ชุติวรรณ แก้วไสย

ชุติวรรณ แก้วไสย

ตำแหน่ง : นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายชำนาญการพิเศษ

ความเชี่ยวชาญตามวิชาชีพ : การฟื้นฟูสมรรถภาพ
ประสบการความเชียวชาญ : 20 ปี
ความสนใจด้านงานวิจัย :
พัฒนาการด้านภาษาและการพูด รูปแบบการบำบัดรักษาด้านการแก้ไขการพูด เครื่องมือประเมินความสามารถด้านภาษาและการพูด


งานวิจัยปัจจุบัน

1. การพัฒนาชุดคำศัพท์หลักสำหรับฝึกทักษะการสื่อสารในเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาระดับรุนแรง
2. การพัฒนาระบบหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติราชานุกูล : สำหรับผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางภาษาและการพูด


งานวิจัยที่ผ่านมา

1. Learning Performance of Mentally Retarded Children by Using Symbols in Augmentative and Alternative Communication System (ปี พ.ศ. 2547)
2. ผลของโปรแกรมเอ็มเอสทีที่มีต่อความสามารถด้านการสื่อความหมายของเด็กกลุ่มอาการความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน สถาบันราชานุกูล (ปี พ.ศ. 2554)
3. ประสิทธิผลของการฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในช่องปาก โดยใช้สื่อวีดีทัศน์ให้ผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา สถาบันราชานุกูล (ปี พ.ศ. 2559)
4. ผลการฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในช่องปากของผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาโดยผู้ปกครอง (ปี พ.ศ. 2560)


งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์

1. ชุติวรรณ แก้วไสยและเบญจวรรณ รัญเสวะ. (2555). ผลของโปรแกรมเอ็มเอสทีที่มีต่อความสามารถด้านการสื่อความหมายของเด็กออทิสติก สถาบันราชานุกูล. วารสารราชานุกูล ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2555.
2. ชุติวรรณ แก้วไสย. (2560). ผลของการฝึกกล้ามเนื้อในช่องปากของผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาโดยปกครอง. วารสารราชานุกูล ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2560.


งานวิจัยที่ได้นำเสนอในงานประชุมวิชาการ

1. ผลของการฝึกกล้ามเนื้อในช่องปากของผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาโดยปกครอง นำเสนอในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวช ครั้งที่ 16 และประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ครั้งที่ 14 วันที่ 2-4 สิงหาคม 2560
2. การทดลองใช้ A-Speak Mobile Application เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารของเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา นำเสนอใน
a. งานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 มหกรรมคุณภาพรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30 มหกรรมคุณภาพภาคราชการและโรงพยาบาล ประจำปี 2562 มหกรรมคุณภาพข้ามสายงาน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 22-26 และ 29 เมษายน 2562 ณ กระทรวงอุตสาหกรรม 2.
b. The 2nd East Asian Regional Conference on Augmentative and Alternative Communication “Uniting Local and International Perspectives” 16-17th November 2019, Taipei, Taiwan


การสอน บรรยาย สัมภาษณ์

วิทยากรบรรยายในหลักสูตรการฝึกภาคปฏิบัติการกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาและการพูดเบื้องต้นสำหรับเด็กพูดช้า

ประวัติการศึกษา

ปี พ.ศ. 2538

ระดับการศึกษา ปริญญาตรี
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คุณวุฒิ วิทยาศาสตร์บัณฑิต
สาขา กิจกรรมบำบัด

ปี พ.ศ. 2547

ระดับการศึกษา ปริญญาโท
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
คุณวุฒิ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขา ความผิดปกติของการสื่อความหมาย

ประวัติการทำงาน

ปี พ.ศ. 2538-2547

หน่วยงาน กลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพ สถาบันราชานุกูล
ตำแหน่ง นักกิจกรรมบำบัด

ปี พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน

หน่วยงาน กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู สถาบันราชานุกูล
ตำแหน่ง นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย (แก้ไขการพูด)


 วันนี้ 541
 เมื่อวาน 1,846
 สัปดาห์นี้ 9,041
 สัปดาห์ก่อน 17,407
 เดือนนี้ 45,758
 เดือนก่อน 65,202
 จำนวนผู้เข้าชม 838,409
  Your IP : 3.144.96.108