CQI

การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมค่ายสานสัมพันธ์เพื่อพัฒนาครอบครัวคนพิการทางสติปัญญาสำหรับวิทยากร_2559

 

1. ชื่อผลงาน / โครงการพัฒนา    การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมค่ายสานสัมพันธ์เพื่อพัฒนาครอบครัวคนพิการทางสติปัญญาสำหรับวิทยากร

2. ชื่อหน่วยงาน / ทีม ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการราชานุกูล(คลองกุ่ม)

3. ปีที่ดำเนินการ 2559

4. คำสำคัญ :

4.1 ค่ายสานสัมพันธ์เพื่อพัฒนาครอบครัวคนพิการทางสติปัญญา

5. เป้าหมาย :

      5.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของครอบครัวคนพิการทางสติปัญญา

      5.2 เพื่อเสริมพลังครอบครัวคนพิการทางสติปัญญา

      5.3 เพื่อสร้างและสนับสนุนเครือข่ายในการดูแลคนพิการทางสติปัญญาค่ายสานสัมพันธ์เพื่อพัฒนาครอบครัวคนพิการทางสติปัญญา

6. ปัญหาและสาเหตุ :

          การดูแลผู้พิการทางสติปัญญาเป็นภาระหนักของผู้ดูแล ส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ การที่บุคคลต้องรับภาระหนักเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดเป็นความเครียดเรื้อรังทำให้สภาพจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกแปรเปลี่ยนไปนอกจากนั้นยังทำให้ผู้ดูแลเกิดการสูญเสียพลังอำนาจ ( Powerlessness )  เนื่องจากการพิการทางสติปัญญา เป็นการเจ็บป่วยที่เรื้อรังและไร้ความสามารถ ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ไม่มีทางช่วยและหมดหวังรวมทั้งการเกิดภาวะพิการทางสติปัญญาขึ้นในครอบครัวยังเป็นมลทิน สิ่งเหล่านี้เป็นความซับซ้อนที่ก่อให้เกิดการสูญเสียพลังอำนาจ ( Parker, 1993 ) ทำให้ผู้ดูแลเกิดความเบื่อหน่าย เมื่อบุคคลมีความเบื่อหน่ายจะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และพฤติกรรม เช่นปวดศีรษะ รับประทานอาหารไม่ได้ วิตกกังวล ซึมเศร้า ความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจลดลงไม่พึงพอใจในบทบาทการดูแล จนกระทั่งเพิกเฉยต่อบทบาท หลีกเลี่ยงการดูแลผู้พิการทางสติปัญญา ภาวะสูญเสียพลังอำนาจหากไม่ได้รับการแก้ไข จะก่อให้เกิดผลเสียต่อ สภาพร่างกายและจิตใจ ทำให้มีการรับรู้คุณค่าในตนเองต่ำ ( Low self esteem )  ส่งผลให้มีการตอบสนองทางอารมณ์ในรูปแบบต่างๆ  เช่นโกรธ ก้าวร้าว วิตกกังวล ซึมเศร้าและอื่นๆซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมการการดูแลเด็กปัญญาอ่อนออกมาไม่เหมาะสมได้

          แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในปัจจุบัน เน้นการส่งเสริมให้ครอบครัว    เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล โดยรูปแบบการบริการจะส่งเสริมให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก มีศักยภาพในการดูแล โดยการให้ความรู้กับผู้ดูแล การเสริมสร้างทัศนคติ การเสริมสร้างพลังใจและแรงจูงใจ เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถดูแลและสอนเด็กได้ด้วยตนเอง

           กิจกรรมค่ายสานสัมพันธ์เพื่อพัฒนาครอบครัวคนพิการทางสติปัญญา เป็นกิจกรรมที่เข้าไปจัดกระทำกับสภาพปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งกิจกรรมจะไปตอบสนองต่อภาวะการสูญเสียพลังอำนาจ โดยแนวคิดที่เชื่อว่าการที่บุคคลจะสามารถดูแลผู้อื่นให้ดีได้ ตัวผู้ดูแลเองจะต้องมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ และมีดุลยภาพทั้งทางกาย ทางใจ และทางสังคมหากสภาพจิตใจของผู้ดูแลยังไม่พร้อม มีความเครียด ความเหน็ดเหนื่อย และท้อแท้ ขาดแรงจูงใจในการดูแล ประเมินค่าในตนเองต่ำ พฤติกรรมการดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญาก็จะออกมาในลักษณะปล่อยปละละเลย ไม่สนใจเด็ก อิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลมากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะสุขภาพจิต ( สมจิต  หนุเจริญกุล, 2537)  ซึ่งเหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นสิ่งที่มากระทบต่อแหล่งพลังอำนาจในตัวบุคคลทั้งสิ้นตามแนวคิดแหล่งพลังอำนาจของ (Miller, 1992)

 

.....ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม.....

 


การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมค่ายสานสัมพันธ์.pdf

  View : 1.97K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 709
 เมื่อวาน 1,469
 สัปดาห์นี้ 7,374
 สัปดาห์ก่อน 9,528
 เดือนนี้ 41,921
 เดือนก่อน 38,176
 จำนวนผู้เข้าชม 1,039,620
  Your IP : 3.145.40.61