สสส.เผยเด็กไทยต้นทุนชีวิตต่ำ

เผยแพร่โดย ฝ่ายสื่อสารองค์กร กลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์

สสส.เผยเด็กไทยต้นทุนชีวิตต่ำ แนะต้องฉีดวัคซีนทางสังคมให้แก่เด็ก โดยใช้บันได 3 ขั้น ได้แก่ I am รู้จักตัวเอง I have มีเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมที่เอื้อในการเรียนรู้ และI can สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง

วันนี้ (11 มี.ค.) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงข่าวการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 "การพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนของไทย สู่ประชาคมอาเซียน" ซึ่งจะจัดวันที่ 21-22 มี.ค.  ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  โดยนพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้เด็กไทยห่างไกลวิชาชีวิตมาก เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน อย่างสิงคโปร์  เวียดนาม  พบว่าภาพรวมต้นทุนเด็กไทยอยู่ในระดับปานกลาง แต่หากเปรียบเทียบภายในประเทศเห็นว่า ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง รวมกรุงเทพมหานคร ต้นทุนของเด็กอยู่ในระดับแย่  ส่วนภาคใต้กับภาคอีสาน เด็กมีต้นทุนชีวิตอยู่ในระดับดี  ดังนั้นการแก้ปัญหาเด็กไทยจะต้องได้เรียนรู้โจทย์ชีวิตไปทีละนิด ค่อยๆเติม และค่อยๆ แก้ปัญหา ในการประชุมครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นักวิชาการและภาคีเครือข่ายด้านเด็กและเยาวชนในประเทศ รวมถึงกรณีศึกษาตัวอย่างดีๆ เพื่อร่วมกันไขรหัสสู่การเป็นสุดยอดของเด็ก นอกจากนี้เราต้องฉีดวัคซีนทางสังคมให้แก่เด็ก โดยใช้บันได 3 ขั้น ได้แก่  I am รู้จักตัวเอง I have มีเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมที่เอื้อในการเรียนรู้ และI can สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง  ซึ่งการจะทำให้ได้เด็กสุดยอดต้องให้เด็กได้เผชิญปัญหาอุปสรรค และความเครียดที่เหมาะสม หรือต้องให้เขาได้เจอวิชาชีวิต

ด้านผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธุ์ รองผอ.ฝ่ายวิชาการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงสถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบันว่า ร่างกายเด็กที่มีอายุ 0-5 ปี มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ขณะเดียวกันก็มีปัญหาโรคอ้วนถึง 40% ด้านอารมณ์เด็กจำนวนมากเครียดจากการเรียน เป็นโรคซึมเศร้า เรียนแล้วนอนไม่หลับ ด้านสังคม เด็กมีปัญหาติดเกม ใช้เวลากับสื่อเทคโนโลยีมากจนไม่มีเวลาพูดคุยกับพ่อแม่ ยาเสพติดระบาดในสถานศึกษา ด้านสติปัญญา พบว่าเด็กไทย 6.5% บกพร่องด้านสติปัญญา และยังพบว่าเด็กไทยใน 38 จังหวัดมีระดับไอคิวที่น่าเป็นห่วงมาก.


  View : 2.16K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 1,251
 เมื่อวาน 1,376
 สัปดาห์นี้ 7,274
 สัปดาห์ก่อน 6,556
 เดือนนี้ 23,915
 เดือนก่อน 57,053
 จำนวนผู้เข้าชม 873,083
  Your IP : 3.146.176.112