พิธีเปิดการอบรมโดย นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์
รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต
กล่าวรายงานการจัดการอบรม โดย พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์
ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล
วันที่ 24-25 มิถุนายน 2558 กลุ่มงานปฐมวัย สถาบันราชานุกุล จัดการอบรม “การใช้เครื่องมือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (TEDA4I) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพวิทยากรหลัก (ครู ก) รุ่นที่ 1 ณ โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพฯ การอบรมนี้จัดการอบรม 3 รุ่น รุ่นที่ 2 30 มิ.ย.-1 ก.ค.58 และ รุ่นที่ 3 7-8 ก.ค.58
วันแรกของการอบรมจัดให้มีการบรรยายเรื่องการประเมินและช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (TEDA4I) โดยพญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันราชานุกูล และแบ่งกลุ่มย่อยฝึกปฏิบัติการประเมินและช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ ด้วยเครื่องมือ (TEDA4I) ตามแต่ละทักษะ ได้แก่ Gross Motor , Fine Motor , Perceptive Language , Expressive Language และ Personal&Social โดยวิทยาการกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี , สถาบันราชานุกูล , รพ.พระมงกุฎเกล้า , มหาวิทยาลัยสงขลาราชนครินทร์ และ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
วันที่สองของการอบรม บรรยายเรื่องระบบบริการดูแลเด็กปฐมวัย และสถานการณ์การช่วยเหลือเด็กปฐมวัยระดับเขตสุขภาพ โดย พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล หลังจากนั้นรับฟังการเสวนาหัวข้อ “Best Practice : การบริการช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการด้วย Anamai 55,DSPM,DAIM,TDSI,DSI,TEDA4I หลังจากนั้นแบ่งกลุ่มตามเขตสุขภาพประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานเสริมสร้างศักยภาพและบทบาทหน้าที่บุคลากรในเขตบุคลากรเพื่อให้เกิดระบบบริการช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ ช่วงบ่ายพบกับการอภิปรายแผนการดำเนินงานเสริมสร้างศักยภาพและบทบาทหน้าที่บุคลากรในเขตสุขภาพเพื่อให้เกิดระบบบริการช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ โดยรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนิตยา คชภักดี วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาการเด็ก และ แพทย์หญิงศิริพร กัญชนะ ประธานโครงการบูรณาการพัฒนาการเด็ก
การอบรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้วิทยากรหลักมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการของเครื่องมือ สามารถช่วยเหลือเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าโดยใช้เครื่องมือดังกล่าว รวมถึงมีแนวทางในการถ่ายทอดวิธีประเมินพัฒนาการและช่วยเหลือแก่บุคลากรในพนที่รวมถึงผู้เลี้ยงดูเด็กได้ เพื่อให้เด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการช่วยเหลือต่อเนื่องอย่างถูกต้องเหมาะสมในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพเติบโตเป็นประชากรที่ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข