การพัฒนาระบบติดตามความก้าวหน้าทางพฤติกรรมผู้รับบริการโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มงานจิตวิทยา : Developing system for tracking clients’ behavioural progression during or after attending behavioural modification programme, Psychological Service, Rajanuk

ชื่อกิจกรรม

          “การพัฒนาระบบติดตามความก้าวหน้าทางพฤติกรรมผู้รับบริการโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มงานจิตวิทยา (Developing system for tracking clients’ behavioural progression during or after attending behavioural modification programme, Psychological Service, Rajanukul Institute)”

มูลเหตุจูงใจที่เลือกทำกิจกรรมนี้

          ก่อนการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพครั้งนี้ กลุ่มงานจิตวิทยาใช้เกณฑ์การประเมินเพื่อติดตามและรายงานความก้าวหน้าผู้รับบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอิงตามระยะเวลาที่สอดคล้องกับลักษณะความรุนแรงของปัญหาพฤติกรรมของผู้รับบริการ เช่น ผู้รับบริการที่มีความรุนแรงทางพฤติกรรมในระดับ Mild จะได้รับการนัดหมายให้มาใช้บริการจำนวน 10 ครั้งหรืออยู่ในโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประมาณ 2 เดือน 15 วัน, ผู้รับบริการที่มีความรุนแรงทางพฤติกรรมในระดับ Moderate จะได้รับการนัดหมายให้มาใช้บริการจำนวน 20 ครั้งหรืออยู่ในโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประมาณ 5 เดือน, ผู้รับบริการที่มีความรุนแรงทางพฤติกรรมในระดับ Severe จะได้รับการนัดหมายให้มาใช้บริการจำนวน 30 ครั้งหรืออยู่ในโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประมาณ 7 เดือน 15 วัน เป็นต้น ซึ่งผู้รับบริการที่ได้รับบริการครบตามระยะในโปรแกรมดังกล่าวจึงจะได้รับการประเมินเพื่อติดตามผล แต่ปัญหาที่พบ คือ การติดตามและรายงานผลโดยใช้เกณฑ์ดังกล่าวส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยที่มีความก้าวหน้าทางพฤติกรรมถูกรายงานผลได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เช่น จากการรายงานผลความก้าวหน้าของผู้ป่วยโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับคณะกรรมการ PCT ในปีงบประมาณ 2557 พบว่าได้รายงานผู้ป่วยที่มีความก้าวหน้าทางพฤติกรรมหลังเข้ารับการบำบัดในโปรแกรมเพียง 19 คน ซึ่งทำให้การรายงานผลความก้าวหน้าไม่สอดคล้องกับสถิติของผู้ป่วยที่อยู่ในโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากกลุ่มงานจิตวิทยาในปีงบประมาณ 2556 มีจำนวน 304 คน 1,553 ราย, ปีงบประมาณ 2557 มีจำนวน 303 คน 1,372 ราย, ปีงบประมาณ 2558 มีจำนวน 332 คน 1,616 ราย มูลเหตุจูงใจในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพโดยใช้กระบวนการ CQI คือ การพัฒนาระบบติดตามความก้าวหน้าผู้ป่วยภายหลังรับบริการโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามประเด็นดังต่อไปนี้ 1) การทบทวนความก้าวหน้าของผู้ป่วยในโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยทบทวนความก้าวหน้าทางพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามระยะเวลาจริง 2) การพัฒนาโปรแกรมบันทึกความก้าวหน้าทางพฤติกรรมของผู้รับบริการในโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มงานจิตวิทยา สถาบันราชานุกูล และ 3) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลความก้าวหน้าทางพฤติกรรมของผู้ป่วยเพื่อพัฒนามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ (Treatment session) ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำแนกตามกลุ่มช่วงวัย และกลุ่มโรค 

.....ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม.....


การพัฒนาระบบติดตามความก้าวหน้าทางพฤติกรรม.pdf

  View : 2.31K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 1,328
 เมื่อวาน 2,186
 สัปดาห์นี้ 1,390
 สัปดาห์ก่อน 12,672
 เดือนนี้ 48,512
 เดือนก่อน 38,176
 จำนวนผู้เข้าชม 1,046,211
  Your IP : 3.16.137.217