ประวัติ

วิวัฒนาการจากอดีต สู่ ปัจจุบันของสถาบันราชานุกูล

วิวัฒนาการใน ๖  ทศวรรษของสถาบันราชานุกูล
จากอดีต...ถึงปัจจุบัน...
แต่เดิมก่อนก่อตั้งโรงพยาบาลราชานุกูลนั้น  ผู้ที่มีสติปัญญาบกพร่องส่วนมากจะถูกปล่อยปละละเลยให้อยู่กับบ้าน  มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีโอกาสได้เข้ารับการบำบัดรักษาตามโรงพยาบาลจิตเวชทั่วไป  บุคคลเหล่านี้มักจะถูกมองว่าเป็นปัญหาทางสังคม เพราะรับผิดชอบตนเองไม่ได้ต้องเป็นภาระของครอบครัว โดยเฉพาะบิดา มารดา และญาติ พี่น้องที่จะต้องอุทิศเวลาในการดูแลเป็นพิเศษไม่มีเวลาออกทำมาหาเลี้ยงชีพ  ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคม  และเศรษฐกิจของประเทศ  จึงเป็นภาระที่สังคมจะต้องให้ความช่วยเหลือ  และเป็นหาทางสาธารณสุขที่สมควรจะได้รับการแก้ไข  โดยหาทางป้องกัน  บำบัดรักษา เพื่อลดจำนวนให้น้อยลง  และแก้ไขฟื้นฟูสมรรถภาพให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้  เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนต่อไป  ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการดำเนินการจัดสร้างโรงพยาบาลปัญญาอ่อน ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓  นับว่าเป็นโรงพยาบาลพิเศษเฉพาะ ผู้ที่มีสติปัญญาบกพร่องแห่งแรกในประเทศไทย
 
“ราชาเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชู”
 
สถาบันราชานุกูล ซึ่งเดิมมีชื่อว่า โรงพยาบาลปัญญาอ่อนนั้น  เป็นโรงพยาบาลพิเศษเฉพาะที่ตั้งขึ้น เพื่อให้บริการด้านบำบัดรักษาแก่ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาแห่งแรกในประเทศไทย โดยมีพิธีรับมอบเมื่อวันที่ ๑๖มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๓
ต่อมาทางโรงพยาบาลได้จัดบริการด้านการฝึกอบรม โดยเริ่มมีห้องเรียนในปีแรกเพียงห้องเดียว กั้นแบ่งออกจากตึกนอนของคนไข้ส่วนหนึ่ง นำมาใช้บริการนี้และมีพยาบาลช่วยกันสอนในระยะแรก เนื่องจากยังไม่มีตำแหน่งครู หลักการสอนในชั้นเรียนก็เพียงเพื่อตรึงนักเรียนให้รู้จักสิ่งรอบๆ ตัวเองและให้มีกิจกรรมทำเท่านั้น  อีก ๒ ปี ต่อมาโรงเรียนขยายเป็น ๓ ห้องเรียน ซึ่งขณะนั้นเริ่มมีครูอาชีวะ และครู ป.กศ. เข้ามาร่วมสอนแต่บางห้องก็ยังใช้พยาบาลช่วยทำการสอนอยู่  จนในปี ๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาพระราชทานเงินรายได้จากการฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ชุดเสด็จฯเยือนประเทศมาเลเซีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์  เพื่อสร้างโรงเรียนสอนเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาขึ้น ให้รู้จักช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สามารถปรับตัวและเรียนรู้การอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติสุข รวมถึงการสอนวิชาชีพให้ตามความถนัดของเด็กที่สามารถจะเรียนรู้ได้ นับเป็นต้นแบบโรงเรียนการศึกษาพิเศษแห่งแรกในประเทศไทย และพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า  “โรงเรียนราชานุกูล”   โดยมีห้องเรียน ๑๐ ห้อง  มีรูปแบบอาคารที่เป็นสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย และต่อมาจึงได้งบประมาณพัฒนาสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก ๑ หลัง  ทำให้การเรียนการสอนสมบูรณ์ขึ้น ตั้งแต่นั้นมากิจการของโรงเรียนได้ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เป็นแหล่งศึกษาดูงานของนิสิตนักศึกษา แพทย์ พยาบาลและครู 
 
ในเวลาต่อมา...โรงพยาบาลปัญญาอ่อนจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ชื่อ   
“โรงพยาบาลราชานุกูล” เช่นเดียวกับชื่อของโรงเรียน ซึ่งได้มีพระบรมราชานุญาต เมื่อวันที่  ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒  นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง นำมาซึ่งความปลาบปลื้มต่อผู้ป่วย และญาติพี่น้อง ตลอดจนบุคลากรของโรงพยาบาลฯ โดยทั่วหน้า   

ยุคที่ ๑ :  โรงพยาบาลปัญญาอ่อน (พ.ศ.๒๕๐๓-๒๕๒๒)

 
โครงการ “โรงพยาบาลปัญญาอ่อน” ถือเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโครงการหนึ่งในแผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติฉบับที่ ๑  ของกองโรงพยาบาลโรคจิต  กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุขแห่งชาติ  การก่อสร้างโรงพยาบาลปัญญาอ่อนได้เริ่มดำเนินการขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๒ โดยใช้เนื้อที่ ๒๖ ไร่เศษของโรงพยาบาลโรคติดต่อของกรมอนามัย  ต่อมากรมการแพทย์ได้เจรจากับเทศบาลนครกรุงเทพขอยืมที่บริเวณทิ้งขยะของเทศบาลๆ ซึ่งอยู่ด้านหลังติดกับโรงพยาบาลปัญญาอ่อนขณะนั้นส่งผลให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก ๖ ไร่  รวมเป็น ๓๒ ไร่ สาเหตุเนื่องมาจากในปีพ.ศ.๒๕๐๐ ได้เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้น โรงพยาบาลโรคติดต่อซึ่งรับรักษาคนไข้อหิวาตกโรค ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลบำราศนราดูร กรมอนามัย มีสถานที่ตั้งอยู่ถนนดินแดง เป็นที่ลุ่มน้ำเจิ่งแม้ในหน้าแล้ง  ตั้งอยู่ในชุมชนแออัด  มีประชากรหนาแน่น  ไม่เหมาะที่จะเป็นสถานที่โรงพยาบาลโรคติดต่อ  จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเห็นสภาพดังกล่าว  จึงมีคำสั่งให้ย้ายโรงพยาบาลโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนสถานที่ก่อสร้างโรงพยาบาลปัญญาอ่อนซึ่งเป็นพื้นที่ของโรงพยาบาลศรีธัญญาให้เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลโรคติดต่อแทน  และก่อสร้างโรงพยาบาลปัญญาอ่อน ณ ถนนดินแดง พญาไท  ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลโรคติดต่อเดิม  
            เกี่ยวกับการตั้งชื่อโรงพยาบาลนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ขณะที่ดำรงตำแหน่ง 
รองอธิบดีกรมการแพทย์ และท่านเป็นผู้ริเริ่มโครงการจัดตั้งโรงพยาบาลสำหรับบุคคลปัญญาอ่อน  โดยไม่
ต้องใช้ศัพท์สันสกฤตหรือบาลีให้ต้องแปลกันทุกคนเห็นดีด้วย จึงมีการตั้งชื่อว่า“โรงพยาบาลปัญญาอ่อน” โรงพยาบาลปัญญาอ่อนได้รับมอบสถานที่ดำเนินการก่อสร้าง  และจัดตั้งโรงพยาบาลปัญญาอ่อน
แห่งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๓ โดยได้แต่งตั้งนพ.รสชง ทัศนาญชลี เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่านแรก  ได้ประกอบพิธีเปิดตึกอำนวยการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๕  โดย ฯพณฯจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  นายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด เริ่มแรกรับบุคคลปัญญาอ่อนจากโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน ๒๐ คน เพื่อบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพต่อมารับผู้ป่วยใหม่เพิ่มอีก ๕ ราย รวมเป็น ๒๕ ราย  ทั้งนี้เพื่อจะได้ฝึกทักษะแก่บุคลากรในโรงพยาบาลให้มีความรู้  ความเข้าใจ และความสามารถในวิธีปฏิบัติ  สำหรับดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพแก่บุคคลปัญญาอ่อน
 
กิจกรรมและพัฒนาการที่สำคัญ
๒๔๙๗: นพ.รสชง  ทัศนาญชลี  ศึกษาดูงานด้านปัญญาอ่อน ณ ประเทศอังกฤษ และเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๐๓
๒๔๙๙ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับองค์กรอนามัยโลก โดย Dr. Allen Stoller   ผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก สำรวจประเทศไทย มีบุคคลปัญญาอ่อนร้อยละ ๑  ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๐๐
๒๕๐๑ : แพทย์หญิงวัณรุณี คมกฤส ศึกษาและดูงานด้านปัญญาอ่อน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๐๑-๒   และเป็นผู้อำนวยการคนที่ ๒ ของโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๑
๒๕๐๓ :  ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๓ กองโรงพยาบาลโรคจิต กรมการแพทย์ ได้แรกเปลี่ยนที่ตั้งโรงพยาบาลกับ โรงพยาบาลโรคติดต่อ กรมอนามัย และรับผู้ป่วยรุ่นแรกจากโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ตั้งแต่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ตึกอำนวยการ ดัดแปลงเป็นบ้านพักผู้อำนวยการ และเป็นพิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลราชานุกูลในปัจจุบัน
: โรงพยาบาลปัญญาอ่อน โรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
: ๒๕๐๓-๒๕๑๑ น.พ.ประสิทธิ์  ปิ่นกุลบุตร  ได้นำเครื่องมือทดสอบ Stanford Bidet Form L-M ตรวจวัดสติปัญญาเพื่อแยกแยะระดับความปัญญาอ่อน
๒๕๐๕: ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เปิดบริการเป็นทางการโดยฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์
: มูลนิธิช่วยเด็กปัญญาอ่อนในพระบรมราชนูปถัมภ์โดยท่านผู้หญิงหม่อมงามจิตต์  บุรฉัตร เป็นผู้ริเริ่มสนับสนุนกิจกรรมและการก่อสร้างอาคารในโรงพยาบาล
๒๕๐๖ :  จัดบริการรักษาทางกายภาพ
๒๕๐๖: โรงพยาบาลราชานุกูลได้ให้การวินิจฉัยโรค “PKU” หรือPHENYLKETONURIA ในเด็กปัญญาอ่อนอายุ   ๓ ปี ได้เป็นรายแรกของโรงพยาบาล
๒๕๐๗ : โรงเรียนราชานุกูล โรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กปัญญาอ่อนแห่งแรกในประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จเปิด “โรงเรียนราชานุกูล”   วันที่  ๕  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
หลักการสอน ๓ ประการ
• รู้จักช่วยตัวเองในชีวิตประจำวัน
• รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคม
• สอนวิชาชีพ
๒๕๐๙:  ๘ กรกฎาคม ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเปิดตึกดรุณพัฒนาสำหรับเด็กอายุ ๓-๖ ปี
: การสอนเด็กอายุ ๓-๖ ปี เคลื่อนไหว, เอาใจใส่ตนเองสุขภาพ ปลอดภัย ภาษาศิลป์ เวลา รูปทรง สังคม ศิลปะ ธรรมชาติ
: วิจัย “ทัศนคติของมารดาที่บุตรเป็นปัญญาอ่อน” น.ส.ฉลวย จุติกุล นักสังคมสงเคราะห์
๒๕๑๒: น้ำยา Ferric Chloride ๑๐% และเทปน้ำยา ตรวจหาสาเหตุปัญญาอ่อนจากโรค Phenyl ketonuria ในโรงพยาบาล
: พญ.ปทุม   โพธิ์ทอง และนางสาวอุ่นเรือน   อำไพพัสตร์ ได้รับทุนมูลนิธินายแพทย์ฝน   แสงสิงแก้ว แปลแบบทดสอบ DDST เป็นภาษาไทย
๒๕๑๓: จัดบริการห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์ โดยแพทย์หญิงชวาลา เธียรธนู เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
๒๕๑๕ : ๓๐ มีนาคม ๒๕๑๕ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา เสด็จแทนพระองค์ในพิธีเปิด “ตึกศูนย์วิจัยปัญญาอ่อน และลดอัตราการเกิดปัญญาอ่อน
๒๕๒๐ : ผู้อำนวยการ นพ.รสชง   ทัศนาญชลี และน.ส.อุ่นเรือน   อำไพพัสตร์ ใช้เทคนิควิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior Modification Techniques) บุคคลปัญญาอ่อน เด็กออทิสติก เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์
๒๕๒๐ : วิจัย “การติดตามผลการประกอบอาชีพของบุคคลปัญญาอ่อน” 
โดย น.ส.ฉลวย  จุติกุล นักสังคมสงเคราะห์
๒๕๒๐ : ผู้อำนวยการ นพ.รสชง   ทัศนาญชลี  และน.ส.อุ่นเรือน   อำไพพัสตร์ ใช้เทคนิควิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior Modification Techniques) บุคคลปัญญาอ่อน             เด็กออทิสติก  เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์
๒๕๒๐ : วิจัย “การติดตามผลการประกอบอาชีพของบุคคลปัญญาอ่อน” 
โดย น.ส.ฉลวย  จุติกุล นักสังคมสงเคราะห์
๒๕๒๒ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามว่า        “โรงพยาบาลราชานุกูล”
 

 

ยุคที่ ๒ : โรงพยาบาลราชานุกูล (พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๔๕)

“ปัญญาอ่อน” เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย กระทรวงสาธารณสุข  โดยนายแพทย์ยงยุทธ  สัจจะวานิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามโรงพยาบาลเพื่อเป็นสิริมงคลสืบไป  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า  “โรงพยาบาลราชานุกูล”  เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๒ 

โรงพยาบาลราชานุกูล เป็นโรงพยาบาลพิเศษเฉพาะทางเพื่อให้บริการแก่ผู้บกพร่องทางสติปัญญาแบบครบวงจร ตั้งแต่การตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา ส่งเสริมป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพ  พร้อมทั้งเป็นสถานที่ให้ความรู้ด้านภาวะปัญญาอ่อนแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุขทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การดำเนินงาน
ได้ดำเนินงานแบ่งการให้บริการเป็น ๒ แผนกคือ
• แผนกผู้ป่วยนอก :  ให้บริการตรวจวินิจฉัยป้องกัน บำบัด รักษา และให้คำแนะนำแก่บิดา มารดาผู้ปกครอง ในการเลี้ยงดูบุตรหลานปัญญาอ่อนให้ถูกหลักวิชาการ
• แผนกผู้ป่วยใน :  เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพด้านต่างๆ ได้แก่  ด้านการแพทย์  ด้านการศึกษา  ด้านสังคม  และด้านการฝึกอาชีพ  
มีการประสานงานการดำเนินงานด้านฝึกอบรมจากต่างประเทศ ได้แก่
• โดยการช่วยเหลือจากอินเตอร์ เอด เอเชีย สนับสนุนวิทยากรในหลักสูตรการดูแลบุคคลปัญญาอ่อนในชุมชน
 สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู ผู้ปกครอง พี่เลี้ยง ฯลฯ ซึ่งมีศูนย์กลาง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา   
• โครงการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย เวลส์ อินสทิทิวท์ คาร์ดีฟ (UWIC) แห่งสหราชอาณาจักรกับโรงพยาบาล
 
กิจกรรมและพัฒนาการที่สำคัญ
๒๕๒๐ :  ผู้อำนวยการโรงพยาบาล นพ.รสชง   ทัศนาญชลี, น.ส.พรรณี   แสงชูโต นำเทคนิคการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก (Early Stimulation) ใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
นพ.รสชง ทัศนาญชลี และน.ส.อุ่นเรือน  อำไพพัสตร์ พัฒนาแบบการตรวจความพร้อมทางวุฒิภาวะทางสังคม (Vineland Social Maturity Scale) เพื่อประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตในสังคมของบุคคลปัญญาอ่อน
๒๕๒๕ : พญ.วัณรุณี   คมกฤส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมีนโยบายให้จัดโครงการปัญญาอ่อนชุมชน พญ.ปัญญา   เพ็ญสุวรรณ และคณะสหวิชาชีพ (Dr.Isobel Maire, Dr.June Jeans) อาสาสมัครชาวอังกฤษ สนับสนุนจาก กองทุนช่วยเหลือเด็กแห่งประเทศอังกฤษ  โดยมี
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมโอกาสดำเนินชีวิตผสมกลมกลืนอยู่ในสังคมอย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี ปรับกระบวนการทำงานของบุกคลากรเป็นเชิงรุก ประสานประโยชน์จากแหล่งชุมชน ซึ่งได้แก่
 
๑. ศูนย์พัฒนาเด็กราชานุกูล (พ.ศ.๒๕๒๗) ศูนย์พัฒนาสาธิตบริการให้เด็กปัญญาอ่อนอายุแรกเกิด-๖ ปี 
(สโมสรโรตารี่ กรุงเทพใต้, AIA, สถานทูตอังกฤษ)
๒. โครงการเรียนร่วม ร.ร.วิชูทิศ (พ.ศ.๒๕๓๒, ๒๕๓๔) มุ่งรณรงค์สิทธิการศึกษา ค้นคว้าและสร้างสรรค์รูปแบบ
๓. การให้บริการที่บ้าน เริ่ม พ.ศ.๒๕๒๗ สอนและวางแผนการช่วยเหลือแก่พ่อแม่ที่บ้าน
๔. การอบรมการดูแลยุคคลปัญญาอ่อนในชุมชน โดยการสนับสนุนของ Deter AID AIA
๒๕๓๐ :  ทุนวิจัย WHO
๑. Feasibility Study pf the Application of PGEE in Developmentally Delayed Thai Children>
๒. Study of Mental Retardation Problems in Thailand  ๑๙๘๗-๑๙๘๘ 
๒๕๓๑ :  โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปัญญาอ่อนในชุมชน โดย พญ.กัลยา สูตะบุตร และ พญ. ปัญญา  เพ็ญสุวรรณ และทีมสหวิชาชีพ และเปิดให้การฝึกอบรม โดยเชิญวิทยากรจากประเทศออสเตรเลีย  และเผยแผ่คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแก่จังหวัดต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
๒๕๓๒:  เริ่มดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพัฒนาวิชาการและบริการด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสำหรับเด็กแรกเกิด – ๕ ปี   ที่มีพัฒนาการล่าช้า
๒๕๓๓ : โครงการการใช้คู่มือส่งเสริมพัฒนาการในโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ
๒๑  มีนาคม  ๒๕๓๓ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงเปิดอาคารผู้ป่วยนอก ได้ทรงแนะนำให้จัดตั้งมูลนิธิ เพื่อช่วยเหลือเด็กปัญญาอ่อนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
๒๕๓๔ : ๕ กรกฎาคม ๒๕๓๔   มูลนิธิเพื่อโรงพยาบาลราชานุกูล ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้ง และได้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์โครงการ UWIC
๒๕๓๗ : กรมสุขภาพจิต การประสานการบริหารจัดการ การจัดบริการและองค์ความรู้เทคโนโลยีด้านปัญญาอ่อนและพัฒนาการเด็กในระดับจังหวัด “โครงการทดลองจ้างงานบุคคลปัญญาอ่อน” รับบันทึกไว้ในองค์การแรงงานระหว่างชาติ 
(ILO ,เจนีวา)
๒๕๓๘: โครงการทดลองจ้างงานบุคคลผู้บกพร่องทางสติปัญญา เริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ จนถึงปัจจุบัน เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนาด้านอาชีพ ด้านสังคม ลักษณะนิสัยที่จำเป็นในการทำงานเพื่อให้บุคคลผู้บกพร่องทางสติปัญญาสามารถปฏิบัติงาน และอยู่ร่วมกับคนปกติได้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๑ ล้านบาท เป็นกองทุนเริ่มต้น องค์อุปถัมภ์ ประทานให้อีก ๕ แสนบาท และผู้มีกุศลจิตบริจาคเพิ่มให้จนกองทุนเติบโต มีเงินบริหารงาน ๓ ล้านบาท ได้นับดอกผลมาใช้จ่ายจ้างงาน นับเป็นจุดเริ่มต้นที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง
๒๕๔๐: พญ.ชวาลา เธียรธนู ส่งเสริมการพัฒนางานด้านการตรวจโครโมโซมเพื่อวินิจฉัย ศึกษาค้นคว้าวิจัยสาเหตุของภาวะปัญญาอ่อนเพื่อการป้องกันที่ได้ริเริ่มและดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒ ได้พัฒนาจนเป็นที่ยอมรับ   และได้สนับสนุนให้นพ.วีรยุทธ  ประพันธ์พจน์  ได้รับทุนจากกรมสุขภาพจิตไปศึกษาต่อปริญญาเอกด้านพันธุศาสตร์  ณ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์  ประเทศสหรัฐอเมริกา
๒๕๔๑: ศึกษาวิจัยด้านพัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก  ได้แก่  วิจัยติดตามเด็กในโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโรงพยาบาลราชานุกูล  ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๓๑ – ๒๕๔๑  การศึกษาอายุพัฒนาการของเด็กกลุ่มอาการดาวน์  โดย พญ.นพวรรณ  ศรีวงค์พานิช
๒๕๔๒: นพ.อุดม เพชรสังหาร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชานุกูลมีนโยบายการพัฒนามาตรฐานการบริการในระดับตติยภูมิแบบสหวิชาชีพเน้นการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน 
๒๕๔๓: นพ.วีรยุทธ  ประพันธ์พจน์ ดำเนินโครงการวิจัยทางด้านพันธุศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านภาวะปัญญาอ่อนและโรคทางจิตเวช  เกิดผลงานการวิจัยการตรวจความผิดปกติของปลายโครโมโซมที่ทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการสาธารณสุข
๒๕๔๓: ก่อตั้ง “ร้านเพื่อน” เพื่อเป็นจุดฝึกอาชีพ และจำหน่ายผลผลิตของบุคคลปัญญาอ่อน
และครอบครัว รวมทั้งผู้พิการประเภทอื่นๆ
๒๕๔๔: นพ.อุดม  เพชรสังหาร  ผู้อำนวยการ  ดำเนินงานโครงการสุขภาพจิตเด็กพิการและด้อยโอกาส  โดยการประสานงานเครือข่ายติดต่อกันตั้งแต่ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๖   ด้วยเล็งเห็นความสำคัญถึงสุขภาพจิตเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงบริการ   และรับการดูแลตั้งแต่แรกเริ่ม  ตลอดจนได้รับการบำบัดฟื้นฟูอย่างเหมาะสม
๒๕๔๔: สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด “พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลราชานุกูล” วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔   เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ด้านภาวะปัญญาอ่อนให้แก่ประชาชนทั่วไป  
๒๕๔๕: หลักสูตร Group Training Course on Intellectual Disability โดยร่วมมือกับ JLID และจากหลักสูตรนี้ทำให้ราชานุกูลได้รับการร้องขอในเรื่องการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น เช่นจาก เวียดนาม กัมพูชา
๒๕๔๖: พัฒนาโครงการทดลองจ้างงานให้มีมาตรฐานทางวิชาการ จนเป็นที่ยอมรับของ International Labor Organization (ILO) ว่าเป็นโครงการที่มีคุณภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลปัญญาอ่อน และ ILO ยังได้สนับสนุนทางวิชาการโดยประสานกับ BIZLINK แห่งประเทศสิงคโปร์ให้มาถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานฝึกอาชีพบุคคลปัญญาอ่อนให้กับราชานุกูล รวมทั้งสนับสนุนทุนแก่บุคลากรไปศึกษาดูงานของ BIZLINK ที่ประเทศสิงคโปร์
๒๕๔๖: การเชื่อมเครือข่ายกับ Japan League on Intellectual Disability (JLID) (ตอนหลัง
เปลี่ยนชื่อไปแล้ว) เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาทางวิชาการ และความร่วมมือในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านนี้ในเอเชียแปซิฟิค  ทำให้ได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ มากขึ้น
 

         



ยุคที่ ๓ : สถาบันราชานุกูล (พ.ศ.๒๕๔๕-ปัจจุบัน)
  
      
จากการปฏิรูประบบราชการ  โรงพยาบาลราชานุกูลจึงได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างบทบาท

ภารกิจใหม่  ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารราชการแผ่นดินฉบับที่ ๕  ตามกฏกระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ.๒๕๔๕   ยกระดับฐานะจากโรงพยาบาลเป็น “สถาบันราชานุกูล” โดยมุ่งเน้นการวิจัยและการพัฒนาเป็น
หลัก  ซึ่งมีแผนการพัฒนาสถาบันราชานุกูลตามยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้
 
ยุทธศาสตร์
• การเสริมสร้าง/พัฒนาภาคีเครือข่าย
• การพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยี
• การพัฒนาศูนย์กลางวิจัยและเทคโนโลยี
• การพัฒนาศูนย์กลางวิชาการด้านพัฒนาการเด็กและสติปัญญา
• การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านบริการ
• การพัฒนาองค์กรและสมรรถนะบุคลากร
วิสัยทัศน์
“สถาบันราชานุกูลเป็นผู้นำทางวิชาการ บริการ ด้านพัฒนาการเด็กและสติปัญญาที่มีคุณภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บุคลากรมีความสุข  ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ”
พันธกิจ
รับผิดชอบในการพัฒนาเพื่อการเป็นศูนย์กลางวิชาการด้านพัฒนาการเด็กและสติปัญญา
ให้บริการด้านพัฒนาการเด็กและสติปัญญาแบบองค์รวมในระดับตติยภูมิ
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการส่งเสริม ป้องกัน บำบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพด้านพัฒนาการเด็กและสติปัญญา
สถาบันราชานุกูล  มีความมุ่งมั่นในการพัฒนามาตรฐานบริการบุคคลบกพร่องทางสติปัญญา  บุคคลที่มีปัญหาพัฒนาการและสติปัญญาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีความสุขในการดำรงชีวิต  มีศักดิ์และสิทธิ์เช่นเดียวกับบุคคลปกติ  สังคมยอมรับว่าเป็นบุคคลปกติที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือมีความจำกัดบางอย่างแต่สามารถพัฒนาได้
กิจกรรมและพัฒนาการที่สำคัญ
๒๕๔๖: การพัฒนาต้นแบบบริการหอผู้ป่วยครอบครัว   หอผู้ป่วยออทิสติก  การเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนปกติและโรงเรียนเรียนร่วม  โครงการจ้างงานเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสู่การจ้างงานแบบครบวงจร  มุ่งพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเป็นศูนย์กลางงานวิชาการด้านพัฒนาการเด็กที่มีคุณภาพ
๒๕๔๗: พัฒนางานการให้บริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น อาศัยความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางโดยพัฒนาพยาบาลวิชาชีพให้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านสุขภาพจิต
๒๕๔๗: มีการปรับโครงสร้างการทำงานและปรับองค์กรเพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการให้สอดคล้องกับนโยบายกรมสุขภาพจิตในฐานะสถาบันวิชาการ  ปรับเปลี่ยนงานศึกษาพันธุศาสตร์เป็นศูนย์วิจัยพันธุศาสตร์การแพทย์  มีภารกิจสำคัญทั้งในด้านการให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรม และการดำเนินการวิจัยทางด้านพันธุกรรม
๒๕๔๘: พัฒนาหลักสูตรและเทคโนโลยี   ถ่ายองค์ความรู้   โดยการร่วมมือกับคณะพยาบาลศาสตร์   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ซึ่งกรมสุขภาพจิตมอบให้สถาบันราชานุกูลเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำหลักสูตรและจัดฝึกอบรมมาถึงปัจจุบัน   พร้อมทั้งต่อยอดดำเนินการสร้างเครือข่ายดำเนินงานในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
๒๕๔๘: นพ.วีรยุทธ ประพันธ์พจน์ นักวิจัยหลักโครงการวิจัยเรื่อง การจัดทำฐานข้อมูลทางสุขภาพจิตและพันธุกรรมในผู้รอดชีวิตจากคลื่นสึนามิใน ๖ จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย (๒๕๔๘-๒๕๕๑)
๒๕๔๙: จากเหตุการณ์มหันตภัยคลื่นยักษ์สึนามิ  พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล  ได้จัดทำโครงการติดตามและฟื้นสภาวะจิตใจเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ ( Emotional Recovery Efforts for Tsunami – Affected Children in Thailand )   โดยได้รับความร่วมมือกับโรงพยาบาลถลาง และโรงพยาบาลกระบี่ ตั้งแต่ มกราคม ๒๕๔๙-ธันวาคม ๒๕๕๐ ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจาก Bernard van Leer Foundation ประเทศเนเธอร์แลนด์
๒๕๔๙: พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการมุ่งเน้นการพัฒนาต้นแบบบริการและวิชาการ  การจัดตั้งคลินิกพิเศษ เช่น คลินิกทางพันธุศาสตร์  คลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น  คลินิกจิตเวชผู้ใหญ่  คลินิกฝังเข็ม  จัดตั้งศูนย์ดนตรีบำบัดเพื่อพัฒนาด้านอารมณ์ พฤติกรรมและทักษะการสื่อสารแก่บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
๒๕๔๙: โครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบัน โดยดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีและพื้นที่นำร่องต้นแบบการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย   พัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุนการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยวัยแรกเกิด-๕ ปี และด็กวัยเรียน ๖-๑๑ ปี : คู่มือประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-๕ ปี ฉบับใหม่   ชุดเทคโนโลยีเสริมสร้างไอคิว อีคิว เด็กแรกเกิด-๕ ปี และเด็กวัยเรียนการอบรมวิทยากร/แกนนำ 
๒๕๔๙: โครงการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมและเภสัชกรรมของโรคซึมเศร้าในคนไทย โดย นพ.วีรยุทธ   ประพันธ์พจน์   เป็นการสัมภาษณ์ข้อมูลทางคลินิก   การจัดเก็บตัวอย่างทางพันธุกรรมในรูป DNA ๑๙ ตัวอย่าง ในรูป Permanent cell line ๓๕ ตัวอย่าง การบำรุงรักษาตัวอย่างทางพันธุกรรม  และติดตามผลการรักษาผู้ป่วย/กลุ่มควบคุม(กลุ่มเดิมจากการศึกษาในระยะที่ ๑ )   และติดตามกลุ่มใหม่ ไปจนครบ ๓ ปี
๒๕๔๙: สถาบันราชานุกูลได้ร่วมมือกับ Best Buddies International  เพื่อดำเนินโครงการ Best  Buddies Thailand ในปีพ.ศ.๒๕๔๙  โดยสนับสนุนให้ข้าราชการเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา  จากนั้นจึงได้ขยายเครือข่ายการดำเนินงาน ในประเทศไทย  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตทักษะทางสังคมของผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา โดยผ่านสัมพันธภาพความเป็นเพื่อนแบบหนึ่งต่อหนึ่งจากอาสาสมัครบุคคลปกติปกติ
๒๕๕๐: โครงการพัฒนาเครื่องมือสำรวจต้นทุนชีวิตสำหรับเด็กวัยเรียน  ช่วงชั้นที่ ๑ (ป.๑-ป.๓) และช่วงชั้นปีที่ ๒ (ป.๔-ป.๖) โดย พญ.พรรณพิมล  หล่อตระกูล และทีมวิจัย
๒๕๕๐: ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย  ศรสงคราม  ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดคลินิกทันตกรรมเฉลิมพระเกียรติ  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ได้รับทุนสนับสนุนจัดสร้างจากมูลนิธิเพื่อสถาบันราชานุกูลฯ โดยมีพลเอกวันชัย เรืองตระกูล เป็นประธานกรรมการอำนวยการจัดงาน  
เพื่อเป็นการปรับปรุง พัฒนาคลินิกทันตกรรมให้มีความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพต่อการให้บริการแก่ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา  
๒๕๕๑: กรมสุขภาพจิตมอบหมายให้สถาบันราชานุกูลเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านพันธุศาสตร์การแพทย์และปัญญาอ่อนของกระทรวงสาธารณสุข (ตามราชกิจจานุเบกษา) โดยมีการขยายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น   ได้แก่   ประเทศเดนมาร์ก อินเดีย กัมพูชา   และเวียดนาม
๒๕๕๒: สถาบันราชานุกูล ร่วมกับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   ได้ร่วมกันดำเนินโครงการจัดบริการแก่เด็กบกพร่องทางพัฒนาการวัยแรกเกิด-๕ ปีในกรุงเทพมหานคร   โดยให้มีระบบการคัดกรองเด็กวัยแรกเกิด-๕ ปี  ในศูนย์บริการสาธารณสุข  กรุงเทพมหานคร ๓๐ แห่ง และเพิ่มความเข้มแข็งของระบบบริการให้มีการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการ
๒๕๕๒: สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ร่วมกับ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย ดำเนินกิจกรรมการพัฒนา IQ EQ เด็ก ๐ – ๕ ปี ( กิน กอด เล่น เล่า) ภายใต้โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว เพื่อพัฒนาคุณภาพแม่และเด็ก ๐–๕ ปีในพื้นที่ ๗๕ จังหวัด โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
๒๕๕๒: ได้รับการรับรองหลักสูตรการใช้คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-๕ ปี   จากกรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข
๒๕๕๒: โครงการส่งเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายในการดูแลผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาโดยใช้กระบวนการทางศิลปกรรม
การจัดโปรแกรมค่ายครอบครัวศิลปกรรมบำบัดแก่ผู้ปกครองและเครือข่ายนอกระบบ  การสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ  และร่างหลักสูตรศิลปกรรมบำบัดสำหรับผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา
๒๕๕๓: มูลนิธิออมสินเพื่อสังคม ให้การสนับสนุนทุนในการก่อสร้างอาคารเพื่อเป็นศูนย์สาธิตและเป็นแหล่งเรียนรู้   ฝึกปฏิบัติการผลิตเก้าอี้เปเปอร์มาเช่เพื่อเด็กพิการทางสมอง   โดยได้ส่งมอบอาคาร  “ออมสินรวมใจรักษ์”  ให้แก่สถาบันราชานุกูล  เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓  
๒๕๕๓: สถาบันราชานุกูลได้รับการรับรองจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓
 
นับจากอดีต....ถึงปัจจุบันสถาบันราชานุกูลได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างหลากหลาย  ตลอดจนมีการเจริญเติบโตในภารกิจที่เป็นงานสำคัญในระดับประเทศ   และมีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาในก้าวต่อไป นั่นคือ การเป็นศูนย์กลางวิชาการด้านพัฒนาการเด็กและสติปัญญา  โดยมีหน่วยบริการที่เป็นเลิศเฉพาะทางด้านส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิดถึง ๕ ปี  และเป็นศูนย์กลางของความเป็นเลิศทางพันธุศาสตร์ของโรคจิตเวช   ตลอดจนเป็นแรงผลักดันในการยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กพิการและด้อยโอกาสในสังคมไทยให้มีความเท่าเทียมกับอารยประเทศ    
 

 ยุค ๔

พ.ศ.๒๕๕๕ – ปัจจุบัน
สถาบันราชานุกูล
เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงตามบทบาทกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) และการเตรียมตัวก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
(ASEAN Community) รวมถึงทิศทางการปฏิรูปประเทศไทย ถึงแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (ด้าน
สาธารณสุข) “เป็นองค์หลักด้านสุขภาพ ที่รวมพลังสังคม เพื่อประชาชนสุขภาพดี”
  สถาบันราชานุกูลเป็นองค์กรหลักด้านพัฒนาสติปัญญาในระดับอาเซียน  เป็นผู้ชี้นำทิศทางงานด้านพัฒนาสติปัญญาของประเทศ โดยมีบทบาทเป็น Regulator และ Policy Advocacy  เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านพัฒนาสติปัญญาในระดับอาเซียน  เป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูลทางวิชาการและหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อการพัฒนางานด้านพัฒนาสติปัญญา
 
วิสัยทัศน์ ๒๕๖๗ (vision)  :
          “สถาบันราชานุกูลเป็นเลิศด้านภาวะบกพร่องทางสติปัญญา มีคุณภาพบริการในมาตรฐานระดับสากล”
 
พันธกิจ (mission) :
พัฒนาวิชาการและความเชี่ยวชาญเพื่อเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านภาวะบกพร่องทางสติปัญญาชั้นนำของประเทศ
ให้บริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่นแบบองค์รวมในระดับตติยภูมิขั้นสูงที่มีคุณภาพ
สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
 
ประเด็นยุทธศาสตร์ (strategic issue) :
สื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์
พัฒนาระบบสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่รองรับงานสุขภาพจิตในอนาคต
พัฒนาความเข้มแข็งเครือข่ายการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
พัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูงและมีความสุข 
 
เข็มมุ่ง : 
  "พัฒนาระบบเตรียมความพร้อมสู่การทำงานสำหรับผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา"
 
ค่านิยม (core value) :
    “มุ่งพัฒนาคุณภาพบริการ ทำงานเป็นทีม ยึดหลักคุณธรรม นำองค์กรสู่ความเป็นเลิศ”
 
ศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
Excellence Center for Intellectual Disability
1. มีบริการเฉพาะทางด้านภาวะบกพร่องทางสติปัญญาที่มีคุณภาพ 
2. เป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านภาวะบกพร่องทางสติปัญญา 
3. งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมด้านภาวะบกพร่องทางสติปัญญาได้รับการอ้างอิง 
4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านภาวะบกพร่องทางสติปัญญาได้รับการยอมรับและนำไปสู่การปฏิบัติในระดับประเทศ 
 
พร้อมก้าวสู่...สาธารณสุขไทย 4.0 
เดินหน้ายุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ e Health
กลยุทธ์ : ขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพและการใช้โปรแกรมประยุกต์ (Service and Applications) ในการให้บริการสุขภาพ (Health care Service Delivery) 
 
กิจกรรมและพัฒนาการที่สำคัญ
๒๕๕๖:  ความร่วมมือระหว่างกรมสุขภาพจิต ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (ส.ส.ค.) และ สถาบันราชานุกูล  หวังพัฒนา “เด็กไทย IQ เกิน ๑๐๐” จับมือพัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลเด็กเล็ก ๐-๕ ปี จาก “โรงหมอ” สู่ “โรงเรียน” ภายใต้กลไกแห่งการขับเคลื่อนโดยการส่งต่อข้อมูลและการให้บริการเด็กตั้งแต่แรกเกิดจากหน่วยงานสาธารณสุขไปสู่ภาคการศึกษาทั้งศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่นำร่องใน ๔ ภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดเชียงราย (อำเภอพญาเม็งรายและอำเภอเวียงชัย) , จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อำเภอท่าเรือและอำเภออุทัย) , จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอท่าตูมและปราสาท) , จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกระทู้) เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลเด็กที่มีประสิทธิภาพบนฐานข้อมูลรายบุคคล เด็กจะได้รับการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูพัฒนาการในช่วงวัยทองของชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต 
๒๕๕๖:    โครงการจัดบริการแก่เด็กบกพร่องทางพัฒนาการวัยแรกเกิด – ๕ ปี ในกรุงเทพมหานคร ปี ๒๕๕๖   เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๑ พรรษา และเพื่อให้เด็กวัยแรกเกิด – ๕ ปี ในกรุงเทพมหานคร ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ ทั่วทุกพื้นที่ รวมถึงให้ผู้ปกครองได้รับคำแนะนำในการดูแล ส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสม 
๒๕๕๗  โครงการพัฒนาระบบการดูแลระบบสุขภาพบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Special Olympics Health Communities Project) ด้วยความร่วมมือระหว่าง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ องค์กรยูนิเซฟประเทศไทย คณะกรรมการสเปเชียลแห่งประเทศไทย และสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
๒๕๕๘  ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ประธานในพิธีเปิดอาคารสำนักงานมูลนิธิเพื่อสถาบันราชานุกูลฯและศูนย์อาหารชัยโภชนา สถาบันราชานุกูล เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๘
๒๕๕๙  ได้รับรางวัล “World Autism Awareness Day 2015” และรับโล่ประกาศเกียรติคุณ “องค์กรคนพิการหรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับดีมาก ประจำปี ๒๕๕๘” จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 
๒๕๕๙  บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาในประเทศไทยระหว่างสถาบันราชานุกูล และ JICA-Kumamoto University 
๒๕๕๙  เปิดบริการคลินิกวอยตา (Vojta Therapy) ณ งานกายภาพบำบัด อาคารดรุณพัฒนา
๒๕๕๙  บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพเด็กพิการในชุมชนทั่วประเทศไทย” ระหว่าง กรมอานามัย กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมสุขภาพจิต สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และ สเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย
๒๕๖๐   รางวัล Golisano Global Health Leadership Award เป็นรางวัลสุขภาพระดับโลกของมูลนิธิโกลิซาโน่ที่มอบให้กับผู้นำด้านสาธารณสุขทั่วโลก ที่มีส่วนร่วมในการผลักดันและส่งเสริมความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้กับผู้พิการทางสติปัญญา นับเป็นรางวัลสูงสุดสำหรับพันธมิตรสุขภาพของสเปเชียลโอลิมปิคสากล โดย สถาบันราชานุกูลได้ขับเคลื่อนระบบการดูแลสุขภาพของผู้พิการทางสติปัญญา ด้วยการสร้างเครื่องมือคัดกรองสุขภาพ และขยายผลการดำเนินงานครอบคลุม ๒๐ โรงเรียนการศึกษาพิเศษทั่วประเทศไทย เปิดโอกาสให้นักเรียนผู้พิการทางสติปัญญาได้รับการคัดกรองมากกว่า ๕,๐๐๐ คน และพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากรสาธารณสุขกว่า ๑๔๐ คน เมื่อวันที่ ๑๙  มีนาคม ๒๕๖๐
๒๕๖๐  สถาบันราชานุกูล ร่วมกับ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดูแลทารกและแม่ซึมเศร้าหลังคลอด ใน ๖ จังหวัดนำร่อง ดำเนินโครงการบูรณาการเพื่อเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ดำเนินการระหว่างปี ๒๕๖๐-๒๕๖๑
๒๕๖๐  กรมสุขภาพจิตโดยสถาบันราชานุกูล ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังร่วมกับอีก 13 องค์กร และ IASSIDD จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ในระดับเอเชียแปซิฟิก 2017 IASSIDD 4th Asia-Pacific Regional Congress ส่งเสริมการวิจัยและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการดูแลผู้พิการทางสติปัญญา
 

ในปีปัจจุบัน
         ต่อมาในปี พ.ศ.2560 สถาบันราชานุกูลได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากรอบทิศทางการพัฒนางานสุขภาพจิตและแผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิต ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  (พ.ศ.2560-2564) 

๒๕๖๑ : พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาระหว่างสถาบันราชานุกูลและบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในงานวันดาวน์ซินโดรมโลกเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑ 
: ได้รับรางวัลเลิศรัฐประจำปี ๒๕๖๑ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทการพัฒนาการบริการ "ระดับดี" จากผลงานเรื่อง "ดูแลถึงบ้านบริการทุกมิติสำหรับผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา" จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
: ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ มาตรฐานองค์กรด้านคนพิการ ระดับดีมาก (มอพ. ๒๕๕๔) จาก พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในงานวันคนพิการสากล ประจำปี ๒๕๖๑

๒๕๖๒ : สถาบันราชานุกูล รับรางวัลเลิศรัฐประจำปี ๒๕๖๒ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทการพัฒนาการ ระดับดี ผลงานเรื่อง "การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้าในหน่วยบริการสาธารณสุข"
: พลเอกวันชัย เรืองตระกูล ประธานมูลนิธิเพื่อสถาบันราชานุกูล ในพระอุปถัมภ์ฯ เป็นประธานในพิธีเปิดหอผู้ป่วย ID ณ อาคารแก้วกัลยา ชั้น ๑ สถาบันราชานุกูล
: จัดการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรโครงการ พัฒนาเด็กไทย คิดเป็น คิดดี คิดให้ ด้วยสายใยผูกพัน โดยผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยครูพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตสุขภาพ รวมทั้งสิ้น ๑๓ แห่ง โดยหลังการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดและจัดกิจกรรมกับพ่อแม่ ผู้ปกครองและเด็กอายุ ๓-๕ ปี ในพื้นที่ได้

๒๕๖๓ : ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดตัวเฟชบุ๊คแฟนเพจ “ลูกเล่น by ราชานุกูล" เป็นช่องทางในการสื่อสารกับทีมสหวิชาชีพเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา แนะเคล็ดไม่ลับ พ่อแม่เล่นกับลูก เลี้ยงลูกให้เด็ก "คิดเป็น คิดดี คิดให้" ในงานวันเด็กแห่งชาติ สถาบันราชานุกูล  เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๓
: นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต มอบหมายให้เเพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล ร่วมมือกับเสถียรธรรมสถาน จัดอบรมหลักสูตร "ศิลปะการใช้ชีวิตด้วยลมหายใจแห่งสติ" สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ และพัฒนาเป็นหลักสูตรต้นแบบในการเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี สำหรับประชาชนทั่วไป

 


 
 

 วันนี้ 1,166
 เมื่อวาน 1,589
 สัปดาห์นี้ 6,018
 สัปดาห์ก่อน 17,407
 เดือนนี้ 42,735
 เดือนก่อน 65,202
 จำนวนผู้เข้าชม 835,386
  Your IP : 3.129.39.85