“ไอกรน” พบมากในเด็ก โดยเฉพาะหน้าฝน

เผยแพร่โดย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี
 
 
       นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์เผย “ไอกรน” เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและพบมากในเด็ก โดยเฉพาะหน้าฝน
ไอกรน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ติดต่อกันได้จากไอ จาม และสัมผัสเชื้อโดยตรงจากผู้ป่วย ซึ่งผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันมีโอกาสเป็นถึง 90% สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี ศึกษาพบว่าผู้ป่วยเด็กที่ไอติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน แต่ไม่ได้เป็นวัณโรคและโรคหืด ตรวจพบเชื้อไอกรนถึง 19%
       ระยะฟักตัวของโรค 6-20 วัน หากสัมผัสเชื้อเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ แสดงว่าไม่ติดโรค อาการมี 3 ระยะคือ ระยะแรก น้ำมูกไหล ไอเล็กน้อยคล้ายหวัดธรรมดา อาจมีไข้ต่ำๆ เป็นอยู่ 1-2 สัปดาห์ ระยะที่สอง เริ่มไอถี่ๆ รุนแรงติดต่อกัน5 ครั้งขึ้นไป จากนั้น จะหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียง วู๊ป ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า โรคไอกรน
        หากเกิดกับเด็กต่ำกว่า 6 เดือน อาจหยุดหายใจ หน้าเขียว อาเจียน จะมีอาการ 2-4 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น ระยะฟื้นตัว จะค่อยๆ ไอลดลง หากไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายใน 6-10 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ที่พบบ่อยคือ ปอดอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุเสียชีวิตในเด็กเล็ก และยังมีภาวะแทรกซ้อนทางสมอง อาจชัก เกร็ง หรือซึมลง
        การป้องกันที่ดีที่สุดคือ ฉีด “วัคซีนป้องกันไอกรน” ซึ่งเป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กทุกคนต้องได้รับ ปัจจุบันจึงแนะให้วัคซีนป้องกันไอกรนในวัยรุ่น ผู้ใหญ่ที่อยู่ร่วมกับเด็กต่ำกว่า 1 ปี รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์
การรักษาระยะแรก ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดความรุนแรง แต่ถ้าให้ยาปฏิชีวนะหลังมีอาการไอแล้วอาจไม่ค่อยมีผลดี แต่จะช่วยลดแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น
ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำอุ่น อยู่ในที่อากาศถ่ายเทดี หลีกเลี่ยงสาเหตุที่กระตุ้นให้ไอมากขึ้น เช่น ฝุ่นละออง ควัน อากาศร้อน-เย็นเกินไป จะช่วยลดความเสี่ยงได้
 
สยามรัฐ
 

  View : 2.67K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 94
 เมื่อวาน 1,828
 สัปดาห์นี้ 6,761
 สัปดาห์ก่อน 17,407
 เดือนนี้ 43,478
 เดือนก่อน 65,202
 จำนวนผู้เข้าชม 836,129
  Your IP : 3.149.250.19