ยิ่งเล่น ... ยิ่งฉลาด

        พ่อแม่ส่วนใหญ่คิดว่า ถ้าลูกวัยอนุบาลอ่านออกเขียนได้เร็วคือเด็กฉลาด การเร่งสอนวิชาการ เน้นเรียนเขียนอ่านอย่างเคร่งครัด เป็นการบั่นทอนศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็กอนุบาลที่ต้องการการฝึกทักษะ การคิด ฟัง สังเกต ใช้มือ ผ่านกิจกรรมการเล่น ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานสำคัญที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างแท้จริงในเด็ก
      มีงานวิจัยเห็นสรุปพ้องต้องกันว่า การเล่นช่วยพัฒนาสมอง โยเฉพาะสำหรับเด็กในช่วง 0-6 ปี เพราะทุกครั้งที่เด็กได้เล่นและใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เซลล์สมองของเด็กประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์ จะมีการเชื่อมโยงเส้นใยประสาทเป็นเครือข่ายมากขึ้นกว่าเดิมถึง 25 เท่า ส่งผลให้เด็กมีความสามารถในการคิดและการเรียนรู้ที่ดี ยิ่งเด็กได้เล่นอย่างหลากหลายและเพียงพอก็จะทำให้การเชื่อมโยงของเส้นใยประสาทมากขึ้นและแข็งแรงขึ้น สมองเด็กก็พัฒนาได้ดีขึ้น
     การที่เด็กชอบวิ่งเล่น ปีนป่าย ไม่อยู่นิ่ง เพราะเซลล์สมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นในช่วง 0-4 ปี เด็กอนุบาลชอบร้องเพลงและเล่นกับคำ จะทำให้เซลล์สมองเกิดการแตกแขนงและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย และเป็นการเชื่อมโยงกันแบบเดียวกันที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาคณิตศาสตร์ เด็กชอบฟังนิทานและมักชอบฟังเรื่องเดิมซ้ำๆ ทำให้เซลล์สมองเชื่อมโยงแข็งแรงขึ้น เด็กๆ ชอบเล่นสมมุติเลียนแบบบทบาทต่างๆ ทำให้เด็กมีความสามารถสร้างภาพในความคิดและจินตนาการ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ การอ่าน และการคิดเลขเมื่อเด็กโตขึ้น ฯลฯ จะเห็นว่า ขณะที่เด็กเล่นเด็กกำลังพัฒนาพลังสมองของตัวเองทุกขณะและเตรียมพร้อมในการเรียนรู้ที่ยากและซับซ้อนขึ้นอีกด้วย
    นอกจากนี้ การเล่นยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการครบในทุกด้าน ทั้งด้านอารมณ์ คือ มีความสุขที่ได้เล่น อารมณ์ดี ได้ผ่อนคลาย พัฒนาการทางด้านสังคม คือ มีสังคมเพื่อนฝูง รู้จักเอื้อเฟื้อแบ่งปันและเคารพกติกา และพัฒนาการทางด้านสติปัญญา คือ มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา ค้นพบความสามารถของตนเอง ฯลฯ ซึ่งการเตรียมความพร้อมแบบบูรณาการที่ช่วยพัฒนาสมองและพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ผ่านการเล่นจะช่วยพัฒนาความฉลาดให้กับเด็ก เป็นพื้นฐานแข็งแกร่งสำหรับการเรียนรู้ขั้นสูงในชั้นประถมต่อไป

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ
˗ การเตรียมความพร้อมในเด็กอนุบาลรอบด้าน โดยเรียนรู้แบบบูรณาการ จะช่วยให้เด็กมี
พัฒนาการที่สมวัย และนำไปใช้ในการเรียนรู้อย่างจริงจังในชั้นประถมศึกษา
˗ พัฒนาการในเด็กประกอบด้วยความสามารถในด้านต่างๆ ได้แก่ ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน
ขา ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น มือ นิ้ว ช่วยเหลือตนเอง ภาษาและการสื่อสาร ควบคุมอารมณ์ การเรียนรู้ จริยธรรม ความถูกต้องเหมาะสมผิดชอบชั่วดี ความสามารถทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นในแต่ละด้านจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจ ภูมิใจในตนเอง
˗ ความสามารถของเด็กจะพัฒนาอยู่ในช่วงเวลา เช่น
     enlightenedการเดิน เด็กจะเดินได้ตั้งแต่อายุ 11 เดือน ถึง 1 ปี 3 เดือน
     enlightenedการติดกระดุม เด็กจะทำได้ตั้งแต่อายุ 2 ปี ถึง 3 ปีครึ่ง
     enlightenedชี้อวัยวะตัวเองได้ 5 ส่วน เด็กจะทำได้ตั้งแต่อายุ 18 เดือน ถึง 2 ปี 3 เดือน
    enlightenedอ่านหนังสือ เด็กจะทำได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี ถึง 7 ปี
˗ การที่เด็กทำได้เร็วกว่าเด็กอื่นมิได้แสดงว่าต้องฉลาดกว่า
˗ พ่อแม่ที่มองการณ์ไกลจะสามารถพัฒนา ส่งเสริมเด็กให้เติบโต มีทักษะในการคิดแก้ปัญหามีความรู้ความสามารถที่พร้อมต่อทุกเหตุการณ์สำหรับอนาคต
                     heart*หัวใจการเลี้ยงดู การเล่น คือการพัฒนาสมองที่สำคัญของเด็กวัย 0-6 ปี*heart

(คัดย่อข้อมูลจากหนังสือคู่มือการใช้สื่อเสียงชุด “พ่อแม่เลี้ยงบวก” เนื้อหาวิชาการโดย ศ.คลินิก(พิเศษ)พญ.     วินัดดา ปิยะศิลป์ และผศ.นพ.พนม เกตุมาน ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย
นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข)

     


  View : 5.20K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 0
 เมื่อวาน 13
 สัปดาห์นี้ 62
 สัปดาห์ก่อน 97
 เดือนนี้ 345
 เดือนก่อน 536
 จำนวนผู้เข้าชม 476,781
  Your IP : 3.17.150.89