CQI

สุขภาพดี ไม่มีขาย... อยากได้ ต้องทำเอง_2559

1. ชื่อผลงาน / โครงการพัฒนา 

1.1 สุขภาพดี ไม่มีขาย... อยากได้ ต้องทำเอง

1.2 Healthy, there are no sales would have to do yourself!

2. ชื่อหน่วยงาน/ทีม :  คณะกรรมการ HRD ร่วมกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลและฝ่ายโภชนาการ

3. ปีที่ดำเนินการ : 2559

4. คำสำคัญ  :  การสร้างเสริมสุขภาพ; สุขภาพดี (Health Promotion; Healthy)

5. เป้าหมาย :

           5.1 เพื่อลดจำนวนบุคลากรที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงและภาวะโภชนาการเกิน

           5.2 เพื่อสร้างเสริมการมีสุขภาพดีแก่บุคลากร

           5.3 เพื่อเพิ่มคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของบุคลากร

6. ปัญหาและสาเหตุ :

           การเป็นองค์กรสุขภาพดี (Healthy Organization) มี 2 องค์ประกอบ คือ องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) และคุณภาพชีวิตในการทำงาน หลักการสำคัญของการพัฒนาเป็นองค์กรแห่งความสุขได้นั้น ต้องมุ่งเน้นที่การสร้างสมดุล ต้องสอดคล้องเข้ากับองค์กร โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้จัดทำคู่มือ “ความสุข 8 ประการในการทำงาน (Happy 8)” เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความสุขในชีวิตของคนทำงาน ประกอบด้วย สุขภาพดี (Happy Body) น้ำใจงาม (Happy Heart) ทางสงบ (Happy Soul) ผ่อนคลาย (Happy Relax) หาความรู้ (Happy Brain) ปลอดหนี้ (Happy money) ครอบครัวดี (Happy Family) และสังคมดี (Happy Society) (ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์, 2551)

           สถาบันราชานุกูล เป็นหน่วยงานด้านสุขภาพหนึ่งที่นำแนวคิด “ความสุข 8 ประการในการทำงาน” มาบูรณาการเข้ากับแผนงาน/โครงการส่งเสริมความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 โดยจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตสำหรับบุคลากร กิจกรรมส่งเสริมความผูกพันของบุคลากร และในปีงบประมาณ 2557 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากร และกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านเศษรษฐกิจของบุคลากรด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น จากข้อมูลค่าเฉลี่ยความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร ปีงบประมาณ 2556 – 2558 พบว่า ค่าคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของบุคลากรเพิ่มขึ้น เมื่อพิจาณาด้านการสร้างเสริมสุขภาพบุคลากร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคนและองค์กรอยู่ตลอดเวลา การมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง จะสนับสนุนให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข จากข้อมูลสุขภาพบุคลากร ประจำปีงบประมาณ 2556 – 2558 พบว่า ในแต่ละปีบุคลากรมีปัญหาไขมันในเลือดสูง และภาวะโภชนาการเกิน (BMI >22.9) จำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 58.7 และร้อยละ 46.75 ของบุคลากรที่เข้ารับการตรวจสุขภาพทั้งหมด ปัจจัยสำคัญของปัญหาสุขภาพดังกล่าว คือ บุคลากรมีความรู้ แต่ขาดการปฏิบัติตัวอย่างต่อเนื่อง ขาดแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ขาดการมีส่วนร่วมในการวางแผน หรือเลือกวิธีการดูแลสุขภาพตนเอง เนื่องจากบุคลากรแต่ละคนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันและมีความชอบเป็นส่วนตัว (ข้อมูลจากการ HRD Quality Round, 2558) นอกจากนี้การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพบุคลากรมีการติดตาม แต่ขาดความอย่างต่อเนื่องและไม่ครอบคลุม ขาดการประเมินผลลัพธ์การดูแลสุขภาพอย่างชัดเจน และขาดแนวทางการสนับสนุนการจัดการสุขภาพด้วยตนเองของบุคลากร

           จากข้อมูลและประเด็นปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมด คณะกรรมการ HRD ร่วมกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลและฝ่ายโภชนาการได้ค้นหาโอกาสพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความพึงพอใจต่อการทำงานของบุคลากร ลดปัญหาสุขภาพที่สำคัญในบุคลากร โดยการสนับสนุนให้บุคลากรมีความสามารถในการจัดการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติของตนเอง นอกจากนี้ยังมีการสร้างแรงจูงใจ และการสนับสนุนจากคณะทำงานสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มบุคคลต้นแบบสุขภาพดี และตัวแบบ (Bandura, 1986) เพื่อลดปัญหาสุขภาพที่สำคัญของบุคลากร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและประสิทธิภาพในการทำงาน

 .....ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม....


สุขภาพดี ไม่มีขาย... อยากได้ ต้องทำเอง.pdf

  View : 6.50K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 1,240
 เมื่อวาน 1,469
 สัปดาห์นี้ 7,905
 สัปดาห์ก่อน 9,528
 เดือนนี้ 42,452
 เดือนก่อน 38,176
 จำนวนผู้เข้าชม 1,040,151
  Your IP : 18.217.248.230