พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551

สาระสำคัญในพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.. ๒๕๕๑

เรียบเรียงโดย พ.. ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์

นายแพทย์ชำนาญการ

สถาบันราชานุกูล

วัตถุประสงค์

            การนำเสนอบทความในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

            . เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป ได้รับทราบเนื้อหาในพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.. ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่มีจุดมุ่งหมายคุ้มครองผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตให้ได้รับการบำบัดรักษา รวมทั้งเป็นการป้องกันอันตรายอันเกิดจากผู้ป่วยจิตเวชที่มีตนเอง ผู้อื่นและสังคม

                . เพื่อให้บุคลากรและประชาชนเกิดความตระหนักและมีความรู้ ความเข้าใจในกฎหมายสุขภาพจิต

                . เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง

 

ใจความสำคัญของพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.. ๒๕๕๑

                พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.. ๒๕๕๑ มีสาระสำคัญคือ การนำบุคคลที่มีภาวะอันตรายหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาให้ได้รับการบำบัดรักษา ภาวะอันตรายที่กล่าวถึงคือ อันตรายที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางจิต ที่แสดงออกมาทางพฤติกรรม อารมณ์ ความคิดหลงผิดหรือพฤติกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยทางจิตมีพฤติกรรมอาละวาด ทำร้ายคนรอบข้าง ผู้ที่พบเห็นสามารถแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้ดำเนินการพาบุคคลนั้นไปยังโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานบำบัด เพื่อให้บุคคลผู้นั้นได้เข้ารับการรักษาอาการทางจิต หรือพฤติกรรมผิดปกตินั้นในโรงพยาบาล แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ยินยอมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็ตาม กล่าวโดยสรุปคือ  พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.. ๒๕๕๑ เน้นการบังคับรักษาผู้ป่วยทางจิต แม้ผู้ป่วยจะไม่ยินยอม ถือเป็นการให้ความคุ้มครองเจ้าพนักงานตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่เอาตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยไม่ถือว่าเป็นการกักขังหน่วงเหนี่ยวแต่อย่างใด

ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ

                ประโยชน์ที่ผู้ป่วยทางจิตเวชหรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาจะได้รับจากพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ..๒๕๕๑ นี้ คือ ผู้ป่วยทางจิตเวชหรือผู้บกพร่องฯ ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา จะได้รับการบำบัดรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันหรือบรรเทามิให้ความผิดปกติทางจิตมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หรือเพื่อป้องกันการกระทำที่เกิดจากอาการทางจิตที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง เช่นการทำร้ายตนเอง หรือการฆ่าตัวตาย

โครงสร้างของพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.. ๒๕๕๑

หมวดที่ ๑             คณะกรรมการ

                                                ส่วนที่ ๑                คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ

                                                ส่วนที่ ๒               คณะกรรมการสถานบำบัดรักษา

หมวดที่ ๒            สิทธิผู้ป่วย

หมวดที่ ๓             การบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต

                                                ส่วนที่ ๑                ผู้ป่วย

                                                ส่วนที่ ๒               ผู้ป่วยคดี

                                                ส่วนที่ ๓               การฟื้นฟูสมรรถภาพ

หมวด ๔                การอุทธรณ์

หมวด ๕                พนักงานเจ้าหน้าที่

หมวด ๖                                บทกำหนดโทษ

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงหมวดที่เกี่ยวข้องกับบริบทของสถาบันราชานุกูลเท่านั้น ได้แก่ หมวดที่ ๒ หมวดที่ ๓ หมวดที่ ๔ หมวดที่ ๕ และหมวดที่ ๖

 

หมวดที่ ๒ สิทธิผู้ป่วย

                ในพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.. ๒๕๕๑   ได้กำหนดหมวดเฉพาะที่กล่าวถึงสิทธิผู้ป่วยโดยเฉพาะ อยู่ในหมวดที่ ๒ มีใจความสำคัญดังนี้

มาตรา ๑๕       ผู้ป่วยย่อมมีสิทธิดังต่อไปนี้

                ๑) ได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

                ๒) ได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบำบัดรักษาไว้เป็นความลับ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติให้เปิดเผยได้

                ๓) ได้รับความคุ้มครองจากการวิจัย ตามมาตรา ๒๐

(มาตรา ๒๐ การวิจัยใดๆ ที่กระทำต่อผู้ป่วยจะกระทำได้ ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ป่วย และต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในคนด้วย และความยินยอมนี้ผู้ป่วยจะยกเลิกเมื่อใดก็ได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต หรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการหรือสติปัญญา ให้คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน)

                ๔) ได้รับการคุ้มครองในระบบประกันสุขภาพและประกันสังคม และระบบอื่นๆ ของรัฐอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

มาตรา ๑๖          ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย เว้นแต่

                ๑) ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยอื่น

                ๒) เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน

                ๓) มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย

(เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยบอกกับจิตแพทย์ว่ามีการวางแผนฆ่าภรรยาด้วยปืนที่เก็บซ่อนไว้ เนื่องจากความคิดหวาดระแวง หลงผิด ว่าภรรยาแอบคบหากับผู้ชายอื่น ในกรณีเช่นนี้ จิตแพทย์ควรแจ้งแก่ญาติ ภรรยา หรือทีมที่ทำการรักษาเพื่อทำการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม)

มาตรา ๑๗       การบำบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณ หรือแยกผู้ป่วยจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่เป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บำบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ

มาตรา ๑๘ :     สาระสำคัญ

การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy, ECT) ให้กระทำได้ในกรณีที่ผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องรับทราบถึงเหตุผลความจำเป็น ความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน ประโยชน์ของการบำบัด แต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้าต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา ส่วนการให้ความยินยอมเพื่อรับการรักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต หรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการหรือสติปัญญา ให้คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน

มาตรา ๑๙ :      สาระสำคัญ

การทำหมัน      การทำหมันจะทำไม่ได้ เว้นแต่ผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นหนังสือเพื่อการบำบัดรักษา หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต หรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการหรือสติปัญญา ให้คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน

มาตรา ๒๐       การวิจัยใดๆ ที่กระทำต่อผู้ป่วยจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ป่วย และต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในคนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้นำความในมาตรา ๒๑ วรรคสาม มาบังคับกับการให้ความยินยอมโดยอนุโลม (มาตรา ๒๑ วรรคสาม  ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา ให้คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้ให้ความยินยอมตามวรรคสองแทน)

 

หมวดที่ ๓ การบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต

ส่วนที่ ๑ ผู้ป่วย  สาระสำคัญ

มาตรา ๒๓           ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต คือมีภาวะอันตรายหรือ มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตำรวจโดยเร็ว

มาตรา ๒๔           เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจได้รับแจ้ง หรือพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต ให้ดำเนินการนำตัวผู้นั้นไปยังสถานพยาบาล เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยการนำตัวบุคคลดังกล่าวไปสถานพยาบาล จะไม่สามารถผูกมัดร่างกายของบุคลนั้นได้ เว้นแต่ความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อบุคคลนั้นเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น

มาตรา ๒๕           ผู้รับผิดชอบดูแลสถานคุมขัง สถานสงเคราะห์ พนักงานคุมประพฤติ ถ้าพบบุคคลที่อยู่ในความดูแลมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต ให้ส่งตัวบุคคลผู้นั้นไปสถานพยาบาลโดยเร็ว

มาตรา ๒๖            ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับแจ้งตามมาตรา ๒๓ หรือพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตซึ่งมีภาวะอันตรายและเป็นอันตรายที่ใกล้จะถึง ให้มีอำนาจนำตัวบุคคลนั้นหรือเข้าไปในสถานที่ใดๆ เพื่อนำตัวบุคคลนั้นส่งสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาซึ่งอยู่ใกล้โดยไม่ชักช้า เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นตามาตรา ๒๗

                ถ้าบุคคลนั้นขัดขวางหรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจใช้วิธีการเท่าที่เหมาะสมและจำเป็นแก่พฤติการณ์ในการนำตัวบุคคลนั้นส่งสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๒๗           การตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น ต้องให้แล้วเสร็จ ภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับตั้งแต่บุคคลนั้นมาถึงสถานพยาบาล และผู้ที่ทำการตรวจวินิจฉัยต้องบันทึกรายละเอียดในแบบรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น (ตจ.๑)

มาตรา ๒๙            สถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต มีหน้าที่ในการตรวจวินิจฉัยบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำส่ง หรือส่งต่อจากแพทย์ ให้ตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการบุคคลนั้นโดยละเอียด ภายใน ๓๐ วัน และให้มีการพิจารณาว่าบุคลนั้นต้องเข้ารับการบำบัดรักษาหรือไม่

มาตรา ๓๐            คณะกรรมการบำบัดรักษากำหนดวิธีการและระยะเวลาการบำบัดรักษาตามความรุนแรงของความผิดปกติทางจิต แต่ต้องไม่เกิน ๙๐ วันนับแต่วันที่มีคำสั่ง ขยายระยะเวลาได้อีกครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน นับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งครั้งแรกหรือครั้งถัดไป

                ให้คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาพิจารณาผลการบำบัดรักษาเพื่อมีคำสั่งตามาตรา ๒๙ แล้วแต่กรณี ก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาบำบัดรักษาในแต่ละครั้งตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน

มาตรา ๓๑            ในระหว่างการบำบัดรักษา เมื่อแพทย์ผู้บำบัดรักษาเห็นว่า ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาจนความผิดปกติทางจิตหายหรือทุเลาและผู้ป่วยไม่มีภาวะอันตรายแล้ว ให้แพทย์จำหน่ายผู้ป่วยดังกล่าวออกจากสถานพยาบาล และรายงานผลการรักษาบำบัดรักษาและการจำหน่ายผู้ป่วยให้คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาทราบโดยไม่ช้า ทั้งนี้ ให้แพทย์ติดตามผลการบำบัดรักษาเป็นระยะ

มาตรา ๓๒           ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือผู้รับดูแลผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙ (๒) (การเข้ารับการบำบัดรักษา ณ สถานที่อื่นนอกจากสถานบำบัดรักษา เมื่อบุคคลนั้นไม่มีภาวะอันตราย) หรือการบำบัดไม่เป็นผล หรือพฤติการณ์ที่เป็นเหตุให้มีการออกคำสั่งตามมาตรา ๒๙(๒) เปลี่ยนแปลงไป คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนคำสั่ง หรือมีคำสั่งให้รับผู้ป่วยไว้บำบัดรักษาตามมาตรา ๒๙(๑) ก็ได้

มาตรา ๓๓            ในกรณีที่ผู้ป่วยหลบหนีออกนอกเขต สถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจและญาติเพื่อติดตามบุคคลนั้นกลับมาที่สถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา ทั้งนี้มิให้นับระยะเวลาที่บุคคลนั้นหลบหนีเข้าในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๙ หรือมาตรา ๓๐ แล้วแต่กรณี

                                ให้นำความในมาตรา ๔๖ มาใช้บังคับกับกาติดตามผู้ป่วยที่หลบหนีตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

มาตรา ๓๔            เพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วย ให้คณะกรรมการสถานบำบัดรักษามีอำนาจสั่งย้ายผู้ป่วยไปรับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษาอื่นได้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด 

 

ส่วนที่ ๒ ผู้ป่วยคดี (ขอไม่กล่าวถึง)

ส่วนที่ ๓ การฟื้นฟูสมรรถภาพ

มาตรา ๔๐            ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาจนอาการทุเลา ให้แจ้งญาติมารับกลับ ในกรณีที่ไม่มีผู้รับดูแล ให้แจ้งหน่วยงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ ไม่มีสิทธิ์จำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านเอง

 

หมวด ๔   การอุทธรณ์

มาตรา ๔๒           กรณีที่ผู้ป่วยได้รับคำสั่งให้เข้ารับการบำบัดรักษาแต่ไม่เห็นด้วย มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน ๓๐ วัน โดยผู้มีสิทธิอุทรได้แก่ ผู้ป่วย คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ซึ่งดูแลผู้ป่วย

 

 

 

หมวดที่ ๕  พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๔๖             สาระสำคัญ

พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจในการประสานงานกับตำรวจ หรือพนักงานฝ่ายปกครองเข้าไปในเคหสถานในการนำตัวบุคคลที่มีภาวะอันตรายหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษามาบำบัดรักษาในโรงพยาบาลได้ ทั้งที่พบเห็นหรือได้รับแจ้ง

หมวดที่ ๖ บทกำหนดโทษ

มาตรา ๕๐            ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท

มาตรา ๕๑            ผู้ใดแจ้งความเท็จ ว่าบุคคลนั้นๆมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีความผิดปกติทางจิต โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

เอกสารอ้างอิง

กรมสุขภาพจิต สถาบันกัลยาราชนครินทร์, พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.. ๒๕๕๑. กรุงเทพมหานคร, ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอเดียสแควร์, ๒๕๕๑

 


ถามตอบพ.ร.บสุขภาพจิต พ.ศ.2551.pdf
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551.pdf

  View : 64.60K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 0
 เมื่อวาน 13
 สัปดาห์นี้ 62
 สัปดาห์ก่อน 97
 เดือนนี้ 345
 เดือนก่อน 536
 จำนวนผู้เข้าชม 476,781
  Your IP : 3.16.83.150