กรมสุขภาพจิต เผยรัก คือความรู้สึกในใจที่ พ่อ-ลูก อยากบอกกันมากที่สุด

รวบรวมข้อมูลโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี

         นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในอดีตเรามักให้ความสำคัญและวางบทบาทการเลี้ยงลูกไว้กับแม่ ในขณะที่พ่อถูกวางบทบาทให้เป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องทำมาหากิน หาเงินมาเลี้ยงดูคนในครอบครัวทำให้ความเป็นพ่อลูกมีระยะห่าง ลูกขาดความใกล้ชิดกับพ่อ แต่ในปัจจุบันรูปแบบของครอบครัวเปลี่ยนไป ทั้งพ่อและแม่ต้องทำงานนอกบ้านบทบาทการเลี้ยงดูลูกจึงไม่ใช่เป็นบทบาทของใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งพัฒนาการด้านจริยธรรมครอบครัว พบว่าครอบครัวที่พ่อช่วยเลี้ยงลูก จะทำให้ลูกมีความสามารถในการควบคุมและยับยั้งชั่งใจตนเองได้ดีกว่าครอบครัวที่พ่อไม่มีส่วนช่วยในการเลี้ยงดูลูก
       อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า เวลาแม้เพียงน้อยนิดของพ่อที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับลูกตั้งแต่วัยเด็ก จะช่วยให้เกิดเติบโตได้อย่างสมวัยทั้งร่างกายและจิตใจ จะช่วยให้เด็กเติบโตได้อย่างสมวัยทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถผ่านพ้นและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัย จนเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และพฤติกรรมที่เหมาะสม มีสุขภาพจิตดีตลอดไปได้ เนื่องจาก ลูกอายุ 1-3 ขวบ ถือเป็นช่วงที่มีความสำคัญในด้านความรัก ความอบอุ่น ขณะที่ช่วง 3-5 ขวบ เป็นช่วงแห่งการเรียนรู้ พ่อจึงเป็นแบบอย่างสำหรับลูกย่อมทำให้ลูกเกิดความไว้วางใจ เมื่อมีปัญหาก็จะมาปรึกษา ความรัก ความผูกพันในครอบครัว จึงเป็นรากฐานสำคัญของความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และความรู้สึกมีคุณค่าในเด็ก ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชายซึ่งเป็นเพศชายในลูกชาย และเป็นต้นแบบให้ลูกสาวเรียนรู้จากพ่อในการปรับตัวเข้ากับเพศตรงข้ามได้ดี
          อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ความรักความพูกพันที่ดีของพ่อจะส่งผลต่อลูกสาวและลูกชายโดยจะส่งผลให้ลูกสาวมีสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาสูงรู้สึกดีต่อตนเอง รู้จักยืนหยัดโดยไม่จำเป็นต้องก้าวร้าว รู้สึกมั่นใจในความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับเพศตรงข้ามมีความมั่นใจในตนเองและมีโอกาสประสบความสำเร้จในอนาคต ส่วนลูกชายจะส่งผลให้พวกเขา รู้จักบทบาทหน้าที่ที่พึงกระทำในครอบครัว มีภาวะผู้นำที่ดีสร้างวินัยและปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นในสังคมได้ดี มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ มีความเข้าใจในเรื่องเพศที่ดี วางตัวเหมาะสม มีความเป็นสุขภาบุรุษมีความมั่งใจในตนเอง มีความกล้าหาญในการช่วยเหลือผู้อื่นและทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม
         อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้แนะแนวทางการเป็นแบบอย่างของพ่อให้ลูก ได้แก่ 1. มีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูก 2. สอนสิ่งใหม่ๆให้กับลูก เพื่อให้ลูกมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น เช่นทักษะการกีฬา ขี่จักรยาน ล้างรถ ปลูกต้นไม้ ซ่อมแซมของใช้ เป็นต้น 3.สอนการบ้านและใช้เวลาใกล้ชิดลูก สอนให้ลูกรู้จักการคิดแก้ปัญหาโจทย์ สร้างบรรยากาศในการทำการบ้านให้มีความสุข ฟังความทุกข์ใจของลูก ปรับบทบาทให้เป็นเพื่อนกับลูก ชื่นชมเมื่อลูกคิดหรือทำงานได้สำเร็จ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจและความไว้วางใจให้กับลูก เมื่อเติบโตขึ้จะทำให้เป็นคนมองโลกในแง่ดี รู้จัดคิดแก้ปัญหาในชีวิตได้ดี 4.ให้เวลาสนุกสนานกับลูก ทำกิจกรรมร่วมกัน สำหรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงมีวันหยุดหลายวัน จึงเป็นโอกาสดีที่พ่อลูกและครอบครัวจะใช้เวลาอยู่ด้วยกันอย่างมีคุณค่า มีช่วงที่ดีแบ่งปันความสนุกสนานซึ่งกันและกัน หรือการทำกิจกรรมที่ท้าทายร่วมกัน เช่น การปีนต้นไม้ เดินป่า นอนเต้นท์ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ลูกมีความกล้าในการแสดงออกกล้าที่จะเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเติบโตได้ดีและ 5. เป็นแบบอย่างของความกตัญญู พาลูกไปเยี่ยมและดูแลญาติผู้ใหญ่ ปู่ย่าตายาย ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคล และดูแลญาติผู้ใหญ่ ปู่ย่าตายาย ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคล และดูแลเมื่อยมมเจ็บไข้ รวมถึงการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของการรู้จักตอบแทนบุญคุณผู้มีพระคุณคนอื่นๆ ซึ่งการทำตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นยอมเป็นการสอนที่ดีกว่าการใช้คำพูด
        ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิต ได้สอบถามความคิดเห็นประชาชน อายุระหว่าง 8-79 ปี ในเขต กทม. และปริมณฑล จำนวน 400 ตัวอย่าง เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธ.ค. 2557 เรื่อง "สิ่งที่พ่อกับลูก อยากจะบอกกัน" ทำการสำรวจ ระหว่างวันที่ 17-21 พ.ย. 2557 พบว่า สิ่งที่ลูกอยากบอกกับพ่อมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ รักพ่อมากที่สุด ร้อยละ 67.50 รองลงมา คือ อยากบอกให้พ่อดูแลสุขภาพให้มากขึ้น ร้อยละ 9.25 และอยากบอกขอบคุณพ่อสำหรับทุกอย่างที่ทำเพื่อลูก ร้อยละ 3.75 เช่นเดียวกับสิ่งที่พ่ออยากบอกกับลูกมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ อยากบอกว่ารักลูก ร้อยละ 55.46 รองลงมาคือ อยากบอกลูกว่าขอให้ลูกเป็นคนดี ร้อยละ 21.94 และอยากบอกลูกว่า ลูก คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดของพ่อแม่ ร้อยละ 7.74
         หากพ่อลูกผูกพันสร้างสัมพันธ์กันมากขึ้นมีการสื่อสาร พูดบอกความรู้สึกของตังเองอย่างแท้จริงได้ทุกวันไม่ใช้เฉพาะวันพ่อ เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ย่อมสร้างความเข้าใจ ความรัก ความผูกพัน ปรับเปลี่ยนสิ่งที่ทั้งลูกและพ่อเห็นว่าไม่ดีให้ผ่านพ้นไปกับปีเก่า และหันมาทำสิ่งดีๆ ให้กันในวันปีใหม่ พ่อ-ลูก ก็มีความสุข ครอบครัวย่อมีความสุข


ไทยโพสต์


  View : 2.46K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 1,073
 เมื่อวาน 1,376
 สัปดาห์นี้ 7,096
 สัปดาห์ก่อน 6,556
 เดือนนี้ 23,737
 เดือนก่อน 57,053
 จำนวนผู้เข้าชม 872,905
  Your IP : 3.149.27.153