กลุ่มโรคสำคัญ > กลุ่มโรคพัฒนาการระบบประสาท (แบ่งตาม DSM-5)

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา: Intellectual Disability (ID)

- ไอคิวต่ำกว่า 70
- วุฒิภาวะทางสังคม/ทักษะการปรับตนบกพร่องมากกว่า 2 ด้าน
- อายุสมองประมาณเด็กชั้นประถม
- พบได้ร้อยละ 1-3 ของประชากร



      ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเป็นหนึ่งในภาวะความผิดปกติที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคพัฒนาการระบบประสาท (Neurodevelopmental Disorders) ที่ระบุอยู่ในตำราเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชมาอย่างยาวนาน บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะมีข้อจำกัดในการใช้ความคิด (เช่น การตัดสินใจ การเรียนรู้ การตัดสินใจ) ควบคู่ไปกับปัญหาในด้านทักษะการปรับตัวจึงไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เต็มที่เท่าคนทั่วไป



          ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาอาจมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน (Daily, Ardinger, & Holmes, 2000)ทั้งทางชีวภาพในระหว่างที่เด็กอยู่ในครรภ์ไปจนถึงสภาพแวดล้อมภายหลังจากที่เด็กเกิดแล้ว (The Arc of the United States, 2011)



          ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ทำให้การสร้างระบบประสาทและสมองของทารกมีปัญหาตั้งแต่ต้น ซึ่งเกิดได้หลายรูปแบบ เช่น ความผิดปกติของการเมตาบอลิก phenylketonuria (PKU) ความผิดปกติของโครโมโซมที่พบว่าเป็นสาเหตุมากสุดคือกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome)  และกลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ (Fragile X syndrome) (Lee, Cascella, & Marwaha, 2019)



·       ความผิดปกติทางต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม เช่น ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน



·       ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น microcephaly, neural tube defect กลุ่มโรค neuro-cutaneous syndrome เป็นต้น



·       การได้รับสารที่ก่อให้เกิดความพิการต่อทารกในครรภ์ (teratogen) เช่น เหล้า บุหรี่ รังสี ยา ได้รับสารพิษที่มีผลต่อสมอง เช่น ตะกั่ว ภาวะบิลลิรูบินสูง  รวมไปถึงยา



·       การติดเชื้อ เช่นการติดเชื้อหัดเยอรมัน เอดส์ ซิฟิลิส หรือเชื้ออื่น ๆ ของมารดาในขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อที่สมอง เช่น สมองอักเสบหรือเยื่อหุ้ม สมองอักเสบ



·       การขาดสารอาหารในช่วงแรกเริ่มของชีวิต เช่น ภาวะขาดไอโอดีน



·       การเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ การบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง มีเลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ



·       การขาดออกซิเจน เช่น ภาวะขาดอากาศในระยะคลอด (Birth asphyxia) ภาวะขาดออกซิเจนอาจจากการจมน้ำหรือชัก



·       สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูที่ขาดความใส่ใจ อาจทำให้เด็กพบกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น สารเสพติด การถูกทำร้ายจากความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องให้เกิดภาวะสติปัญญาบกพร่องได้ (Lee et al., 2019)



          แม้ว่ามีเพียงประมาณร้อยละ 30-50 ของภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเท่านั้นที่ทราบสาเหตุ  แต่สาเหตุที่สามารถป้องกันให้ไม่เกิดได้ง่ายสุดคือ fetal alcohol syndrome (Lee et al., 2019)



 





การวินิจฉัยโรคสติปัญญาบกพร่องมีรายละเอียดเกณฑ์การวินิจฉัยสองเกณฑ์หลักคือ



1) บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (The ICD-10 classification of mental and behavioural disorders : clinical descriptions and diagnostic guidelines: ICD-10) (World Health Organization, 1992)



 



 



         





 



      ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เนื่องจากวิทยาการแพทย์ในปัจจุบันไม่อาจรักษาภาวะบกพร่องของการทำงานของสมองส่วนที่เสียไปให้กลับคืนมาทำงานได้ตามปกติ  แต่เน้นที่การบำบัดรักษาเพื่อให้ดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคมมากเกินไป มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข โดยมีหลากหลายแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้ (นพวรรณ ศรีวงค์พานิช และ พัฏ โรจน์มหามงคล, 2554)



          1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical Rehabilitation) ได้แก่ การส่งเสริมป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้พัฒนาการในช่วงแรกเกิด - 6 ปีให้เป็นไปตามวัย เพื่อพัฒนาทักษะด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก สติปัญญา ภาษา สังคม และการช่วยเหลือตนเองเพื่อให้เด็กมีความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาการดูแลโดยทีมสหวิชาชีพ เช่น อรรถบำบัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด เป็นต้น ทั้งนี้ผลสำเร็จของการส่งเสริมพัฒนาการจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือ และความตั้งใจจริงของบุคคลในครอบครัวของเด็กมากกว่าผู้ฝึกที่เป็นนักวิชาชีพ (Professional staff) 



          2. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation) การจัดการการศึกษาโดยมีแผนการศึกษาสำหรับแต่ละบุคคล (Individualized Educational Program : IEP)  ในโรงเรียนซึ่งอาจเป็นการเรียนในชั้นเรียนปกติ เรียนร่วม หรือมีการจัดการศึกษาพิเศษ ในประเทศไทยโรงเรียนที่รับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญามีอยู่ทั่วไปทั้งในกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัด แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับเด็กกลุ่มนี้  



          3. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ (Vocational Rehabilitation) การฝึกลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน เป็นสิ่งจำเป็นมากต่อการประกอบอาชีพในวัยผู้ใหญ่ ได้แก่ ฝึกการตรงต่อเวลา รู้จักรับคำสั่งและนำมาปฏิบัติเอง โดยไม่ต้องมีผู้เตือน การปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงานและมารยาทในสังคม เมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ควรช่วยเหลือฝึกวิชาชีพและให้ได้มีอาชีพที่เหมาะสม  ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา สามารถดำรงชีวิตอิสระ (independent living) ในสังคมได้อย่างคนปกติ (normalization)



          4. การรักษาทางจิตวิทยาและพฤติกรรมบำบัด (Psychopharmacologic interventions and Behavioral intervention) เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้บกพร่องทางสติปัญญาโดยการลดพฤติกรรมนั้นแล้วสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมทางบวกแทน รวมไปถึงจิตบำบัดอื่นๆ อย่างการจัดการอารมณ์  ในกรณีที่ผู้บกพร่องทางสติปัญญามีโรคร่วมทางจิตเวชด้วย (Lee et al., 2019)



          5. การให้ความรู้แก่ครอบครัวผู้ป่วย (Family education) นับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่สุดและจำเป็นต่อของการวางแผนการรักษาร่วมกัน เพราะจะเป็นการสร้างความเข้าใจ องค์ความรู้ และทักษะที่ครอบครัวควรมีเพื่อการดูแลและส่งเสริมผู้ป่วยต่อไป รวมถึงการสนับสนุนด้านสภาวะจิตใจของครอบครัวผู้ป่วยที่มีแนวโน้มของภาวะความเครียดความกังวลสูงด้วย (Lee et al., 2019)



 



     คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล (American Psychiatric Association, 2017; Center for Parent Information and Resources, 2017)



· ศึกษาและเรียนรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและทักษะในการรับมือและสนับสนุนผู้ที่มีความบกพร่องนี้ได้ดียิ่งขึ้น



· มีความอดทน มองทางบวก ยอมรับและทำความเข้าใจธรรมชาติของภาวะโรคว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ช้ากว่าทั่วไปแต่สามารถดีขึ้นได้ด้วยการฝึกฝน



· เห็นความสำคัญของบทบาทผู้ดูแลว่าสามารถส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีของเด็กได้



· ในการมอบหมายงานหรือการสื่อสารคำสั่งใด ให้ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเป็นรูปธรรมมากที่สุด เข่นใช้ภาษากายหรือรูปภาพประกอบ อาจแบ่งงานออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ หรือสาธิตให้ดูก่อน และให้ feed back เมื่อเขาทำสิ่งใดก็ตามสำเร็จหรือผิดไปอย่างเหมาะสม



· ส่งเสริมให้เด็กพึ่งพาตนเองโดยเฉพาะการทำกิจวัตรประจำวันเท่าที่จะเป็นไปได้ และมีงานที่รับผิดชอบ เช่น งานบ้านเล็กๆ น้อยๆ



· แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับผู้ดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญาคนอื่นๆ อยู่เสมอ ซึ่งเป็นแหล่งสนับสนุนทางความรู้ ทักษะและอารมณ์ที่ดี



ส่งเสริมให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่เหมาะสมกับเด็กโดยอาจเริ่มจากการค้นหาความชอบ ความสนใจ ความถนัดของเด็ก



นพวรรณ ศรีวงค์พานิช และ พัฏ โรจน์มหามงคล. (2554). ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กสำหรับเวชปฏิบัติ



          ทั่วไป. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.



American Academy of Pediatrics. (2015). Children with Intellectual Disabilities Retrieved from https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/developmental-disabilities/Pages/Intellectual-Disability.aspx 



American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (DSM-5®): American Psychiatric Pub.



American Academy of Pediatrics. (2015). Children with Intellectual Disabilities Retrieved from https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/developmental-disabilities/Pages/Intellectual-Disability.aspx



American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (DSM-5®): American Psychiatric Pub.



American Psychiatric Association. (2017). What is Intellectual Disability Retrieved from https://www.psychiatry.org/patients-families/intellectual-disability/what-is-intellectual-disability



Bell, C. C. (1994). DSM-IV: Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders. JAMA, 272(10), 828-829. doi:10.1001/jama.1994.03520100096046



Bryson, S. E., Bradley, E. A., Thompson, A., & Wainwright, A. (2008). Prevalence of autism among adolescents with intellectual disabilities. The Canadian Journal of Psychiatry, 53(7), 449-459.



Center for Parent Information and Resources. (2017). Intellectual Disability Retrieved from https://www.parentcenterhub.org/intellectual/



Daily, D. K., Ardinger, H. H., & Holmes, G. E. (2000). Identification and evaluation of mental retardation. American family physician, 61(4), 1059-1067.



Durkin, M. (2002). The epidemiology of developmental disabilities in low‐income countries. Mental retardation and developmental disabilities research reviews, 8(3), 206-211.



Harris, J. C. (2006). Intellectual disability: Understanding its development, causes, classification, evaluation, and treatment: Oxford University Press.



Heikura, U., Taanila, A., Olsen, P., Hartikainen, A.-L., von Wendt, L., & Järvelin, M.-R. (2003). Temporal changes in incidence and prevalence of intellectual disability between two birth cohorts in Northern Finland. American Journal on Mental Retardation, 108(1), 19-31.



Katusic, S. K., Colligan, R. C., Beard, C. M., O'Fallon, W. M., Bergstralh, E. J., Jacobsen, S. J., & Kurland, L. T. (1996). Mental retardation in a birth cohort, 1976-1980, Rochester, Minnesota. American journal of mental retardation: AJMR, 100(4), 335-344.



Lai, D.-C., Tseng, Y.-C., Hou, Y.-M., & Guo, H.-R. (2012). Gender and geographic differences in the prevalence of intellectual disability in children: Analysis of data from the national disability registry of Taiwan. Research in developmental disabilities, 33(6), 2301-2307.



Lee, K., Cascella, M., & Marwaha, R. (2019). Intellectual disability.



Matthews, T., Weston, N., Baxter, H., Felce, D., & Kerr, M. (2008). A general practice‐based prevalence study of epilepsy among adults with intellectual disabilities and of its association with psychiatric disorder, behaviour disturbance and carer stress. Journal of Intellectual Disability Research, 52(2), 163-173.



McKenzie, K., Milton, M., Smith, G., & Ouellette-Kuntz, H. (2016). Systematic review of the prevalence and incidence of intellectual disabilities: current trends and issues. Current Developmental Disorders Reports, 3(2), 104-115.



Nielsen, L. S., Skov, L., & Jensen, H. (2007). Visual dysfunctions and ocular disorders in children with developmental delay. II. Aspects of refractive errors, strabismus and contrast sensitivity. Acta Ophthalmologica Scandinavica, 85(4), 419-426.



Pérez, N., & Rodríguez, A. (2013). Cerebral Palsy: Hope Through Research. NINDS, Publication date July 2013. Retrieved from



Raina, S. K., Razdan, S., & Nanda, R. (2012). Prevalence of mental retardation among children in RS Pura town of Jammu and Kashmir. Annals of Indian Academy of Neurology, 15(1), 23.



Schalock, R. L., Borthwick-Duffy, S. A., Bradley, V. J., Buntinx, W. H., Coulter, D. L., Craig, E. M., . . . Reeve, A. (2010). Intellectual disability: Definition, classification, and systems of supports: ERIC.



Simonoff, E., Pickles, A., Wood, N., Gringras, P., & Chadwick, O. (2007). ADHD symptoms in children with mild intellectual disability. Journal of the American Academy of Child & Adolescent Psychiatry, 46(5), 591-600.



The Arc of the United States. (2011). Causes and Prevention of Intellectual Disabilities. In. Sliver Spring, MD.



World Health Organization. (1992). The ICD-10 classification of mental and behavioural disorders 




ผู้เขียน สุชารัตน์ ลิมปะนพรัตน์ (บรรณาธิการ : แพทย์หญิงชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์ และดร.จันทนี มุ่งเขตกลาง )
Update : 24 มิ.ย. 2564

 วันนี้ 0
 เมื่อวาน 13
 สัปดาห์นี้ 62
 สัปดาห์ก่อน 97
 เดือนนี้ 345
 เดือนก่อน 536
 จำนวนผู้เข้าชม 476,781
  Your IP : 44.197.111.121