สธ.เปิดเวทีสุขภาพจิตนานาชาติ ตอกย้ำ ความสำคัญปัญหาซึมเศร้า “Depression, Let’s Talk :ซึมเศร้า...เราคุยกันได้”

 
วันที่ 2-4 สิงหาคม 2560 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จัดการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 16 และการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ครั้งที่ 14 ประจำปี 2560 “ซึมเศร้า...เราคุยกันได้” “Depression : Let’s talk” ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร 
วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม 2560  พิธีเปิดโดยนายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวรายงานโดย นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต
ในการนี้ นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เป็นเกียรติในการปาฐกถาพิเศษ “ซึมเศร้า...เราคุยกันได้” และมอบรางวัล Mental Health Award , รางวัลเกียรติยศ นายแพทย์ประสพ รัตนากร (ด้านสังคม และ รางวัลเกียรติยศ นายแพทย์อุดม ลักษณวิจารณ์ (ด้านชุมชน)
 
สธ.เปิดเวทีสุขภาพจิตนานาชาติ  ตอกย้ำ ความสำคัญปัญหาซึมเศร้า  
“Depression, Let’s Talk  :ซึมเศร้า...เราคุยกันได้”
 
กระทรวงสาธารณสุข เปิดเวทีสุขภาพจิตนานาชาติ ชูแนวคิด “ซึมเศร้า...เราคุยกันได้” ตอกย้ำความสำคัญปัญหาโรคซึมเศร้า รักษาได้ ทุกคนช่วยได้ พร้อมมอบรางวัล Mental Health Award และรางวัลเกียรติยศ ให้บุคคลและหน่วยงานที่มีผลงานด้านสุขภาพจิตดีเด่น รวม 10 รางวัล
วันนี้ (3 ส.ค. 2560) ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชัน กทม. นายแพทย์ธวัชสุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 16 และการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กครั้งที่ 14 ประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม เรื่อง “ซึมเศร้า...เราคุยกันได้” (Depression, Let’s Talk) โดยกล่าวว่าโรคซึมเศร้าพบได้บ่อยในประชาชนทุกกลุ่มวัย เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการช่วยดูแลกัน เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางสุขภาพในประชากรทั่วโลกและในผู้หญิงไทย จากการประมาณการขององค์การอนามัยโลก มีประชากรมากกว่า 300 ล้านคน ป่วยด้วยโรคนี้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่าถึง 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2553 และคาดว่าในอีก 13 ปี ข้างหน้าความสูญเสียจะเพิ่มมากขึ้นกว่าสองเท่า สำหรับประเทศไทย มีประมาณ 1.5 ล้านคน  ที่สำคัญ ผู้ป่วยซึมเศร้ามีความเสี่ยงสูงที่จะจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย ได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า ผู้ป่วยซึมเศร้ากลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยสูงอายุ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุด 
อุปสรรคที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงบริการ คือ การขาดความตระหนัก  ไม่รู้  ไม่เข้าใจว่าเป็นความเจ็บป่วย ตลอดจนอคติจากสังคม มองเป็นการเรียกร้องความสนใจ ขี้เกียจ อ่อนแอ แต่จริงๆ แล้วเขาป่วย เราไม่รู้ ทั่วโลกต่างรณรงค์ให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงนี้  หลักการสำคัญคือการคัดกรองด้วยเครื่องมือที่ง่าย หากประชาชนสามารถคัดกรองญาติ ผู้ใกล้ชิดและเพื่อนที่สงสัยและสังเกตเห็นแนะนำให้ส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการรักษาที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน มีทั้งการรักษาด้วยยาต้านเศร้า การรักษาด้วยจิตบำบัด และการรักษาด้วยไฟฟ้าตามระดับความรุนแรงของอาการโรคที่วินิจฉัยทั้งนี้ ขอย้ำว่า โรคซึมเศร้า รักษาหายได้ หาหมอให้เร็ว  ไม่ต้องอาย เหมือนเวลาเราไม่สบายก็ไปหาหมอ รับประทานยาให้ต่อเนื่องตามที่หมอสั่งนายแพทย์ธวัชกล่าว
ด้าน นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเสริมว่า ภาวะซึมเศร้า เป็นความเจ็บป่วย ไม่ใช่ความอ่อนแอทางจิตใจ จะมีความรู้สึกไม่สบายใจ ทุกข์ใจ เศร้า ท้อแท้ ซึม เบื่อ ไม่อยากพูดหรือทำกิจกรรมเหมือนเดิม ถ้าไม่รีบรักษาอาการจะรุนแรงขึ้น สาเหตุมาจากความผิดปกติของสารสื่อประสาท พันธุกรรม ลักษณะบุคลิกภาพส่วนตัว และโรคทางกายหลายโรคและยา รวมทั้งความเครียดในชีวิต ความผิดหวัง และความสูญเสีย  สิ่งจำเป็นที่สุด คือ การดูแลด้วยความตั้งใจและอดทน จากเพื่อน ครอบครัว และคนใกล้ชิด ที่จะช่วยให้อาการซึมเศร้าหายเร็วขึ้นการพูดคุยกับคนที่เราไว้ใจจะเป็นก้าวแรกในการฟื้นคืนจากโรคซึมเศร้าเราทุกคนช่วยกันได้โดยยึดหลัก 3 ส. : สอดส่อง:มองหา ใส่ใจ รับฟัง ส่งต่อ เชื่อมโยง หากพบเห็นบุคคลใกล้ชิดผิดปกติไปจากเดิมให้เข้าหาบุคคลนั้น รับฟังอย่างตั้งใจ ที่จะช่วยลดอาการซึมเศร้าลงได้ หากไม่สามารถจัดการได้ให้ส่งต่อแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่าการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็น ครั้งที่ 16 ร่วมกับการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กครั้งที่ 14 ประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม ปีนี้ เน้นประเด็น     “ซึมเศร้า...เราคุยกันได้” (Depression, Let’s Talk) ที่รณรงค์มาอย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยมีบุคลากรด้านสุขภาพนักวิชาการ คณาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานสุขภาพจิต และเครือข่ายสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม 14 ประเทศ  ได้แก่ ประเทศ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน  เวียดนาม มาเลเซียอินโดนีเซีย  พม่า  ญี่ปุ่น กัมพูชา ภูฏาน  ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ ลาว และประเทศไทย รวม 1,000 คน มีการมอบรางวัล Mental Health Award และรางวัลเกียรติยศ ให้กับบุคคลและหน่วยงานที่มีผลงานด้านสุขภาพจิตดีเด่น รวม 10 รางวัล 
รางวัล Mental Health Award ได้แก่ Father Adams B.Gudalefskyจากองค์กร Interaidsและ ศาสตราจารย์พิเศษ แพทย์หญิงเพ็ญแข ลิ่มศิลา รางวัลเกียรติยศ ศ.นพ.ประสพ รัตนากร (ด้านสังคม) ประเภทบุคคล ได้แก่ นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทยประเภทองค์กร ได้แก่ สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยรางวัลเกียรติยศ นพ.อุดม ลักษณวิจารณ์ (ด้านชุมชน) ด้านบริหารจัดการงานสุขภาพจิตและจิตเวช ได้แก่ นายแพทย์ประมวล ไทยงามศิลป์ โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์นายแพทย์ชาญชัย ปวงนิยม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรีและนายแพทย์สามภพ สาระกุล โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรีด้านงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ นางขวัญใจ วงศระศีล โรงพยาบาลเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมานางนิตยามีหาดทราย ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร กรุงเทพมหานคร และองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ภายในงาน ประกอบด้วย  การบรรยาย การอภิปราย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการนำเสนอผลงานทางวิชาการ หัวข้อที่น่าสนใจ เช่น บรรยายพิเศษ เรื่อง “ซึมเศร้า...เราคุยกันได้” โดย นายแพทย์ธวัชสุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข, Depression : Let’s Talk โดย Dr. ShekharSaxena, Director of Department of MentalHealth and Substance Abuse, WHO, Mindfulness Therapy in Depression,Depression Situation in Asia, Mental Health in Thailand 4.0, สติบำบัดกับผู้ป่วยซึมเศร้า,ทุกข์เศร้าใต้เงาเพศภาวะ,การบำบัดด้วยการระลึกถึงความหลังสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า,คำพูดรุนแรงและข่าวรุนแรง:ผลกระทบต่อสังคม,เมื่อฉันเศร้า...ลูกเราจะเป็นอย่างไร,การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชนและภาระกิจพิชิตปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นต้น
******************** 3 สิงหาคม 2560

Press Release .pdf

  View : 2.30K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 0
 เมื่อวาน 13
 สัปดาห์นี้ 62
 สัปดาห์ก่อน 97
 เดือนนี้ 345
 เดือนก่อน 536
 จำนวนผู้เข้าชม 476,781
  Your IP : 3.143.218.146