ภัยเงียบที่คุกคามเด็กสมาธิสั้น

รวบรวมข้อมูลโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี

         หลายครอบครัวอาจมองข้ามไปว่า การที่เด็กดื้อ ซน อยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่าย หุนหันพลันแล่น หรือเหม่อลอย หลงลืมบ่อย ทำการบ้านไม่เสร็จ ไม่เป็นระ เบียบ เป็นธรรมชาติของเด็กที่กำลังโต มีพัฒนาการจนเกิดความชะล่าใจ เมื่อปล่อยนานไปยิ่งมีอาการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแท้ จริงแล้วเด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้น หากไม่ได้รับการรักษาและดูแลที่ถูกต้องอาจส่งผลกระทบด้านการเรียนและ พฤติกรรมของเด็ก เช่น สอบตก เกเร หนีเรียน และก้าวร้าวได้
       โรคสมาธิสั้น คือกลุ่มอาการขาดสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง และวู่วาม หุนหันพลันแล่น พบประมาณร้อยละ 5 ในเด็กวัยเรียน โดยพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-6 เท่า โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม และ ภาวะที่มีผลต่อสมองนับตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กเป็นโรคลมชักหรือสมองอักเสบ สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดูก็เป็นส่วนช่วยกระตุ้นให้เด็กมีสมาธิสั้นลงได้
          ลักษณะอาการที่สำคัญของเด็กกลุ่มสมาธิสั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
          1.กลุ่มอาการซนมากกว่าปรกติ คือลักษณะความซนจะมากกว่าเด็กทั่วๆไป ซนแบบไม่อยู่นิ่ง มักอยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี้ลุกลนตลอดเวลา และชอบปีนป่ายขึ้นไปบนโต๊ะเก้าอี้บ่อยๆ เล่นเลอะเทอะ หรือเล่นอะไรแล้วรุนแรง อาการส่วนใหญ่ทั้งในส่วนของการอยู่ไม่นิ่ง หรืออาการที่ไม่มีสมาธิ จะมาในช่วงวัยเรียน บางทีพ่อแม่นึกว่าลูกซนตามวัย หรืออาจจะไม่ได้รู้สึกว่ารบกวนมากนัก บางทีพ่อแม่พอจะดูแลได้ แต่พอไปอยู่ที่โรง เรียน แล้วต้องเรียน อยู่กับเพื่อนๆ ครูอาจจะเริ่มค่อยๆเห็นความแตกต่างมากกว่าเด็กคนอื่นๆ เพราะครูจะเจอเด็กๆมาเยอะ อาจเห็นว่าเด็กคนนี้ซนกว่าคนอื่น บางทีงานอะไรต่างๆก็ไม่ค่อยเรียบร้อย ลืมส่งงานบ้าง ลืมทำงานบ้าง สุดท้ายจะกลับไปที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือบางทีอาจจะต้องถูกครูดุ ตำหนิมากๆ ซึ่งจะมีผลกับตัวเด็กเอง
          2.กลุ่มอาการสมาธิสั้น  สามารถสังเกตได้โดยเด็กจะมีความวอกแวกง่าย เหม่อลอย ขี้หลงขี้ลืม อาจจะจัดเรื่องระบบระเบียบงานไม่ได้ว่าควรทำอะ ไรก่อนหรือหลัง สั่ง 3 อย่างได้ 2 อย่างบ้าง สั่ง 3 อย่างได้อย่างเดียวบ้าง หรืออาจจะเป็นในลักษณะของงานหรือการบ้านที่ทำออกมาแล้วไม่เรียบร้อย ไม่รอบคอบ อันนี้เป็นอาการในกลุ่มของการขาดสมาธิ แม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆน้อยๆก็สามารถทำให้เด็กเสียสมาธิได้แล้ว เช่น นั่งเรียนอยู่ในห้องเรียน พอมีคนเดินผ่านก็จะหันไปดูโดยทันที เป็นลักษณะความไวต่อสิ่งเร้าภายนอกโดยผ่านทางตาและหู
        เด็กสมาธิสั้นเมื่อไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกวิธีจะเกิดผลกระทบต่อตัว เด็กค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องของการเรียน เพราะถ้ามีปัญหาการเรียนมาตั้งแต่เล็กๆ เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยประสบความสำเร็จ อาจถูกครูตำหนิ ถูกว่าบ่อยๆ สุดท้ายอาจรู้สึกว่าไม่อยากไปโรงเรียนแล้ว บางคนที่เป็นเด็กสมาธิสั้นจะมีปัญหาของพฤติกรรมดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าวร่วมด้วย ซึ่งเด็กที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ร่วมด้วยเมื่อโตขึ้นก็จะเป็นเด็กในลักษณะที่ เกเร เพราะ ไม่ได้มีเรื่องที่น่าภูมิใจ สุดท้ายเขาอาจจะไปพบกับเพื่อนที่เกเร ไม่ประสบความสำเร็จด้านการเรียนเหมือนกัน ชวนกันหนีเรียน หนีเที่ยว หรือเป็นเด็กเกเร อันธพาลไปเลยก็ได้
          สำหรับการป้องกันโรคสมาธิ สั้นนั้น จริงๆแล้วเรื่องสมาธิสั้นเป็นส่วนหนึ่งของพันธุกรรม กรรมพันธุ์ด้วย อย่างไรก็ถูกถ่ายทอดมา อาจจะไม่สา มารถป้องกันได้ เพียงแต่ว่าพฤติกรรมหรืออาการที่เป็นปัญหาอาจจะดีขึ้นได้ หรือแตกต่างกันได้ด้วยเรื่องของการเลี้ยงดู บางทีถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูแลเอาใจใส่ อย่างเช่นว่า ถึงเด็กจะดื้อ ซน แต่เราก็หนักแน่น การที่จะให้เด็กมีระเบียบวินัยหรือทำอะไรต่างๆ หรือช่วยเหลือเขาให้จัดตารางสอน จัดตารางการทำงานต่างๆ ก็ทำให้เด็กมีระเบียบวินัยมากขึ้น ตรงนี้จะช่วยให้อาการสมาธิสั้นที่รบกวนเวลาเรียน รบกวนคุณพ่อคุณแม่น้อยลงไปได้
          อีกส่วนหนึ่งก็คือ การเอาใจใส่ดูแล สร้างความผูกพันกับลูก เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกว่าการที่คุณพ่อคุณแม่รักเป็นห่วงทำให้เขาอยากจะเชื่อ ฟังคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น ก็ทำให้การดูแลเด็กสมาธิสั้นง่ายขึ้น
          นอกจากนี้พ่อแม่ควรตื่นตัวหมั่นสังเกตอาการของลูก ควรตระหนักก่อนว่ามีโรคนี้อยู่จริงๆ แล้วเด็กก็ไม่ได้อยากจะเป็น เพียงแต่เขาควบคุมตัวเองไม่ได้ ต้องรู้ว่าอาการอะไรที่เราควรจะต้องสงสัย เดี๋ยวนี้เรื่องแบบประเมินที่เป็นออนไลน์มีค่อนข้างเยอะ อาจลองหามาทำดู ทั้งทำด้วยตัวเอง หรืออาจจะให้คุณครูช่วยประเมิน หรืออีกส่วนหนึ่งก็คือไปพูดคุยกับคุณครูบ่อยๆว่าเด็กมีลักษณะอะไรที่รบกวน คุณครูบ้างหรือไม่ หรืออาจเป็นปัญหาในห้องเรียน จะได้นำไปสู่การรักษาได้เร็วขึ้น
          การรักษาโรคสมาธิสั้นนั้นใน ปัจจุบันจะรักษาโดยการใช้ยา ซึ่งเป็นแค่การประคับประคอง ควบคุมอาการ ส่วนการจะหายขาดได้จริงๆนั้น ตอน นี้ยังไม่มียาที่จะรักษาให้หาย ขาด แต่เด็กที่เป็นสมาธิสั้นประมาณ 30-40% เมื่อโตขึ้นในวัยผู้ใหญ่ อาการพวกนี้จะดีขึ้น หายไป แล้วก็หยุดยาได้ ในส่วนของวัยรุ่น เรื่องของการซนอยู่ไม่นิ่ง ส่วนใหญ่จะดีขึ้นเอง อาจจะคงเหลือเรื่องของสมาธิสั้นอย่างเดียว
           แต่ถ้าหากพ่อแม่รู้ ช้าว่าลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น โดยไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เด็กมีผลกระทบด้านพฤติกรรมตามมา เช่น เด็กที่มารักษาช้าพบว่าเป็นช่วงวัยรุ่นแล้ว ไม่ได้มาในเรื่องของสมาธิสั้น แต่มีปัญหาเกี่ยวกับพฤติ กรรมต่างๆ เช่น ชอบออกจากบ้านดึกๆดื่นๆ ออกไปเที่ยวกับเพื่อนข้างนอกไม่ยอมกลับบ้าน หรือบางครั้งก็มีปัญหาเรื่องของยาเสพติด เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ถ้าซักประวัติย้อนกลับไปในช่วงแรกๆจะพบว่าเขามีเรื่องของสมาธิสั้นมาก่อนที่ ไม่ได้รับการรักษา บาง ทีเขาต้องเบี่ยงเบนออกจากวิถีการเรียนไปเพราะเหมือนกับถูกคุณครูดุ ว่า หรือตำหนิอยู่บ่อยๆ เมื่อไปเจอเพื่อนที่เกเรเหมือนกัน แล้วชวนกันไปมีปัญหาพฤติกรรมต่างๆตามวัยรุ่นก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะถ้าเราสามารถทราบได้เร็ว รักษาเร็ว มันก็จะดีขึ้น
          สำหรับการดูแลเด็กที่เป็นสมาธิสั้น นอกเหนือจากพ่อแม่แล้ว จริงๆคุณครูก็มีส่วนสำคัญ เพราะคุณครูจะเป็นคนที่เห็นเด็กเยอะ หลายคน แล้วจะเห็นว่าเด็กคนไหนที่แตกต่าง ถ้าคุณครูมีโอกาสได้คุยกับคุณพ่อคุณแม่บ่อยๆ หรือเด็กคนไหนที่คุณครูสงสัยว่ามีอาการสมาธิสั้นหรือเปล่า หรือมีปัญ หาการเรียน การพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ก็จะช่วยให้เขาได้เข้าสู่การรักษาที่เร็วขึ้น เพื่อที่จะดูแลกันให้ง่ายขึ้น
          "การรักษาโรคสมาธิสั้นนั้นใน ปัจจุบันจะรักษาโดยการใช้ยา ซึ่งเป็นแค่การประคับประคอง ควบคุมอาการ  ส่วนการจะหายขาดได้จริงๆนั้น ตอนนี้ยังไม่มียาที่จะรักษาให้หายเมื่อโตขึ้นอาการพวกนี้จะดีขึ้น หายไป"
 
 ที่มา : โลกวันนี้วันสุข นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์


  View : 10.45K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 644
 เมื่อวาน 1,376
 สัปดาห์นี้ 6,667
 สัปดาห์ก่อน 6,556
 เดือนนี้ 23,308
 เดือนก่อน 57,053
 จำนวนผู้เข้าชม 872,476
  Your IP : 17.241.219.171