คู่มือการดูแลเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง_2553

          ปัจจุบันประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงที่คุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและเกิดจากน้ำมือมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเหตุการณ์รุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ได้แก่ ความหวาดกลัว ความวิตกกังวลความโศกเศร้าสูญเสีย อารมณ์เศร้า ภาวะเครียด ตื่นตระหนกตกใจง่าย ขาดสมาธิในการเรียน นอนไม่หลับ ฝันร้ายและปัญหาพฤติกรรม เป็นต้น ซึ่งผลกระทบดังกล่าวส่งผลให้การดำเนินชีวิตและพัฒนาการตามวัยของเด็กถูกรบกวนถ้าหากเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงแล้วไม่ได้รับการดูแลเยียวยาจิตใจอย่างเหมาะสม ก็จะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพจิตและโรคจิตเวชที่เรื้อรัง ได้แก่ โรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง(Post Traumatic Stress Disorder; PTSD) โรคซึมเศร้า (Depression Disorder) ความผิดปกติของการปรับตัว(Adjustment Disorder) โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ปัญหาพฤติกรรมก่อกวนหรือทำผิดกฎหมาย (Conduct Disorder) และการใช้สารเสพติด (Substance Used Disorder) ซึ่งภาวะดังกล่าวทำให้สูญเสียสุขภาวะของเด็กและวัยรุ่น และผลกระทบดังกล่าวข้างต้นยังคงดำเนินต่อเนื่องไปในวัยผู้ใหญ่
          เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชที่จะเกิดขึ้นตามหลังเหตุการณ์ความรุนแรงจึงควรมีการส่งเสริมให้เด็กและวัยรุ่นมีทักษะในการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ความรุนแรง เช่นการจัดการกับความทรงจำที่รบกวนจิตใจ (Intrusive memory) การจัดการกับสิ่งเร้าประสาทสัมผัส (Arousal) การจัดการกับพฤติกรรมหลีกเลี่ยง (Avoidance) รวมถึงกิจกรรมการนำครอบครัวมามีส่วนร่วมในการเยียวยาจิตใจเด็กและวัยรุ่น ดังนั้นจึงได้ถอดความและเรียบเรียงคู่มือการดูแลเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงจาก Workbook for the Children and Disaster Manual © Children and War Foundation, Bergen, Norway (2002) ซึ่งเขียนโดย Patrick Smith, William Yule (Institute of Psychiatry, London, England) และ Atle Dyregrove (Center for crisis psychology, Bergen, Norway) โดยได้รับอนุญาตจากศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Ceneter: ADPC) แล้ว คู่มือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุข บุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรผู้เกี่ยวข้องในการดูแลและเยียวยาจิตใจเด็กและวัยรุ่นสามารถนำกิจกรรมต่างๆ ไปใช้ในระบบการดูแลช่วยเหลือเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงต่อไป โดยเฉพาะเหตุกาณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้
          คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณผู้อำนวยการบริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชียที่ได้จัดอบรมการใช้คู่มือเล่มนี้ในประเทศไทยและอนุญาตให้ถอดความ เรียบเรียง และเผยแพร่ ขอขอบคุณ William Yule และ Atle Dyregrove ที่ได้มาอบรมการใช้คู่มือเล่ม ขอขอบคุณนายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต
และแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุรากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ให้การสนับสนุนในการจัดทำคู่มือเล่มนี้ ตลอดจนจัดอบรมการใช้คู่มือให้แก่เครือข่ายผู้ดูแลเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้
คณะผู้จัดทำ
สิงหาคม 2553

คู่มือการดูแลเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง.pdf

  View : 2.76K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 492
 เมื่อวาน 1,903
 สัปดาห์นี้ 12,613
 สัปดาห์ก่อน 13,308
 เดือนนี้ 52,800
 เดือนก่อน 52,950
 จำนวนผู้เข้าชม 612,096
  Your IP : 13.58.145.198