อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในเด็ก

รวบรวมข้อมูลโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี
           การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในเด็กมีความแตกต่างจากในผู้ใหญ่ เพราะอาจเป็นมาแต่กำเนิด ความผิดปกติจากพัฒนาการควบคุมการถ่ายปัสสาวะ หรือจากความผิดปกติทางจิตใจก็ได้ ดังนั้น การวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยเด็กจึงมีความแตกต่างจากการรักษาในผู้ใหญ่
          โดยปกติหลังการคลอดใหม่ๆ ทารกจะปัสสาวะบ่อยมากถึงวันละ 20 ครั้ง และไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อเด็กโตขึ้นกระเพาะปัสสาวะจะขยายและเก็บน้ำปัสสาวะมากขึ้น เพราะมีพัฒนาการของสมองเพื่อเก็บกักปัสสาวะ ไม่ถ่ายปัสสาวะเรี่ยราด ในช่วงแรกๆ จะควบคุมปัสสาวะในช่วงเวลากลางวันได้ก่อน แต่กลางคืนอาจยังมีปัสสาวะรดที่นอนบ้าง ต่อมาจึงเริ่มควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้ทั้งวัน ซึ่งโดยทั่วไปเด็กจะเริ่มควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้เมื่ออายุประมาณ 3 ปี คือเป็นเวลาก่อนเข้าโรงเรียนแต่
          หากเด็กมีปัญหาปัสสาวะราดตลอดไม่สามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้ หรือถ่ายปัสสาวะเป็นเวลาแต่มีปัสสาวะซึมออกมาตลอดเวลาด้วย มักเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ท่อไตเปิดผิดตำแหน่ง หรือหูรูดกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน
          การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นไม่อยู่นี้ แพทย์จะซักประวัติทั่วไป ระยะเวลาที่เป็น ลักษณะการกลั้นไม่อยู่ ว่าเป็นตลอดเวลาหรือแค่บางเวลา รวมทั้งประวัติครอบครัว ทั้งนี้ การตรวจร่างกายจะต้องตรวจสภาพโดยทั่วไป สภาพจิตใจและตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ด้วย เช่น ความผิดปกติบริเวณหลังทวารหนักกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ระบบประสาทตรวจปัสสาวะ และอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจสอบความผิดปกติทางโครงสร้างของไต ท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ โดยอาจมีการตรวจทางรังสีวิทยา และตรวจการทำงานของพระเพาะปัสสาวะในกรณีที่จำเป็น
สำหรับการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในเวลากลางวันจะต้องตรวจสอบถึงสภาพความผิดปกติในการทำงานของกระเพาะปัสสาวะว่า บีบตัวเร็วหรือไม่ หรือ เกิดจากความสนใจของเด็กในบางเรื่องที่ทำให้ลืมถ่ายปัสสาวะ เช่น ในเด็กที่มีความผิดปกติต่อทางจิตใจ หรือสมาธิสั้น ที่โดยมากมักรอจนกระเพาะปัสสาวะเต็มมากจึงไปถ่ายปัสสาวะ ทำให้ไปถ่ายปัสสาวะไม่ทัน
          ส่วนในเวลากลางคืนหรือ ปัญหาเด็กปัสสาวะรดที่นอน อาจเป็นตามธรรมชาติของเด็กที่มีพัฒนาการในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะช้า หรือ จากสาเหตุอื่น เช่น มีปริมาณปัสสาวะตอนกลางคืนมากจากการดื่มน้ำหรือ ได้รับเครื่องดื่ม นม ผลไม้ในช่วงกลางคืน หรือเกิดจากการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยในการ ดูดน้ำกลับจากปัสสาวะน้อยทำให้มีปริมาณปัสสาวะมากทั้งที่กระเพาะปัสสาวะทำงานปกติ ซึ่งสาเหตุทั้งหมดก็อาจก่อให้เด็กปัสสาวะรดที่นอนได้ การรักษาคือ ควรปลุกมาถ่ายปัสสาวะในระยะเวลาที่ เหมาะสม
          นอกจากนี้ ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งได้แก่ กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ มีการบีบตัวไว ไม่สามารถเก็บกักปัสสาวะได้นาน และราดออกมาก่อน เพื่อการป้องกันการลุกลามเกินเยียวยา ผู้ปกครองจึงควรนำบุตรหลานไปปรึกษาแพทย์ให้ทันท่วงทีเพื่อเตรียมตัวและวางแผนในการรักษาให้หายขาดในที่สุด
        

เว็บไซต์ไทยรัฐ


  View : 15.16K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 23
 เมื่อวาน 1,986
 สัปดาห์นี้ 3,994
 สัปดาห์ก่อน 13,224
 เดือนนี้ 23,401
 เดือนก่อน 65,202
 จำนวนผู้เข้าชม 816,052
  Your IP : 182.232.236.90