1. ชื่อผลงาน / โครงการพัฒนา
1.1 ชื่อภาษาไทย.....หนูนิ่งเพราะสิ่งนี้.....
1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ.....Baulk helper Monitor blood pressure tool...
2. ชื่อหน่วยงาน / ทีม ......งานพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ......
3. ปีที่ดำเนินการ........2559..................
4. คำสำคัญ : เด็กบกพร่องทางสติปัญญา เด็กกลุ่มโรคออทิสติก การใช้ยา ภาวะสุขภาพ
5. เป้าหมาย : ระบุเป้าหมายของผลงานที่เป็นรูปธรรม เช่น
เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของค่าความดันโลหิตจากการวัดความดันโลหิตเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
6.ปัญหาและสาเหตุ :
งานพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ให้บริการดูแล ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ ตามมาตรฐานวิชาชีพและกลุ่มโรค อย่างถูกต้องรวดเร็ว และปลอดภัย แก่ผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา เพศชายและหญิง อายุ 5-18 ปี ทุกกลุ่มโรค ที่รับไว้เป็นผู้ป่วยในกลุ่มงานการศึกษาพิเศษ งานศิลปกรรมบำบัด และโครงการพัฒนาทักษะพื้นฐานการทำงานแก่เด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา(กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์)สถาบันราชานุกูล ตลอดจนให้คำปรึกษาและความรู้แก่ผู้ปกครองผู้บกพร่องฯที่มีปัญหาการดูแลด้านสุขภาพกายและจิต และให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพแก่บุคลากร กลุ่มงานการศึกษาพิเศษ งานศิลปกรรมบำบัด และกลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ เช่น การดูแลเด็กเมื่อเจ็บป่วย การติดตามอาการข้างเคียงจากการใช้ยา การดูแลเด็กที่มีอาการชัก ทั้งนี้การส่งเสริมสุขภาพเป็นผลให้ผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญามีสุขภาพอนามัยที่ดีส่งผลต่อภูมิต้านโรคที่เพิ่มขึ้น มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากการใช้ยา ซึ่งงานพยาบาลส่งเสริมสุขภาพได้ให้การดูแลภาวะสุขภาพและสุขภาพอนามัยแก่เด็กบกพร่องทางสติปัญญาของ 3 หน่วยงาน ทั้งสิ้น 105 คน ในจำนวนนี้ได้ดูแลเรื่องการได้รับยาและติดตามอาการข้างเคียงจากการใช้ยา จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 43.6 และเป็นเด็กที่ใช้ยาความเสี่ยงสูง (HAD) 10 คน คิดเป็นร้อยละ 21.74 เด็กที่ใช้ยาที่ต้องติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ADR) 19 คน คิดเป็นร้อยละ 41.31 และยาอื่นๆ 20 คน คิดเป็นร้อยละ 43.48 ซึ่งงานพยาบาลส่งเสริมสุขภาพได้ติดตามเฝ้าระวังอาการข้างเคียงจากการใช้ยาและประเมินใช้ยาความเสี่ยงสูง จากการประเมินอาการตามรายการในแบบประเมินที่ออกโดยคณะกรรมการ MMS ร่วมกับการวัดสัญญาณชีพ คือ วัดอุณหภูมิร่างกาย วัดความดันโลหิต จับชีพจรและอัตราการหายใจ โดยเฉพาะการวัดความดันโลหิตจะช่วยประเมินและเฝ้าระวังภาวะโลหิตต่ำในเด็กบกพร่องฯที่รับประทานยาเหล่านี้ ปัญหาที่พบ คือ การวัดความดันโลหิตเด็กกลุ่มที่รับประทานยาความเสี่ยงสูง (HAD) ยาที่ต้องติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ (ADR) และมีพฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง ปฏิบัติตามคำสั่งได้น้อย เมื่อวัดความดันโลหิตมักมีค่าความดันโลหิตคลาดเคลื่อน เนื่องจากเด็กอยู่ไม่นิ่งขยับตัว ขยับแขนขณะวัด และไม่เข้าใจต่อการปฏิบัติตัวขณะวัดความดันโลหิต ทั้งนี้ในการวัดความดันโลหิตเด็กที่มียารับประทานจำนวน 46 คน พบว่า มีเด็กที่มีค่าความดันโลหิตคลาดเคลื่อน จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 15.22 ในจำนวนนี้เป็นเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มโรคออทิสติก ASD มากที่สุดจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 71.43 รองลงมาคือโรค Intellectual Disability with Down Syndrome จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 14.29 และโรค Intellectual Disability with angelman Syndrome จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 14.29 ซึ่งหากวัดความดันโลหิตไม่ได้ หรือได้ค่าคลาดเคลื่อนก็จะส่งผลต่อการเฝ้าระวังอาการข้างเคียงจากการใช้ยา และภาวะเสี่ยงจากการใช้ยาความเสี่ยง ที่อาจให้การช่วยเหลือได้ไม่ทันท่วงที ประกอบกับเด็กไม่สามารถบอกถึงอาการผิดปกติของตนได้ จะยิ่งทำให้เกิดอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว งานพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจึงพัฒนาอุปกรณ์ช่วยวัดความดันโลหิต (Baulk helper Monitor blood pressure tool) และปรับปรุงขั้นตอนปฏิบัติในการวัดความดันโลหิตเด็กบกพร่องทางสติปัญญาขึ้น เพื่อให้การติดตามและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ และอาการข้างเคียงจากการใช้ยา และภาวะเสี่ยงจากการใช้ยาความเสี่ยงได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพที่จะส่งผลต่อความปลอดภัยของเด็กบกพร่องทางสติปัญญา