กระทรวงสาธารณสุข จับมือภาคีเครือข่ายด้านพัฒนาการเด็ก ขับเคลื่อนงานพัฒนาการเด็กปี 2560

ตั้งเป้าค้นหาเด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้า พร้อมกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วย “คู่มือเฝ้าระวังเด็กและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย” และ “คู่มือการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง” ของ กรมสุขภาพจิต
นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดการประชุม และบรรยายพิเศษ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทย 2560”
โดยมี ผู้บริหาร นักวิชาการจากกระทรวงสาธารณสุข มหาดไทย การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร กรมแพทย์ทหารบก และภาคีเครือข่ายกว่า 500 คน เพื่อประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฯ รวมทั้งกระตุ้นติดตามระบบการส่งต่อเด็กพัฒนาการล่าช้า
นายแพทย์โสภณกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ระหว่าง 1 เมษายน 2558-31 มีนาคม 2561 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย อายุแรกเกิดถึง 5 ปีทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้อง
โดยในระยะที่ 1 ของโครงการฯได้รณรงค์คัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4 ช่วงวัยอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2559 พบเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้าร้อยละ 23.3   โดยในจำนวนนี้มีปัญหาเรื่องการส่งต่อติดตามถึงร้อยละ 43  ทำให้ไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ถูกต้องและทันท่วงที
 
ระยะที่ 2 ของโครงการฯ ได้มอบนโยบายให้ทุกจังหวัดดำเนินการดังนี้ 1.ใช้กลไกของอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด ร่วมกับแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ มีระบบเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก 2.มีผู้บริหารโครงการระดับจังหวัดและอำเภอ ติดตาม ให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3.ศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ มีมาตรฐาน มีครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรม สามารถดูแลส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย และ4.มีคลินิกสุขภาพเด็กดี ช่วยตรวจพัฒนาการว่าล่าช้าหรือสงสัยว่าล่าช้า จัดระบบการช่วยเหลือและส่งต่อที่เหมาะสม โดยตั้งเป้าค้นหาเด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้าให้ครอบคลุม และติดตามกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยขอให้คำนึงถึงปัจจัยเอื้อที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าได้ อาทิเช่น การขาดภาวะโภชนาการที่ดีและมีคุณค่า การเลี้ยงดู การใช้สื่อโทรทัศน์ และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างครอบคลุมเหมาะสม
ด้าน นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าในการดำเนินการเฝ้าระวัง คัดกรอง และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาเครื่องมือขึ้นใหม่ที่เรียกว่า “คู่มือเฝ้าระวังเด็กและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย” และ“คู่มือการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง” โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นคนคัดกรอง และแนะนำให้พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็กกลับไปส่งเสริมพัฒนาการเด็กต่อที่บ้าน หลังการคัดกรองถ้าพบว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้า จะมีระบบส่งต่อเพื่อประเมินด้วยเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการต่อไป
 
 
 
 
 

PPT การติดตามช่วยเหลือเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า.pdf
PPT การติดตามช่วยเหลือเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าในบทบาทของกรมการแพทย์.pdf
ก้าวต่อไปของพัฒนาการเด็กไทยปี2560.pdf
พัฒนาการสมวัยเด็กไทย4.0.pdf
อนาคตเด็กไทย.pdf

  View : 2.82K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 1,023
 เมื่อวาน 1,376
 สัปดาห์นี้ 7,046
 สัปดาห์ก่อน 6,556
 เดือนนี้ 23,687
 เดือนก่อน 57,053
 จำนวนผู้เข้าชม 872,855
  Your IP : 3.21.105.46