เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต การที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาและอารมณ์ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบันและอนาคต
ครอบครัวเป็นสังคมแรกที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด สภาพครอบครัวและการเลี้ยงดูมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางด้านไอคิวหรือความฉลาดทางสติปัญญา และอีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นฐานะ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว พฤติกรรมของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือคนรอบข้าง ลักษณะและวิธีการอบรมเลี้ยงดู ปัจจัยเหล่านี้สามารถส่งผลได้ทั้งด้านลบและบวก
การประชุมวิชาการ การพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551 เรื่อง "ไอคิว อีคิว ดีขึ้นแน่...ถ้าพ่อแม่พัฒนา" จึงเป็นโอกาสดีที่มีเวทีวิชาการในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยี เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และบุคลากรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย รวมถึงการสร้างความตระหนักของสังคมต่อการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยให้มีศักยภาพ และวุฒิภาวะทางอารมณ์ เป็นประชากรที่มีคุณภาพของสังคมไทยต่อไป
นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธ์ุ
อธิบดีกรมสุขภาพจิต 2551