ตีแผ่ "E-Sport" สู่นักกีฬาอาชีพหรือตัวซ้ำปัญหา "เด็กติดเกม"

“E-Sport : อี-สปอร์ต” กับสังคมไทยอาจจะไม่ได้สวยหรูเหมือนภาพวาดที่ผ่านมา เพราะล่าสุด หน่วยงานที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนต่างออกมาแสดงความเป็นห่วงว่า “ซ้ำเติมปัญหาเด็กติดเกม” ของเมืองไทยให้เพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด

วันนี้ “E-Sport : อี-สปอร์ต” กับสังคมไทยอาจจะไม่ได้สวยหรูเหมือนภาพวาดที่ผ่านมา เพราะล่าสุด หน่วยงานที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนต่างออกมาแสดงความเป็นห่วงว่า “ซ้ำเติมปัญหาเด็กติดเกม” ของเมืองไทยให้เพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งนพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษาปรมสุขภาพจิตระบุว่า เป็นวาทกรรมสวยหรูเกินไปที่จะบอกว่า “อี-สปอรต์” คือ ฮีโร่ที่จะมาพลิกโฉม “เด็กติดเกม” ให้กลายเป็น “นักเล่นเกมมืออาชีพ” ที่สามารถสร้างชื่อเสียงและรายได้เป็นกอบเป็นกำจากมัน

เพราะ ณ ปัจจุบันในเชิงวิชาการทั่วโลกยัง “ไม่มีการยอมรับว่าเป็นกีฬา” ด้วยความที่หลากหลาย ไร้การควบคุม ซ้ำยังมีเนื้อหารุงแรงเน้นการทำลายล้างลงฝ่ายตรงข้ามซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากนิยามของคำว่า “กีฬา” อย่างสิ้นเชิง สุดท้ายที่เป็นไปไม่ได้ คือ “กีฬาเป็นสิ่งสาธารณะ” แต่ “วิดีโอเกมเป็นของธุรกิจเอกชน”
 
แต่ “ความจริง ” ที่เปิดจากการอ้างวาทกรรมดังกล่าวและส่งเสริมการเล่นอี-สปอร์ต จะกลายเป็นการซ้ำสถานการณ์เด็กติดเกมให้ทวีความรุนแรงมายิ่งขึ้น "จากสถิติในสหรัฐอเมริกา พบว่า ในจำนวนคนที่เล่นเกม 1 ล้านคนสามารถเอาตัวรอดมาเป็นมืออาชีพเพียง 1 คน ส่วนคนอีกนับหมื่น ๆ คนต้องกลายมาเป็นเด็กติดเกม แล้วแต่ขอบเขตคำนิยามคำว่าติดเกมของแต่ละประเทศเข้มข้นแค่ไหน"
 
นพ.ยงยุทธ ระบุว่า “องค์การอนามัยโลก” ได้ประกาศว่า “การติดเกม” เป็นความผิดปกติทางจิตใจชนิดหนึ่งเรียกว่า“โรคเสพติดพฤติกรรม” พบมากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ที่ “สมองส่วนการคิดวิเคราะห์ทำงานน้อยลง” ในขณะที่ “สมองส่วนที่ควบคุมความอยากทำงานมากขนึ้ ” ทำให้คนที่เป็นโรคนี้สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเอง เช่น ไม่สามารถกินนอน หรือทำงานได้ตามปกติ และมีปฏิกิริยาก้าวร้าว รุนแรง
 
และเมื่อพูดถึง "ความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย" ตอนนี้ จากสถิติของคนที่เข้ารับการรักษาโรคติดเกมที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นทั้งปีมีราว ๆ 60 คน แต่หลังจากที่ประเทศไทยมีการส่งเสริมการเล่น อี-สปอร์ต พบจำนวนเด็กติดเกมเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวโดยข้อมูลตั้งแต่ ต.ค. 2560-มี.ค.
2561 หรือเพียงแค่ 6 เดือนยอดเด็กเข้ารับการรักษาก็ไปถึง 60 คน
 
ทั้งนี้ การรักษาใช้หลักการเดียวกับการบำบัดผู้ติดยาเสพติดด้วยการฟื้นฟูสมองส่วนการคิดวิเคราะห์ให้ทำงานมากขึ้นซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะรักษาหายขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่ที่ผ่านมาพบว่าคนจำนวนหนึ่งสามารถกลับมามีชีวิตปกติได้ อีกส่วนหนึ่งยังคงเป็นปัญหาสังคม
 
“ที่สำคัญเกมเมอร์ประมาณ 70% ขึ้นไปมักจะลาออกจากการเป็นนักเรียน นักศึกษา เพราะเล่นเกมมากเกินไปจนไม่สามารถเรียนหนังสือได้ คำถามคืออายุของคนเล่นเกมนั้นสั้นมาก ประมาณ 25 ปี ก็หมดสภาพ ที่จะไปแข่งขันกับคนอื่น ๆ ถามว่าหลังจากนี้แล้วจะไปประกอบอาชีพอะไรหลัง 25 ปี เขาก็จะเจอเป็นปัญหาใหม่”
 
เพราะฉะนั้น “แนวคิดเปลี่ยนเด็กติดเกมจากการเล่นเกมเป็นหมื่น ๆ คนเพื่อให้ได้มาซึ่งคนแข่งขันอาชีพเพียง 1 คน คงไม่คุ้มค่ากัน”  และถ้านับเป็นตัวเลขรายได้ที่เกิดขึ้นกับเด็กที่ทำอาชีพนี้ มันน้อยมาเมื่อเทียบ กับรายได้ทั้งหมดที่ตกกับคนผลิตเกม “ด้วยเหตุนี้ทั่วโลกยังไม่มีใครรับรองเป็นกีฬา” ในทางวิชาการ จึงเป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องมีการทบทวน.
 
-----------------------------
อภิวรรณ เสาเวียง. ...
เดลินิวส์ 9 กันยายน 2561
อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/665060

 

  View : 3.00K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 1,419
 เมื่อวาน 1,949
 สัปดาห์นี้ 3,417
 สัปดาห์ก่อน 13,224
 เดือนนี้ 22,824
 เดือนก่อน 65,202
 จำนวนผู้เข้าชม 815,475
  Your IP : 17.241.227.66