กรมสุขภาพจิต ย้ำ คนรอบข้างต้องช่วยกันสอดส่องดูแลพ่อแม่เด็กพิเศษ

 
นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีแม่ทำร้ายลูกออทิสติกจนเสียชีวิต ว่า ผู้เป็นแม่อาจมีภาวะเครียดสะสม เนื่องจากปัญหาต่างๆ รุมเร้า เลี้ยงลูกที่มีอาการออทิสติกเพียงลำพัง ทั้งนี้ ไม่ว่าใครก็ตามที่มีลูกเจ็บไข้ได้ป่วยย่อมมีความวิตกกังวลเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะในรายที่มีลูกเป็นออทิสติกเท่านั้น อย่างไร ก็ตามขอย้ำว่า ออทิสติก รักษาเร็ว ได้ผลเร็ว เจอตอนอายุน้อยเท่าไร และได้รับการรักษาดูแลได้เร็ว ก็จะมีโอกาสที่จะดีขึ้นได้ และต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แม้ไม่หายขาดแต่เด็กจะมีพัฒนาการด้านต่างๆ ดีขึ้น ช่วยเหลือตนเองได้ เข้าโรงเรียนได้ตามวัย ตลอดจน การเปิดใจยอมรับของครอบครัวที่ไม่มองเด็กออทิสติกว่าเป็นส่วนเกินของครอบครัว และสังคม พร้อมจะทุ่มเท และสู้ไปด้วยกัน ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้เด็กออทิสติกมีโอกาสในการรักษา และสร้างพื้นที่ในสังคมเพิ่มขึ้น สัญญาณเตือน ได้แก่ “ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว” 
ทั้งนี้ ได้มีนโยบาย ให้ทุกหน่วยบริการของกรมสุขภาพจิตต้องดูแลกลุ่มเด็กพิเศษ เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลแบบใกล้บ้าน ใกล้ใจ รวมทั้ง ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่พ่อแม่และคนรอบตัวเด็ก ตลอดจนส่งเสริมการเข้าสู่ระบบการคัดกรอง กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่ ช่วงอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน มีการจัดอบรมให้กับบุคลากรสาธารณสุขระดับ รพช./รพท./รพศ/สถาบันฯ ทั้ง แพทย์ กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก พยาบาลวิชาชีพ นักจิตวิทยา  นักกิจกรรมบำบัด ทั่วประเทศ เพื่อรองรับระบบการส่งต่อ ทำให้เกิดเชื่อมโยงทั้งด้านส่งเสริม ป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ด้าน พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวเสริมว่า แม้จะมีลูกที่มีความพิการหรือบกพร่องทางสติปัญญา หรือแตกต่างจากเด็กอื่น แต่หากตั้งหลักดีๆ จะรู้ว่าพวกเขาก็เป็นของขวัญที่ดีในชีวิตเช่นกัน พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจตัวโรค และการเปลี่ยนแปลงพัฒนาที่ดีในลูกให้ได้ แม้ว่าจะไม่เหมือนเด็กทั่วไป แต่เขาก็มีความพิเศษ มีความน่ารัก ทั้งนี้ สำหรับพ่อแม่ “สติ”ยังมีความสำคัญ ขอให้ใช้สติในการแก้ปัญหาตามลำดับความสำคัญ ซึ่งอยากวิงวอนให้ทุกครอบครัวที่มีลูกหลานเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษช่วยกันดูแลจิตใจซึ่งกันและกันและประคับประคองกันไป เพื่อให้ปัญหาที่หนักเป็นเบาได้ ส่วนที่เกี่ยวข้องทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ก็ควรสนับสนุนและให้ความเข้าใจเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน สามารถโทรมาปรึกษาได้ที่สายด่วน 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือขอเข้ารับบริการได้ที่ สถาบันราชานุกูล โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ และสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่
 
ข่าวเผยแพร่ทางสื่อมวลชน
 
1. วันที่ 13 กันยายน 2560 "การุณยฆาตลูกออทิสติก!" ไทยโพสต์ออนไลน์ Link : http://www.thaipost.net/?q=node/35376 
 
2. วันที่ 13 กันยายน 2560 "การุณยฆาตลูกออทิสติก พบแม่ฆ่าลูกป่วยเป็นโรคประสาท" หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
 
3. วันที่ 13 กันยายน 2560  "จิตแพทย์"ห่วงแม่เลี้ยงลูก'ออทิสติก'ส่งแพทย์ดูใกล้ชิด" เดลินิวส์ออนไลน์  Link : https://www.dailynews.co.th/politics/597809
 
4. วันที่ 13 กันยายน 2560 "ส่งจิตแพทย์ดูแลแม่ลงมือฆ่าลูกออทิสติกใกล้ชิด" คมชัดลึกออนไลน์  Link : http://www.komchadluek.net/news/edu-health/295326
 
5.  วันที่ 13 กันยายน 2560  "4 กลไกออทิสติกโรดแมพ เพิ่มโอกาสให้ที่ยืนในสังคม"  หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
 
6. วันที่ 13 กันยายน 2560 "สลดแม่ฆ่าลูกสาวออทิสติก วัย 15 รันทด ชีวิต กินยาตายตามไม่สำเร็จ" หนังสือพิมพ์มติชน
 
7. วันที่ 14 กันยายน 2560 "4 กลไก ออทิสติกโรดแมพเพิ่มที่ยืนเด็กพิเศษในสังคม" หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
 
8.วันที่ 14 กันยายน 2560 "ส่งจิตแพทย์เฝ้าประกบแม่จำใจฆ่าลูก"  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
 
9. วันที่ 12 กันยายน 2560 ออกอากาศทางรายการ ห้องข่าว NBT 
 
10. วันที่ 15 กันยายน 2560 ออกอากาศทาง MONO29 รายการเจาะข่าวเด็ด "ถอดบทเรียนเลี้ยงเด็กออทิสติก" 
 
11. วันที่ื16 กันยายน 2560 "แม่เด็กวิงวอนรัฐช่วยใส่ใจเด็กพิเศษ" หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
 
12. วันที่ 16 กันยายน 2560  "กรมสุขภาพจิตแนะวิธีดูแลเด็กพิเศษ เปิดใจยอมรับ อย่ามองเป็นส่วนเกิน" หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
 
 

 

 
 
 
 

13กย60 การุณยฆาตลูกออทิสติก พบแม่ฆ่าลูกป่วยเป็นโรคประสาท นสพ.ไทยโพสต์ .pdf
13กย60 4กลไกออทิสติกโรดแมพ เพิ่มโอกาสให้ที่ยืนในสังคม นสพ.คมชัดลึก.pdf
13กย60 สลดแม่ฆ่าลูกสาวออทิสติก วัย 15 รันทด ชีวิต กินยาตายตามไม่สำเร็จ มติชน.pdf
14 กย 60 4 กลไก ออทิสติกโรดแมพ เพิ่มที่ยืน เด็กพิเศษ ในสังคม กรุงเทพธุรกิจ.pdf
14 กย 60 ส่งจิตแพทย์เฝ้าประกบแม่จำใจฆ่าลูก เดลินิวส์.pdf
16 กย 60 เดลินิวส์ แม่เด็กวิงวอนรัฐ ช่วยใส่ใจเด็กพิเศษ.pdf
16 กย 60 กรมสุขภาพจิตแนะวิธีดูแล เด็กพิเศษ เปิดใจยอมรับ อย่ามองเป็นส่วนเกิน.pdf

  View : 3.56K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 854
 เมื่อวาน 1,376
 สัปดาห์นี้ 6,877
 สัปดาห์ก่อน 6,556
 เดือนนี้ 23,518
 เดือนก่อน 57,053
 จำนวนผู้เข้าชม 872,686
  Your IP : 18.218.250.241