เผยแพร่โดย ฝ่ายสื่อสารองค์กร กลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์

เด็กซนเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อใดก็ตามที่ซนมากผิดปกติ อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ หุนหันพลันแล่น อาจอยู่ในข่ายเป็นโรคสมาธิสั้นก็เป็นได้
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณ สุข บอกว่า “สมาธิสั้น” เป็นโรคทางจิตเวชที่พบบ่อย ในเด็กอายุ 8-11 ขวบพบประมาณ 5% และเด็กในวัยเรียนพบประมาณ 5-10% โดยพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-6 เท่า
   
สาเหตุหลักของโรคนี้มาจากพันธุ กรรม มีการค้นพบยีนหลายตัวน่าจะเกี่ยว ข้องกับสาเหตุของโรค นอกจากนี้อาจมีปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสารตะกั่ว มารดาสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ มีความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดบุตร
   
พฤติกรรมของเด็กกลุ่มนี้ คือ ขาดสมาธิที่ต่อเนื่อง ซนมากกว่าปกติ อยู่ไม่นิ่ง ขาดการยั้งคิด หุนหันพลันแล่น ส่งผลให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตและเข้าสังคม เด็กจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ก่อนอายุ 7 ขวบ ต่อเนื่องไปจนโต
หากเด็กกลุ่มนี้ถูกทำโทษอย่างรุนแรงบ่อย ๆ เด็กอาจมีอาการซึมเศร้า ทำร้ายตัวเอง ติดเหล้า โตขึ้นมีแนวโน้มมีพฤติกรรมก้าว ร้าว เช่น ทุบตี ทำร้ายคู่ครอง ใช้ความรุนแรงในครอบครัว
หากไม่ได้รับการประเมิน บำบัดรักษาตั้งแต่เด็ก อาจเป็นปัญหาในระยะยาวทั้งตัวเด็ก ครอบครัว สังคม เช่น มีผลต่อการเรียน การดำเนินชีวิต ความสามารถในการคิด การตระหนักรู้
   
เคยมีนักวิชาการในบ้านเราทำวิจัย พบว่า เด็กที่ต้องคดีในสถานพินิจกรุงเทพ มหานคร อายุ 11-18 ปี เป็นกลุ่มโรคสมาธิสั้นอย่างเดียว 28% โรคสมาธิสั้นร่วมกับภาวะเกเร ก้าวร้าวถึง 82%
   
สอดคล้องกับการวิจัยในต่างประเทศที่พบว่า โรคสมาธิสั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงและมีโอกาสสูงในการพัฒนาไปสู่ภาวะดื้อต่อต้าน และภาวะเกเร ก้าวร้าวเมื่อโตขึ้น เด็กสมาธิสั้นจึงมีโอกาสกลายเป็นเด็กเกเร ต่อต้านสังคม หลังอายุ 16 ปี ได้มากกว่าเด็กปกติ 3.5-4 เท่า
การรักษาต้องใช้วิธีการที่หลากหลายร่วมกัน ทั้งการให้ความรู้ คำแนะนำแก่พ่อแม่ของเด็ก การช่วยเหลือด้านจิตใจ การช่วยเหลือด้านการเรียนและการใช้ยา ซึ่งพบว่าการรักษาด้วยยาร่วมกับการปรับพฤติกรรม ครอบครัวบำบัด การฝึกอบรมพ่อแม่ในการดูแลช่วยเหลือลูก มีประสิทธิผลมากที่สุด
   
ท้ายนี้แนะนำพ่อแม่ของเด็กที่มีพฤติกรรมอยู่ในข่ายเป็นโรคสมาธิสั้น ควรพาลูกไปตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งมีกุมารแพทย์ หรือจิตแพทย์เด็กอยู่ ไม่ควรปล่อยไว้จนโต เพราะยิ่งรักษาช้าโอกาสรักษาให้หายก็น้อย จึงควรรักษาแต่เนิ่น ๆ เพราะโรคนี้รักษาหายได้ด้วยยาและพฤติกรรมบำบัด.

นวพรรษ บุญชาญ


  View : 6.92K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 639
 เมื่อวาน 1,828
 สัปดาห์นี้ 7,306
 สัปดาห์ก่อน 17,407
 เดือนนี้ 44,023
 เดือนก่อน 65,202
 จำนวนผู้เข้าชม 836,674
  Your IP : 3.144.90.108