โปรดลงโทษลูกด้วยความรัก

รวบรวมข้อมูลโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี

        เมื่อไรก็ตามที่ลูกวัยซนไม่ฟังคุณ จนคุณเริ่มหงุดหงิด คุณเลือกที่จะทำด้วยวิธี ทนไม่ได้ ตวาดเสียงดังใส่ลูกทันที พูดไม่เชื่อใช่ไหม สักป๊าบละกัน  สาม เดินหนีไปเลย ปล่อยลูกอยู่ตรงนั้นคนเดียว สี่ ทำทุกข้อ ถ้าคุณเป็นพ่อแม่ที่เข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่ง หรือเป็นทุกข้อที่ยกตัวอย่างมา ก็ขอให้รับรู้ไว้ว่า คุณกำลังสอนให้ลูกวัยซนมีภาพจำของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และอาจนำไปสู่การเติบโตที่มีปัญหาก้าวร้าวต่อไปได้ 

        เมื่อเร็วๆ นี้ บทความจากหนังสือพิมพ์เดอะ วอลล์ สตรีท เจอนัล พูดถึงเรื่องการลงโทษว่า พ่อแม่หลายคนที่พยายามหลีกเลี่ยงการลงโทษลูกด้วยการตี ส่วนใหญ่แล้วมักจะหันมาตวาดหรือตะโกนใส่ลูกแทน เพื่อที่จะอบรมวินัยให้แก่เด็กๆ หรือแสดงให้ลูกรู้ว่าพวกเขาโกรธ

       โดยผลการสำรวจพบว่า 3 ใน 4 ของพ่อแม่จะตะโกน กรีดร้องใส่ลูกหนึ่งครั้งต่อเดือน จิตแพทย์กล่าวว่า การขึ้นเสียง หรือส่งเสียงดังเพื่อดึงความสนใจให้ลูกฟังหรือเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ผล เพราะการทำเช่นนั้น เป็นเหมือนการปิดประตูการสื่อสาร “ทันทีที่คุณเริ่มส่งเสียงดัง พวกเด็กๆ ก็จะเริ่มเข้าสู่โหมดชัดดาวน์”

         นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่า เด็กที่มักโดนพ่อแม่ตะคอกอยู่เสมอมีแนวโน้มจะมีปัญหาด้านพฤติกรรม มีอาการซึมเศร้า และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่มีความพึงพอใจในความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

         นักจิตวิทยาแนะนำว่า เมื่อใดก็ตามที่ลูกเริ่มแผลงฤทธิ์ ทางที่ดีให้คุณกระซิบ เพราะวิธีการสื่อสารแบบนี้ต่างจากที่พวกเขาได้ยินตามปกติ พวกเขาจะหยุดพูดและสนใจฟังคุณ ก็เพราะเด็กๆ อยากรู้มากๆ น่ะสิว่าคุณพูดอะไร

         เรื่องการลงโทษลูกด้วยวิธีไหนเป็นเรื่องที่คนเป็นพ่อแม่ยุคนี้หนักใจไม่น้อย เพราะก่อนหน้านี้มีการพูดถึงเรื่องการลงโทษเด็กด้วยการเฆี่ยนหรือตี เป็นการสร้างรอยร้าวและพฤติกรรมฝังใจ ทำให้เด็กมีโอกาสซึมซับเอาพฤติกรรมก้าวร้าวได้ จึงได้มีการรณรงค์ไม่ให้ลงโทษเด็กด้วยวิธีนี้ ก็ต้องนับว่าได้ผลในระดับหนึ่ง เพราะพ่อแม่ยุคนี้ไม่ค่อยเฆี่ยนตีลูกแล้ว

        แต่แล้วก็เกิดปัญหาใหม่อยู่ดี เพราะพ่อแม่ที่ไม่ตีลูก กลับหันมาใช้วิธีดุด่า ต่อว่า ด่าทอ หรือตวาดเสียงดังใส่ลูกแทน กลายเป็นว่าเด็กไม่เจ็บตัว แต่ปลายเป็นเจ็บใจแทน และแผลที่เจ็บใจนี่แหละที่มักฝังอยู่ในความทรงจำ ทำให้เด็กมักเครียด กลายเป็นเด็กเก็บกด หรือกดดัน หรือต่อต้านด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งก็ต้องอยู่ที่พื้นนิสัยของเด็กด้วย

        เพราะฉะนั้น วิธีที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุด ก็คือก่อนที่จะลงโทษ พ่อแม่ต้องกำหนดกฎเกณฑ์ภายในบ้านก่อน การกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการสอนให้ลูกได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ รวมไปถึงวินัย และการอยู่ร่วมกันในครอบครัว เป็นการสอนให้ลูกรู้ว่าเมื่อมีกฎเกณฑ์ภายในครอบครัวก็ต้องปฏิบัติตาม เช่น เมื่อลูกเล่นของเล่นเสร็จก็ต้องเก็บของเล่นเข้าที่ ถ้าลูกไม่เก็บก็แสดงว่าไม่ทำตามกฎกติกา ผลที่ตามมาก็คือถูกลงโทษด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

        แต่ถ้าไม่มีกฏกติกาภายในบ้าน เมื่อลูกเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บเข้าที่ พอแม่บอกให้ไปเก็บของเล่น ลูกก็อาจเพิกเฉย ไม่สนใจ และไม่ยอมทำตาม คนเป็นแม่ก็จะรู้สึกโกรธ ไม่พอใจที่ลูกมีพฤติกรรมแบบนี้ ก็เริ่มโกรธ และต่อว่า ในขณะที่ลูกก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองต้องทำ ถ้าไม่ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ยิ่งเห็นพฤติกรรมที่โกรธของแม่ เด็กบางคนก็อยากท้าทายจนท้ายสุดจากเรี่องเล็กๆ ก็กลายเป็นบานปลายได้ในที่สุด

           แต่ถ้าไม่มีกฏกติกาภายในบ้าน เมื่อลูกเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บเข้าที่ พอแม่บอกให้ไปเก็บของเล่น ลูกก็อาจเพิกเฉย ไม่สนใจ และไม่ยอมทำตาม คนเป็นแม่ก็จะรู้สึกโกรธ ไม่พอใจที่ลูกมีพฤติกรรมแบบนี้ ก็เริ่มโกรธ และต่อว่า ในขณะที่ลูกก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองต้องทำ ถ้าไม่ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ยิ่งเห็นพฤติกรรมที่โกรธของแม่ เด็กบางคนก็อยากท้าทายจนท้ายสุดจากเรี่องเล็กๆ ก็กลายเป็นบานปลายได้ในที่สุด

       ฉะนั้น พ่อแม่ควรกำหนดกฎเกณฑ์กติกาภายในบ้าน โดยเริ่มง่ายๆ ได้ดังนี้

       1. กฎ กติกา ต้องชัดเจน ปฏิบัติได้ และเข้าใจง่าย

       2. ถ้าลูกโตพอบางเรื่องก็ควรให้ลูกได้ส่วนร่วม ในการกำหนดกฎ กติกาภายในบ้านด้วย

       3. กฎกติกาต้องมีเหตุผล เหมาะสมกับวัยของเด็กที่จะปฏิบัติได้ ไม่บังคับให้เด็กทำตามความต้องการของพ่อแม่

       4. ควรสร้างทางเลือก เพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือก หรือตัดสินใจด้วยตนเอง

       5. เมื่อวางกฎกติกาแล้ว ต้องใช้และยึดถืออย่างสม่ำเสมอ

       6. สร้างขั้นตอนของการทำโทษเมื่อผิดกฎกติกา เริ่มจากเตือนทันทีเมื่อลูกทำผิดกฎ หรือกำหนดบทลงโทษเป็นขั้นตอน โดยต้องรับรู้ร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูกตั้งแต่แรก

       7. ชื่นชมเมื่อลูกปฏิบัติได้ตามกฎ กติกาที่วางไว้พ่อแม่ต้องจัดการอารมณ์ของตัวเองก่อน ถ้ากรณีที่ลูกไม่เชื่อฟัง ต้องมีเทคนิคในการลงโทษที่ลูกเหมาะสมกับวัยด้วย อย่าลืมว่าเมื่อกำหนดกฎกติกาแล้ว ก็ต้องบอกสมาชิกทุกคนในครอบครัว ให้ยอมรับร่วมกันด้วย      

           จากนั้น ถ้าหากมีปัญหาขึ้นมา เช่น ลูกไม่ปฏิบัติตาม พ่อแม่ก็ต้องเตือนว่าลูกกำลังฝ่าฝืนกฎนะจ๊ะ ให้พูดด้วยท่าทีที่อ่อนโยน ไม่ใช่น้ำเสียงที่ดุดัน และถ้าหากลูกไม่เชื่อฟัง และเริ่มท้าทาย พ่อแม่ก็อย่าเพิ่งอารมณ์เสีย ขอให้ควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อน

           ถ้าพ่อแม่มีอาการโกรธ หรือโมโหแล้ว ต้องรีบจัดการกับอารมณ์ของตัวเองให้ได้ หรือไม่ก็สลับบทบาทพ่อหรือแม่ ใครที่สามารถรับมือกับสถานการณ์นั้นได้ดีกว่า ก็เป็นคนนั้น ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องตระหนัก และต้องหาทางช่วยให้ลูกจัดการอารมณ์ของตัวเองให้ได้ มิเช่นนั้นแล้วเขาหรือเธอตัวน้อยอาจติดพฤติกรรมโมโหร้าย หรือเจ้าอารมณ์ไปจนโตก็ได้

           สิ่งสำคัญอีกประการก็คือ การเข้าใจธรรมชาติของเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้ว่าลูกของเราเป็นเด็กอย่างไร ยิ่งว่าเหมือนยิ่งยุหรือไม่ หรือพื้นฐานเอาแต่ใจตัวเองหรือไม่ ถ้าพ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก การจัดการก็ต้องคำนึงถึงธรรมชาติของเด็กด้วย เป็นเทคนิคของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องรู้ให้เท่าทันและมีไหวพริบให้เท่าทันลูกน้อยด้วย เพราะบางครั้งลูกของเราสองคน ทำผิดเรื่องเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้วิธีการลงโทษแบบเดียวกันแล้วจะได้ผลเหมือนกัน

           อย่าลืมด้วยว่า การลงโทษทุกครั้ง ลูกจะรับรู้และสัมผัสได้ว่าการลงโทษของพ่อแม่ เป็นการลงโทษด้วยอารมณ์โกรธหรือความรัก เป็นการลงโทษด้วยอารมณ์ชั่ววูบหรือระงับโทสะไม่ได้ เพราะผลภายหลังของการลงโทษลูกจะกลายเป็นภาพฝังใจประทับตรึงใจเขาไปตลอดชีวิต โปรดลงโทษลูกด้วยความรักมิใช่ความโกรธ !!

 

ผู้จัดการออนไลน์


  View : 7.14K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 1,415
 เมื่อวาน 1,702
 สัปดาห์นี้ 4,475
 สัปดาห์ก่อน 7,125
 เดือนนี้ 24,391
 เดือนก่อน 33,046
 จำนวนผู้เข้าชม 906,069
  Your IP : 54.36.148.157