เคล็ดคลีน-ชมชิลชิล เกาะขอบจอลุ้น'ยูโร 2016'

รวบรวมข้อมูลโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี
 
     พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า นอกจากสุขภาพกายแล้ว สุขภาพจิตก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการดูฟุตบอล สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ มักมากับการพนัน จุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการพนันของคนคือ คิดว่าเล่นเพื่อความสนุกสนาน แต่เมื่อนานๆ เข้าก็เกิดเป็นการติดพนัน จนกลายเป็นโรคติดพนัน ถือเป็นโรคจิตเวชอย่างหนึ่ง เป็นการเจ็บป่วยทางจิต มีอาการไม่สามารถควบคุมความต้องการการเล่นพนัน และไม่สามารถหยุดเล่นได้ มีผลแม้กระทั่งไม่กินอาหาร อดนอน ลืมภารกิจสำคัญ ในวัยผู้ใหญ่ เช่น การรับลูกกลับจากโรงเรียน หรือในวัยรุ่นอาจมีผลต่อการเรียน ในด้านการงานและชีวิต เช่น ถึงขั้นล้มละลายหย่าร้าง โกหก ขโมย และร้ายที่สุดอาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย
    ข้อมูลกรมสุขภาพจิตพบว่า การพนันมีส่วนทำให้เด็กมีโอกาสติดเหล้า 5 เท่า การพนันนำไปสู่การติดยาเสพติดถึง 6 เท่า การพนันก่อให้เกิดความรุนแรงและการใช้อาวุธ 6 เท่า และยังทำให้มีโอกาสสูบบุหรี่ 3-10 เท่า เป็นหนี้และอาจก่อปัญหาอาชญากรรม มีภาวะซึมเศร้า จนมีโอกาสฆ่าตัวตายสูงถึง 4 เท่าตัว
    อย่างไรก็ตาม จากสายด่วนสุขภาพจิตเลิกพนัน 1323 เปิดให้คำปรึกษาฟรีตลอด 24 ชั่วโมง พบว่า มีกลุ่มโทรเข้ามาปรึกษาจำนวนมาก และส่วนหนึ่งเข้ารับการรักษา โดยเฉลี่ยเข้ารับการรักษาปีละ 500 กว่าราย โดยร้อยละ 80 จะรักษาในรูปแบบจิตสังคมบำบัด อีกร้อยละ 20 รักษาด้วยยา เนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าและอารมณ์หงุดหงิดจากความต้องการเลิกร่วมด้วย
พญ.พรรณพิมลกล่าวทิ้งท้ายว่า จริงๆ แล้วการติดการพนันจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มร้อยละ 95 กลุ่มชอบเล่นการพนัน กลุ่มนี้ยังไม่ถึงขั้นเป็นโรคติดการพนัน กลุ่มนี้เล่นเพื่อความสนุกสนาน     ส่วนใหญ่สามารถจำกัดจำนวนเงินในการเล่นได้ หยุดได้เมื่อถึงจุดที่ตั้งไว้ไม่ว่าแพ้หรือชนะ อาจเล่นปีละครั้ง เดือนละครั้ง โดยไม่ได้มีผลกระทบ ต่อชีวิตประจำวันใดๆ เลยเรียกว่ามีภูมิ ต้านทานอยู่
    แต่อีกกลุ่มพบร้อยละ 5 เป็นกลุ่มมีปัญหาจากการเล่นพนัน และลุกลามไปสู่โรคติดการพนันได้ กลุ่มนี้จะหยุดเล่นไม่ได้ เริ่มมีปัญหากับครอบครัว ส่งผลกระทบต่างๆ อย่างไรก็ตาม เราไม่จำเป็นต้องให้ถึงขั้นเป็นโรคติดการพนัน จะดีกว่าหรือไม่ หากไม่เริ่มลองเล่นเลย เนื่องจากแค่ลองเล่นเพียงครั้งเดียว ก็มีโอกาสติดได้ ไม่แตกต่างจากการลองยา เสพติด แม้เพียงนิดหนึ่งก็สามารถติดยา เสพติด และส่งผลกระทบต่อชีวิตได้ ทั้ง ชีวิตตัวเอง ครอบครัว และเศรษฐกิจ
 
 
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559
 

  View : 1.63K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 300
 เมื่อวาน 1,986
 สัปดาห์นี้ 4,271
 สัปดาห์ก่อน 13,224
 เดือนนี้ 23,678
 เดือนก่อน 65,202
 จำนวนผู้เข้าชม 816,329
  Your IP : 54.36.148.226