องค์ความรู้ในวันดาวน์ซินโดรมโลก 2563

วันดาวน์ซินโดรมโลก 2563
World Down Syndrome Day 2020  "We Decide"
 
กล่าวได้ว่าในปัจจุบันทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคดิจิตัลอย่างสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันเพื่อให้ก้าวทันยุคสมัยโดยใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงได้ยาก ไม่เว้นแม้แต่ในกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มอาการดาวน์ที่สามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์และ Social media ได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า แม้บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี/อินเตอร์เน็ตในการกระตุ้นหรือส่งเสริมพัฒนาการ แต่ในขณะเดียวกันหากปล่อยให้ใช้เทคโนโลยีโดยปราศจากการควบคุมก็อาจเป็นผลเสียที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่างๆ ที่อยากแก่การควบคุมในภายหลัง เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้อ่อนไหวต่อเนื้อหาและขาดทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ที่พบว่าเป็นความเสี่ยงสำคัญของเด็กดาวน์จากการใช้สื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการพูดคุยผ่านสื่อออนไลน์กับคนแปลกหน้าอาจนำพาไปสู่การถูกล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ดังต่อไปนี้ 1. การขอข้อมูลส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศเช่น การขอขนาดหน้าอก หรือการวิพากษ์วิจารณ์รูปร่าง 2.การชวนพูดคุยเรื่องเพศ 3.การขอดูภาพส่วนตัวที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ 4.การส่งข้อความยั่วยุทางเพศ 5.การขอให้แสดงท่าทางยั่วยุทางเพศ 6.การส่งภาพหรือคลิปที่ยั่วยุทางเพศ 7.การเสนอให้เงินหรือของขวัญหากยอมมีเพศสัมพันธ์ด้วย
และเนื่องในวันดาวน์ซินโดรมของปี 2020 นี้ องค์การอนามัยโลกได้มุ่งเน้นที่หัวข้อ “We Decide” หรือ “เราตัดสินใจ” ซึ่งมีความหมายว่าเด็กกลุ่มอาการดาวน์ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อตนเอง ซึ่งการใช้สื่อออนไลน์เป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบันที่มีผลกระทบต่อเด็กกลุ่มอาการดาวน์ ทางสถาบันราชานุกูลได้เห็นความสำคัญของการที่เด็กกลุ่มอาการดาวน์ควรมีความสามารถในการดูแลปกป้องตนเองจากอันตรายที่มากับสื่อออนไลน์ได้ โดยเฉพาะปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศที่มากับสื่อออนไลน์
 
ในปี 2563 สถาบันราชานุกูลจึงได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ในการป้องกันการล่วงละเมินทางเพศที่แฝงมากับสื่อออนไลน์สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญาซึ่งหมายรวมถึงเด็กกลุ่มอาการดาวน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้ปกครองให้เห็นถึงอันตรายที่มากับสื่อออนไลน์ และให้เด็กบกพร่องทางสติปัญญาและเด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถมีทักษะในการปกป้องตนเองจากการล่วงละเมิดทางเพศที่มากับสื่อออนไลน์ได้  โดยในส่วนของผู้ปกครอง เน้นที่หลักการ “3 อยู่” ได้แก่ อยู่ในสายตา คือการพยายามมีส่วนร่วมกับกิจกรรมออนไลน์ของลูกๆ อย่าปล่อยให้ลูกอยู่กับโทรศัพท์มือถือหรือสื่อสังคมออนไลน์คนเดียวมากเกินไป อยู่อย่างสอดส่อง คือการหมั่นตรวจเช็คประวัติการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตของลูกๆ ลบหรือบล็อกเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม อยู่อย่างเข้าใจ คือการเข้าใจธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงทางเพศของเด็กบกพร่องฯ เมื่อเด็กสนใจหรือถามเกี่ยวกับเรื่องเพศ ผู้ปกครองพูดคุยเรื่องเพศได้อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาง่าย ไม่ดุเด็กเมื่อพบว่าเด็กดูสื่อออนไลน์ที่มีเนื้อหายั่วยุทางเพศ ไม่ตำหนิเมื่อพบว่าเด็กมีพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม แต่ใช้วิธีการพูดคุยรับฟังเด็ก จะช่วยให้เด็กไว้วางใจและกล้าบอกผู้ปกครองเมื่อเจอปัญหา และวิธีในการปกป้องตนเองของเด็กๆเมื่อเจอการคุกคามทางเพศจากสื่อสังคมออนไลน์ เช่นการชวนคุยเรื่องเพศ การส่งภาพอนาจาร แนะนำให้เด็กจัดการสถานการณ์ 3 ขั้นตอนคือ 1ขั้นตอนที่ 1 ไม่ให้เด็กตอบโต้กับบทสนทนานั้นๆ  ขั้นตอนที่ 2 ให้เด็กจบหรือปิดการสนทนานั้นทันที และ ขั้นตอนสุดท้ายคือ การให้เด็กรีบแจ้งผู้ปกครอง เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเด็กเอง
องค์ความรู้ในการป้องกันการล่วงละเมินทางเพศในกลุ่มเด็กบกพร่องทางสติปัญญาที่แฝงมากับสื่อออนไลน์นี้ได้พัฒนาเป็นคลิปวิดิโอสั้นๆ จำนวน 3 ตอน ชื่อ “โลกละเมิดออนไลน์”กับเด็กพิเศษ
ซึ่งสามารถรับชมได้ทาง Youtube  : Rajanukul Channel
และทาง Facebook : Rajanukul Institute

แผ่นพับสุขภาพช่องปากเด็กกลุ่มอาการดาวน์.pdf
แผ่นพับคำแนะนำด้านการศึกษาของเด็กพิเศษ.pdf
แผ่นพับ โลกละเมิดออนไลน์กับเด็กพิเศษ.pdf
การใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์.pdf

  View : 3.77K

Tags: ดาวน์ซินโดรม องค์ความรู้ในวันดาวน์ซินโดรมโลก 2563


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 526
 เมื่อวาน 1,986
 สัปดาห์นี้ 4,497
 สัปดาห์ก่อน 13,224
 เดือนนี้ 23,904
 เดือนก่อน 65,202
 จำนวนผู้เข้าชม 816,555
  Your IP : 20.171.206.148