สถาบันราชานุกูล ร่วมมือกับ 6 ภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “2023 Walk & Run for Down Syndrome" หรือ "เดิน-วิ่ง ไปกับ เราเพื่อเด็กกลุ่มอาการดาวน์

วันนี้ (12 มีนาคม 2566) สถาบันราชานุกูล ร่วมกับ มูลนิธิ Five For All, มูลนิธิดาวน์ซินโดรมแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ปกครองบุคคลดาวน์ซินโดรมแห่งประเทศไทย, สมาคมคนพิการทางปัญญาแห่งประเทศไทย, มูลนิธิคุ้มเกล้าเยาวชนสร้างชาติ และ กรุงเทพมหานคร จัดงาน "เดิน-วิ่ง ไปกับเรา เพื่อเด็กกลุ่มอาการดาวน์ (2023 Walk & Run for Down Syndrome)"ณ ศาลาภิรมย์ภักดี สวนลุมพินี เนื่องในวันดาวน์ซินโดรมโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี
 
ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวต้อนรับ และ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเปิดงานเดิน-วิ่ง พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายร่วมกล่าวประกาศเจตนารมย์ ได้แก่ อาจารย์ปรเทพ สุจริตกุล สว.สมชาย แสวงการ ดร.ชนัญกร สุวรรณชื่น ดร.ณิชาภา สิงห์ณรงค์ และศิลปินรับเชิญ คุณชัชชัย สุขขาวดี (หรั่ง ออเคสตร้า) ร้องเพลง เงา(วิ่ง) เพื่อปล่อยตัวนักวิ่ง
 
โดยมีพิธีกรรับเชิญ คุณวสุ - พริมรตา แสงสิงแก้ว พร้อมด้วยคุณศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง และร่วมด้วยศิลปินดาราในสังกัดช่อง ONE31 และ ช่อง Workpoint 
 
ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรม เดิน-วิ่ง เป็นระยะทาง 1.5 กิโลเมตร, บูธกิจกรรมสร้างเสริมความสุขและส่งเสริมพัฒนาการ "Love to Down's" ได้แก่ บูธแต้มสี เติมรัก, ปลูกผัก ปลูกใจ by บางพูนโมเดล, เรียนเล่นกับเด็กพิเศษ และ เล่นแปลงร่าง พร้อมด้วยนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับดาวน์ซินโดรม จากสถาบันราชานุกูล และ การแสดงดนตรีในสวน จาก เด็กๆ กลุ่มอาการดาวน์ ร่วมกับ ศิลปิน, ดารา และ เยาวชนจิตอาสา
 
การจัดงานวิ่งในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในสังคม ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการเปิดโอกาสทางสังคมให้กับเด็กกลุ่มอาการดาวน์และผู้บกพร่องทางด้านต่างๆ เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมและมีความสุข
 
              
----------------------------------------------------------------------
 
กรมสุขภาพจิตจับมือภาคีเครือข่ายสร้างเด็กและเยาวชนสู่ความเท่าเทียมกันในสังคมร่วมรณรงค์สร้างความเข้าใจกลุ่มอาการดาวน์
 
สถาบันราชานุกูล ร่วมมือกับ 6 ภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “2023 Walk & Run for Down Syndrome" หรือ "เดิน-วิ่ง ไปกับ เราเพื่อเด็กกลุ่มอาการดาวน์" ได้แก่ มูลนิธิ Five For All, มูลนิธิดาวน์ซินโดรมประเทศไทย, สมาคมผู้ปกครองบุคคลดาวน์ซินโดรมประเทศไทย, สมาคมกีฬาคนพิการทางปัญญาแห่งประเทศไทย, มูลนิธิคุ้มเกล้าเยาวชนคนสร้างชาติ และกรุงเทพมหานคร ณ สวนลุมพินี โดยเชิญชวนครอบครัวเด็กกลุ่มอาการดาวน์ เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในสังคม ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการเปิดโอกาสทางสังคมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่าง เท่าเทียมและมีความสุขโดยเป็นกิจกรรมการเดิน-วิ่งเป็นระยะทาง 1.5 กิโลเมตรพร้อมกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนศิลปินดาราร่วมสนับสนุน งานมากมาย สร้างความบันเทิงและขวัญกําลังใจแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กกลุ่มอาการดาวน์กับบรรยากาศดนตรีในสวนและบูธกิจกรรมสาธิตการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กแก่ผู้ร่วมงาน
 
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจาก ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 โดยพบว่าในหญิงตั้งครรภ์ 800-1,000 ราย มีโอกาสพบเด็กกลุ่มอาการดาวน์ 1 ราย ซึ่งในประเทศไทยมีเด็กดาวน์เกิดใหม่ ปีละประมาณ 1,150 ราย และเด็กกลุ่มอาการดาวน์ส่วนใหญ่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เนื่องจากความ พิการแต่กําเนิดของหัวใจ ระบบโลหิต ระบบทางเดินหายใจ การได้ยิน การมองเห็นและระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น การดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์ จึงต้องได้รับการวางแผนระยะยาวโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทั้งครอบครัวสถานพยาบาลและสังคมทั้งในด้านการรักษาพยาบาลการเลี้ยงดูตลอดจน การกระตุ้นพัฒนาการในด้านต่างๆ
 
แพทย์หญิงอัมพร กล่าวต่ออีกว่า ภาพความเข้าใจของสังคมเกี่ยวกับเด็กกลุ่มอาการดาวน์โดยส่วนใหญ่ยังเป็นภาพของเด็กกลุ่มที่ดูแลตัวเองไม่ได้และต้องได้รับการดูแลอย่างประคบประหงมตลอดชีวิต แต่อันที่จริงแล้วเด็กกลุ่มนี้ หากได้เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขและได้รับการกระตุ้น พัฒนาการตั้งแต่แรกเริ่มจะพบว่าหลายรายที่ฉายแววความสามารถพิเศษด้านดนตรี ศิลปะ สามารถประกอบอาชีพ ตลอดจนสามารถดํารงชีวิตอย่าง อิสระด้วยตนเองได้ สถาบันราชานุกูล เป็นองค์กรหลักในการให้การดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์ตั้งแต่อายุ 0-18 ปี ทั้งในรูปแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ซึ่งเป็นระบบการดูแลเฉพาะทางตั้งแต่การกระตุ้นพัฒนาการและการฝึกการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจําวัน ตามวัย ฟื้นฟูทางด้านการศึกษาและอาชีพ ตลอดจนโครงการจ้างงานเพื่อฝึกทักษะในการประกอบอาชีพและยังเป็นเวทีในการเปิดโอกาสในเด็กกลุ่มอาการดาวน์ได้แสดงความสามารถพิเศษต่างๆ เพื่อเปลี่ยนภาพในอดีตไปเป็นมุมมองเชิงบวกต่อการรับรู้ถึงความสามารถที่เท่าเทียมบุคคลอื่นๆ ทั่วไป และสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาความสัมพันธ์ของครอบครัว สังคมและประเทศชาติได้อย่างน่าชื่นชม
 
ด้านแพทย์หญิงนพวรรณ ศรีวงค์พานิช ผู้อํานวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวว่า การจัดงานรณรงค์เนื่องในวันดาวน์ซินโดรมโลกในปีนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภาวะดาวน์ซินโดรม ทั้งในระดับผู้ปกครอง บุคลากรทางการแพทย์ ครู รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทําให้ทุกภาคส่วนได้มองเห็นถึงศักยภาพของบุคคลที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมที่แม้จะมีข้อจํากัดด้านสุขภาพกายหลาย ประการ แต่เป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่เข้าถึงง่าย อารมณ์ดี และมีท่าทีที่เป็นมิตร หากได้เข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขตามที่ภาครัฐได้จัดสรรให้ และได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียนด้วยการเรียนร่วมเพื่อฝึกทักษะทางสังคมตามวัยและสังคมปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้อย่างเหมาะสมพร้อมเปิดโอกาส ให้บุคคลเหล่านี้ได้ใช้ชีวิตอิสระตามศักยภาพรวมทั้งได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ตลอดจนการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองจะทําให้ พวกเขาสามารถใช้ชีวิตและดูแลตนเองได้ และเป็นภาระต่อสังคมน้อยที่สุด และสังคมไทยจะเป็นสังคมที่เป็นมิตรต่อกันและน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
 
งานวันดาวน์ซินโดรมโลกที่จัดขึ้นในปีนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรม Run for Fun เพื่อให้สังคมได้มองเห็นว่าบคุคลกลุ่มอาการดาวน์ สามารถก้าวข้ามข้อจํากัดด้านภาวะสุขภาพ เพื่อทํากิจกรรมที่ส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ไปพร้อมกับความสนุกสนานและการสานสัมพันธ์ ระหว่างครอบครัวและบุคคลอื่นรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 


2023 Walk & Run for Down Syndrome.pdf
Poster 2023 Walk & Run for Down Syndrome.jpg
Rajanukul News 2023 Walk & Run for Down Syndrome.pdf

  View : 1.29K

Tags: #เดินวิ่งไปกับเราเพื่อเด็กกลุ่มอาการดาวน์ #2023WalkandRunforDownSyndrome #วันดาวน์ซินโดรมโลก


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 1,873
 เมื่อวาน 1,949
 สัปดาห์นี้ 3,871
 สัปดาห์ก่อน 13,224
 เดือนนี้ 23,278
 เดือนก่อน 65,202
 จำนวนผู้เข้าชม 815,929
  Your IP : 66.249.71.205