รักษานอนกรนหยุดหายใจในเด็ก

รวบรวมข้อมูลโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี

        เด็กที่นอนกรนตั้งแต่ 3 คืนต่อสัปดาห์ขึ้นไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีความผิดปรกติบางอย่าง เช่น เลี้ยงไม่โต มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม การเรียนแย่ลง ปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive sleep apnea; OSA) หรือไม่ เพื่อทำการรักษาต่อไป...

       โดยในเบื้องต้นเด็กที่นอนกรนควรหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ มลภาวะ และสารกระตุ้นภูมิแพ้ต่างๆ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการแน่นจมูก และทำให้อาการแย่ลง สำหรับรายที่มีน้ำหนักมากควรลดความอ้วน และในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจส่วนต้นควรให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีวิธีการรักษาเด็กที่มีปัญหานี้ที่ มีประสิทธิภาพสูงได้หลายวิธี ได้แก่
          1.การรักษาโดยการผ่าตัด การผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทั่วไปแล้วการผ่าตัดนี้จะช่วยให้อาการของภาวะ OSA ดีขึ้น และลดจำนวนครั้งของการหยุดหายใจ/หายใจแผ่วจากการอุดกั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติราวร้อยละ 85-90
          ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงบางกลุ่ม เช่น เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดรุนแรง, เด็กอ้วน, โครงสร้างใบหน้าผิดปรกติหรือมีโรคทางระบบประ สาทและกล้ามเนื้อ, เด็กที่เป็น Down syndrome, ผนังกั้นจมูกคด และเยื่อบุจมูกบวมมาก อาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับเหลืออยู่หลังผ่าตัด ดังนั้น การติดตามอาการของผู้ป่วยจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเหล่านี้
          สำหรับการผ่าตัดนั้นทำภายใต้การดมยาสลบ โดยทั่วไปมีความเสี่ยงจากภาวะแทรก ซ้อนที่รุนแรงน้อยมาก อย่างไรก็ตาม 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ต้องเฝ้าระวังปัญหาเลือดออกจากตำแหน่งผ่าตัด อาการคลื่นไส้อาเจียน ภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจเกิดจากการเจ็บแผลและรับประทานอาหารได้น้อยในบางราย บางครั้งอาจหายใจลำบากและยังมีเสียงกรนใน 2-3 วันแรก สำหรับภาวะแทรกซ้อนระยะยาว เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยขึ้นหลังผ่าตัดไปแล้วพบได้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเด็กได้รับวัคซีนครบตามกำหนด
          นอกจากการผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์แล้ว ยังมีการรักษาโดยการผ่าตัดอื่นๆ เช่น การจี้เยื่อบุในจมูกด้วยความ ถี่วิทยุ การผ่าตัดแก้ไขความผิดปรกติของโครงสร้างใบหน้าในรายที่ผิดปรกติ หรือการเจาะคอ รวมถึงการผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักในเด็กที่อ้วนมาก เป็นต้น ซึ่งต้องพิจารณาความเหมาะสมในผู้ป่วยเป็นการเฉพาะราย
  2.การรักษาโดยการใช้ยา เช่น ยาพ่นจมูกกลุ่ม สเตีย รอยด์ ยาแก้ภูมิแพ้หรือยาลดน้ำมูก และยากลุ่ม mon telu kast ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ในผู้ป่วยเด็กที่นอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่รุนแรงน้อย การใช้ยาเหล่านี้นานต่อเนื่อง 6-12 สัปดาห์ จะช่วยให้อาการและดัชนีการหยุดหาย ใจ/หายใจแผ่วขณะหลับดีขึ้นได้ จึงอาจใช้ยาเหล่านี้เป็นการรัก ษาเบื้องต้น หากไม่ดีขึ้นในเวลาดังกล่าว เด็กควรได้รับการตรวจ การนอนหลับ (ถ้าทำได้) หรือส่งต่อให้พบแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก เพื่อพิจารณาผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์ต่อไป
          โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีโรคในระดับที่รุนแรง เนื่อง จากมีงานวิจัยพบว่าการผ่าตัดแต่เนิ่นๆจะมีผลต่อการทำงานของสมองและประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่ดีกว่า อย่างไรก็ ตาม หากหลังผ่าตัดแล้วยัง มีอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับเหลืออยู่อาจพิจารณาใช้ยาเหล่านี้อีกได้เช่นกัน
          3.การรักษาโดยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง จัดเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง อย่างไรก็ตามเด็กอาจมีปัญหาความร่วมมือในการรักษา และอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาได้ แม้ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง แต่ควรให้เด็กได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้โดยตรงต่อไป
          4.การรักษาโดยวิธีอื่นๆ เช่น การให้ออกซิเจนขณะหลับ การใช้เครื่องมือในช่องปาก หรือการจัดฟันเพื่อขยายกรามด้านบน อาจเหมาะสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย เช่น ผู้ป่วยที่มีขากรรไกรบนแคบมาก สบฟันผิดปรกติ หรือมีความพิการผิดรูปของกะโหลกศีรษะและใบ หน้า อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ในผู้ป่วยเด็กยังมีน้อยมาก ดังนั้น จึงต้องรอข้อมูลการศึกษาต่อไปในอนาคต เนื่อง จากปัจจุบันยังไม่มีรายงานเพียง พอเกี่ยวกับผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว


โลกวันนี้วันสุข


  View : 2.05K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 1,564
 เมื่อวาน 1,986
 สัปดาห์นี้ 5,535
 สัปดาห์ก่อน 13,224
 เดือนนี้ 24,942
 เดือนก่อน 65,202
 จำนวนผู้เข้าชม 817,593
  Your IP : 18.188.224.177