คู่มือครูระบบการดูแลนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้_2555

          (LD) เด็กออทิสติก (Autistic) และเด็กเรียนรู้ช้า/เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Slow Learner/Intellectual Disability, ID) ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุว่ามีเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้เหล่านี้ถึงร้อยละ 21.76 หรือคิดเป็นจำนวนถึง 3.3 ล้านคนจากประชากรเด็กไทยตํ่ากว่า 18 ปี ทั้งหมดราว 16 ล้านคน (กรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทย 2552) ในจำนวนนี้เฉพาะที่เป็นเด็ก Autistic/ADHD/LD มีจำนวนราว 2.1 ล้านคน นอกเหนือจากนั้นเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านสติปัญญา (ID) ในระดับต่าง ๆ ราว 1.2 ล้านคนที่ต้องการการช่วยเหลือในรูปการศึกษาพิเศษ ส่วนเด็กกลุ่มแรก 2.1 ล้านคนที่มีความบกพร่องการเรียนรู้ ขาดแรงจูงในในการเรียน มีปัญหาปรับตัวทางอารมณ์สังคม แต่ไม่ได้มีปัญหาด้านสติปัญญานั้นกลับเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะปัจจุบันโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้และให้ความช่วยเหลือแก่เด็กกลุ่มนี้อย่างเหมาะสม ทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับการเรียนรู้และการประเมินผลที่เหมาะสมกับศักยภาพ และมีจำนวนไม่น้อยที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งเด็กกลุ่มนี้หลังจากหลุดออกจากระบบการศึกษาก็มีความเสี่ยงต่อการก่อปัญหาหรือกระทำความผิดต่าง ๆ ได้มาก
          จากภารกิจหลักของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ที่มีภารกิจในการผลักดันให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ในเยาวชน โดยผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากภารกิจของ สสค. คือเด็กไทย ราว 5 ล้านคน ในช่วงอายุ 15 - 20 ปี จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จะสามารถระบุจุดมุ่งหมายในชีวิตมั่นใจต่อทางเลือก มีโอกาสเข้ารับการเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพและมีทักษะพื้นฐานในการค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สสค.จึงพัฒนาชุดความรู้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และเพื่อพัฒนาครู ผู้ปกครองให้มีความรู้ในการประเมินและช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งประกอบไปด้วย
          1. คู่มือครูระบบการดูแลนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
          2. ชุดความรู้สำหรับครูในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
          3. ชุดความรู้สำหรับพ่อแม่ในการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
          สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) หวังว่าชุดความรู้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาครู การมีส่วนร่วมของท้องถิ่น การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ และที่สำคัญคือการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนทุกคนอย่างเท่าเทียม
 

คู่มือครูระบบการดูแลนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้.pdf

  View : 17.93K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 635
 เมื่อวาน 1,903
 สัปดาห์นี้ 12,756
 สัปดาห์ก่อน 13,308
 เดือนนี้ 52,943
 เดือนก่อน 52,950
 จำนวนผู้เข้าชม 612,239
  Your IP : 3.22.79.125