรตาม สมาธิ |
เพื่อให้เด็กมีสมาธิเพิ่มมากขึ้นในการทำกิจกรรมศิลปะการปั้น |
3-8 นาที /กิจกรรม |
10-20นาที/ กิจกรรม |
เด็กมีสมาธิในการทำกิจกรรมปั้นแปะเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มขึ้นในการทำกิจกรรมศิลปะอื่นๆ |
8.บทเรียนที่ได้รับ :
8.1 เด็กมีสมาธิเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีพัฒนาการเรียนรู้ เช่น การมอง การฟัง และ ทักษะทางวิชาการดีขึ้น
8.2 ได้ขั้นตอนในการปั้น แปะ ตามรอยที่เริ่มจากง่ายไปหายาก
9.การติดต่อกับทีมงาน : นางสาวสุจิตรา สุขเกษม ต่อ 70916
Email. Syokee2010@hotmail.com
10. คณะทำงาน
10.1 นางสาวสุจิตรา สุขเกษม หัวหน้าทีม
10.2 นางสาวนายอรา สาอุ สมาชิก
10.3 นายกำธร วาที สมาชิก
.................................................