กรมสุขภาพจิต แถลงข่าว ผลสำรวจ IQ นักเรียนไทยทั่วประเทศ พบ IQ เฉลี่ย 98.59 ต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากลยุคปัจจุบัน (IQ=100) เด็กนักเรียนจังหวัดนนทบุรี IQ เฉลี่ยสูง มาเป็นอันดับ 1
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก จะต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา หากมารดามีความรู้ มีความตระหนักเอาใจใส่ดูแลสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอด ทำให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และมีการเลี้ยงดูทารกด้วยความรักความอบอุ่น เกิดเป็นสายใยรักที่ส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีพัฒนาการสมวัย มีความเฉลียวฉลาดทางสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ การส่งเสริมพัฒนาระดับสติปัญญาของเด็กและเยาวชนในประเทศให้พัฒนาได้อย่างเหมาะสม จึงถือเป็นเป้าหมายพื้นฐานที่จะพัฒนาคุณภาพของประชากรที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคตและส่งผลต่อความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งนี้ เด็กจะมีระดับสติปัญญาดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย ทั้งที่เป็นปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยขัดขวางต่อการพัฒนาระดับสติปัญญา ซึ่ง 1 ในปัจจัยสำคัญนั้น คือ การได้รับอาหารเสริมตามวัย ได้รับสารไอโอดีนที่เหมาะสม ที่จำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาการของสมอง ซึ่งผลการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า ผู้ที่รับประทานเกลือไม่มีไอโอดีนและดื่มนมน้อยกว่า 1 ครั้งต่อวัน มีโอกาสที่ IQ จะอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (Santiago-Fernandez P, 2004) การเสริมไอโอดีนให้มารดาตั้งแต่ก่อนและขณะตั้งครรภ์ และเสริมไอโอดีนให้เด็กหลังคลอด เด็กจะมีโอกาสที่ระดับ IQ จะมากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับเสริมเลย ประมาณ 12 คะแนน (Qian M, 2005) หญิงตั้งครรภ์ที่ขาดไอโอดีน จะให้กำเนิดบุตรที่มีสติปัญญาต่ำกว่าปกติ ในพื้นที่ที่ขาดไอโอดีนมาก เด็กนักเรียนจะมีสติปัญญาน้อยกว่าที่ควรจะเป็น 10-15 จุด อัตราตายทารกจะมากกว่าปกติ ความสำเร็จในการศึกษาจะด้อยกว่าปกติชัดเจน (ข้อมูลจาก Unicef) ปัญหาการขาดไอโอดีน จึงเป็นเรื่องใหญ่มาก
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า การวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจทั่วประเทศเป็นครั้งแรกที่ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ที่เป็นตัวแทนในระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด สำรวจเด็กนักเรียนอายุ 615 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 16 และมัธยมศึกษาปีที่ 13 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สาธิตและราชภัฎ) และสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ จากการสุ่มตัวอย่าง 719 โรงเรียนต่อจังหวัด จำนวนนักเรียนประมาณ 851 1,163 คน ต่อจังหวัด ซึ่งสามารถเป็นตัวแทนภาพในระดับจังหวัดได้ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนในระดับจังหวัดไม่เกิน 2.8% และเป็นตัวแทนภาพในระดับประเทศ ที่มีค่าความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไม่เกิน 0.33% รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 72,780 คน ถือว่าเป็นการสำรวจไอคิวครั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามวิธีมาตรฐานสากล โดยใช้เครื่องมือเดียวกับของนานาประเทศ ได้แก่ แบบทดสอบสติปัญญา Standard Progressive Matrices (SPM parallel version; updated 2003) เก็บข้อมูลภาคสนาม โดย นักจิตวิทยาคลินิกและพยาบาลจิตเวช ในช่วงเดือน ธันวาคม 2553 - มกราคม 2554 ซึ่งข้อมูลนี้จะใช้เป็นฐานข้อมูลระดับประเทศ เพื่อการสำรวจติดตามการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยในระยะต่อไป รวมทั้ง พัฒนาไอคิวของคนไทยในอนาคต ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ
ผลการสำรวจในครั้งนี้ พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย (IQ) ในภาพระดับประเทศ เท่ากับ 98.59 (ค่าเฉลี่ยปกติ 90 109) ซึ่งถือว่าเป็นค่าระดับสติปัญญาที่อยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนไปทางต่ำ โดยเฉพาะ เมื่อเทียบกับสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กในประเทศอาเซียนหลายๆ ประเทศ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น ส่วนค่าเฉลี่ยระดับสติปัญญาเมื่อเทียบตามภาคเมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (IQ เฉลี่ย104.5) ภาคกลาง (IQ เฉลี่ย 101.29) ภาคเหนือ (IQ เฉลี่ย 100.11) ภาคใต้ (IQ เฉลี่ย 96.85) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (IQ เฉลี่ย 95.99) และเมื่อดูในภาพรวมของประเทศ พบว่า มีเด็กเกือบครึ่งหนึ่ง (48.5%) ที่มีปัญหาระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (IQ < 100) รวมทั้ง พบว่าประเทศยังมีเด็กกลุ่มที่มีปัญหาระดับสติปัญญาบกพร่อง (IQ < 70) อยู่ถึง 6.5% เมื่อเทียบกับมาตรฐานสากลคือ ไม่ควรเกิน 2%
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อพิจารณารายจังหวัด จะพบว่า 10 อันดับจังหวัดที่มีนักเรียน IQ เฉลี่ยสูงกว่าปกติ ได้แก่ 1.นนทบุรี (IQ=108.91) 2.ระยอง (IQ=107.52) 3.ลำปาง (IQ=106.62) 4.กรุงเทพฯ (IQ=104.50) 5.ชลบุรี (IQ=103.92) 6.สมุทรสาคร (IQ=103.73) 7.ตราด (IQ=103.51) 8.ปทุมธานี(IQ=103.34) 9.พะเยา(IQ=103.32) และ 10.ประจวบคีรีขันธ์ (IQ=103.17) ขณะที่ 10 อันดับจังหวัดที่มีนักเรียน IQ เฉลี่ยต่ำกว่าปกติ ได้แก่ 1.นราธิวาส (IQ=88.07) 2.ปัตตานี (IQ=91.06) 3.ร้อยเอ็ด (IQ=91.65) 4.อุบลราชธานี (IQ=93.51) 5.สกลนคร (IQ=93.74) 6.กาฬสินธุ์(IQ=93.78) 7.กระบี่ (IQ=93.85) 8.หนองบัวลำภู (IQ=94.06) 9.กำแพงเพชร (IQ=95.22) และ 10.มหาสารคาม (IQ=95.28) ทั้งนี้ ยังพบว่า เด็กนักเรียนไทยเพศหญิงมี IQ เฉลี่ยสูงกว่าเด็กนักเรียนชาย (IQ=99.91 และ 97.69 ตามลำดับ) นักเรียนในเขตเมืองมี IQ เฉลี่ยสูงกว่านักเรียนในเขตอื่นๆ (IQ=100.26 และ 97.46 ตามลำดับ) และนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สาธิต) มี IQ เฉลี่ย สูงกว่า นักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดกรุงเทพมหานครและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมี IQ=113.70, 106.35, 101.96 และ 97.59 ตามลำดับ
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต แนะ สิ่งที่ช่วยส่งเสริมไอคิว คือครอบครัวที่อบอุ่นช่วยหลั่งสารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของสมอง มีกิจกรรม "กิน กอด เล่น เล่า" กับลูกวัย 0-5 ปี การมีโภชนาการดี คือได้รับสารไอโอดีนที่เหมาะสม เรียนรู้อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เล่นอย่างอิสระเกิดความคิดสร้างสรรค์ การอ่านสร้างจินตนาการพัฒนาการสื่อสาร เรียนรู้จังหวะดนตรี และเล่นกีฬา ออกกำลังกายเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว เกิดความมั่นใจในความสามารถของตนเอง
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวด้วยว่า การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจทั่วประเทศครั้งแรก และเป็นการสำรวจไอคิวครั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามวิธีมาตรฐานสากล ก่อนหน้านี้ที่ไต้หวันมีการสำรวจมากที่สุด 64,000 คน ส่วนข้อมูลไอคิวนักเรียนไทยก่อนหน้านี้เคยมีการสำรวจเมื่อ 22 ปีก่อน ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 91 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลครั้งนี้ทำให้เห็นช่องว่างของสติปัญญาของนักเรียนไทยที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ช่องว่างทางความมั่งคั่งและความยากจนด้วย ผลภาพรวมยังสอดคล้องกับความเพียงพอของเกลือไอโอดีนในแต่ละภาค ดังนั้นจึงต้องผลักดันนโยบายเกลือไอโอดีนถ้วนหน้า ที่จะต้องให้เกลือไอโอดีนเป็นเกลือชนิดเดียวที่จำหน่ายในประเทศ แต่ขณะนี้ยังมีเกลือที่ไม่มีคุณภาพสอดแทรกอยู่ โดยต้องร่วมมือกันทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และภาคผู้ผลิตอาหารสัตว์