จีรภา จรัสวณิชพงศ์
ตำแหน่ง : นักกายภาพบำบัดชำนาญการพิเศษ
ความเชี่ยวชาญตามวิชาชีพ : กายภาพบำบัด การฟื้นฟูสมรรถภาพ
ประสบการความเชียวชาญ : 30 ปี
ความสนใจด้านงานวิจัย :
งานวิจัยและพัฒนากระบวนงานสำคัญในงานบริการด้านกายภาพบำบัด, การพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา, นวตกรรมและเทคโนโลยี
งานวิจัยปัจจุบัน
ผลของเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) ต่อเด็กออทิสติก (อยู่ระหว่างพัฒนาโครงร่างงานวิจัย)
งานวิจัยที่ผ่านมา
1. ภาคนิพนธ์ เรื่อง สารวีอาร์-สารวีอาร์-3623 เหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งปอดตายแบบอะพอพโทซิสโดยผ่านกลไกของไซโตโครมซีและคาสเพส-3 (Cytochrome C Release and caspase-3 activation: a possible mechanism of VR-3623-induced apoptosis in human lung cancer LU-1 cell line) (พ.ศ. 2545)
2. การวิเคราะห์ลักษณะท่าทางในขณะยืนนิ่งของผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในสถาบันราชานุกูล (พ.ศ. 2550)
3. ผลของการใช้โปรแกรม PTOT ที่มีต่อการทรงท่าขณะนั่งทำกิจกรรมของเด็กซี.พี.พิการซ้ำซ้อนในสถาบันราชานุกูล (พ.ศ. 2554)
4. รายงานผลการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กับเด็กและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม
(พ.ศ. 2555)
5. การวิจัยและพัฒนาแบบประเมินและคู่มือการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข (พ.ศ. 2555)
6. การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการดูแลเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการเฉพาะด้าน (พ.ศ. 2556)
7. การถอดบทเรียนการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ในการส่งต่อข้อมูลสุขภาพและการให้บริการส่งเสริมพัฒนาการและเชาวน์ปัญญาในระดับพื้นที่ (พ.ศ. 2557)
8. โครงการศึกษาปริมาณ การกระจายตัว ความสามารถในการให้บริการและสถานการณ์กำลังคนที่ปฏิบัติงานจริงของกำลังคนด้านวิชาชีพที่จำเป็นต่อการจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ สำหรับเด็กพิการทางสติปัญญา การเรียนรู้และออทิสติกในระดับประเทศและระดับพื้นที่ (พ.ศ. 2558)
9. ผลของโปรแกรม Once-A-Week Group Exercise ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้บกพร่องทางสติปัญญาระดับค่อนข้างด้อยที่มีน้ำหนักเกิน (พ.ศ. 2559)
10. การศึกษาเปรียบเทียบทักษะการเคลื่อนไหวในเด็กปกติและเด็กออทิสติก อายุระหว่าง 3-16 ปี (พ.ศ.2562)
งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
1. จีรภา จรัสวณิชพงศ์. (2554). การวิจัยและพัฒนาแบบประเมินและคู่มือการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข. วารสารราชานุกูล ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554.
2. จีรภา จรัสวณิชพงศ์, ผกาวรรณ สุทธิวงค์ และนันทิกร บุญยศ. (2555). ผลของการใช้โปรแกรม PTOT ที่มีต่อการทรงท่าขณะนั่งทำกิจกรรมในเด็กซี.พี พิการซ้ำซ้อนของสถาบันราชานุกูล. วารสารราชานุกูล ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2555.
3. นติยากร ชนเก่าน้อย, จีรภา จรัสวณิชพงศ์ และคณะ. (2564). การเปรียบเทียบทักษะการเคลื่อนไหวระหว่างเด็กออทิสติกและเด็กทั่วไป. วารสารกรมสุขภาพจิต ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2564.
การสอน บรรยาย สัมภาษณ์
วิทยากรบรรยายในหลักสูตร กายภาพบำบัดในเด็กที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว