รวบรวมข้อมูลโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี
เชื่อว่า คุณแม่หลายๆ ท่านคงประสบปัญหาภาวะท้องผูกสําหรับลูกสุดที่รักอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นปัญหาที่ทรมานจิตใจคุณแม่มาก เพราะเด็กจะร้องไห้ อึดอัด หงุดหงิดร้องไห้เวลาเบ่งแล้วไม่ออก
ภาวะท้องผูกเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก โดยพบประมาณ 5–10% ของอาการท้องผูกแบบกะทันหัน มักมีสาเหตุจากโรคทางกาย แต่ในรายที่มีอาการค่อยเป็นค่อยไปแบบเรื้อรังมักไม่ใช่สาเหตุจากโรคทางกายที่ร้ายแรง ดังนั้น การรักษาจึงเน้นการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นปัญหาเรื้อรังได้
ท้องผูกมีอาการอย่างไร
- ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- ถ่ายอุจจาระลําบาก ต้องเบ่งนานๆ
- อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กก้อนน้อยเหมือนขี้แพะ
- อาจมีอาการปวดบริเวณทวารหนัก หรือบางครั้งมีเลือดปนออกมาด้วยนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อน ทําให้มีบาดแผลที่ทวารหนัก เมื่อเด็กเจ็บเวลาถ่าย เด็กจะกลั้นอุจจาระมากขึ้น
ปกติเด็กถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน …ความถี่ในการถ่ายอุจจาระของเด็กปกติจะแปรเปลี่ยนไปตามอายุ
- เด็กแรกเกิดอาจถ่ายมากกว่า 4 ครั้ง ใน 1 วัน เด็กที่กินนมแม่ อุจจาระจะมีลักษณะนิ่ม เละ สีเหลืองทอง ถ้ากินนมผสมจะถ่ายเป็นลํายาวนิ่มสีเขียวเทาๆ
- อายุ 4 เดือน อาจลดลงมาเหลือ 2 ครั้ง ใน 1 วัน
- เด็กอายุ 4 ขวบขึ้นไป อาจถ่ายวันละ 1 ครั้ง
แนวทางปฏิบัติเพื่อลดอาการท้องผูกในเด็ก
1. กระตุ้นให้เด็กรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยมากขึ้น เช่น มะละกอ กล้วย ส้ม เพราะใยอาหารจะช่วยเพิ่มกากอาหาร หรือปริมาณเนื้ออุจจาระและอุ้มน้ํา ทําให้อุจจาระอ่อนตัวขับถ่ายได้สะดวกขึ้น รวมทั้งดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
2. ฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน โดยฝึกการรับประทานอาหารเมื่อท้องอิ่มจะกระตุ้นลําไส้ให้อยากถ่ายอุจจาระตามธรรมชาติ สําหรับเด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป ควรฝึกนั่งกระโถนหรือชักโครก โดยให้เท้าวางกับพื้นได้อย่างมั่นคง ผู้ปกครองควรจะอยู่ใกล้ๆ ไม่ควรดุ หรือทําโทษ เพราะจะทําให้เด็กเครียด มีความรู้สึกไม่ดีกับการขับถ่าย ให้คําชมเมื่อเด็กปฏิบัติได้ดีทุกครั้งที่รู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ ให้ถ่ายทุกครั้ง ไม่ควรกลั้นอุจจาระไว้
3. ใช้ยาระบายในกรณีที่การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการฝึกขับถ่ายไม่ได้ผล ซึ่งการใช้ยาดังกล่าวนี้จะต้องได้รับคําแนะจากแพทย์เท่านั้น
อาหารสําหรับเด็กเล็ก คือ ให้นมตามปกติ สําหรับทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไปควรผสมผักสับตุ๋นในข้าวบดละเอียด และควรเพิ่มน้ําผลไม้ โดยใช้น้ําลูกพรุนสกัดเจือจางด้วยน้ําต้มสุกอย่างละเท่าๆ กัน ค่อยๆ ป้อนทีละน้อยเริ่มจาก 15-20 ซีซี วันละครั้ง และเพิ่มปริมาณได้ตามต้องการหากขับถ่ายผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
โดย พญ.สุพร ตรีพงษ์กรุณา กุมารเวช โรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
ที่มา : เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์