แนะ คุณพ่อ ใช้ “FATHER” สร้างภูมิคุ้มกันความรุนแรง

ทุกวันนี้เรามักเห็นสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวและสังคมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งครอบครัวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้  โดยเฉพาะผู้เป็น “พ่อ”เพราะความอ่อนโยนของพ่อสามารถสร้างความผูกพันในครอบครัวที่จะเป็นภูมิคุ้มกันปัญหาความรุนแรงได้

นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ทุกวันนี้เรามักเห็นสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวและสังคมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งครอบครัวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้  โดยเฉพาะผู้เป็น “พ่อ”เพราะความอ่อนโยนของพ่อสามารถสร้างความผูกพันในครอบครัวที่จะเป็นภูมิคุ้มกันปัญหาความรุนแรงได้ทั้งนี้ ขอแนะนำให้ลองนึกถึง คำว่า “พ่อ” หรือ “FATHER”แล้วนำไปปฏิบัติต่อกันในครอบครัว  ได้แก่ F : FIRM คือ ความหนักแน่นมั่นคงทั้งด้านอารมณ์และความคิด ที่มีความสม่ำเสมอ เช่น มีความชัดเจนให้กับลูกในการดำเนินชีวิต ให้เขามีเวลาในการตื่น กิน เล่น นอน เป็นกิจวัตรแต่มีความยืดหยุ่นไม่ตึงเครียดจนเกินไป ตลอดจนให้ลูกมีโอกาสได้เรียนรู้ทำอะไรด้วยตนเอง ไม่โกรธแค้น หรือโมโห เมื่อลูกทำสิ่งผิดพลาดหรือไม่ถูกใจ ให้ใช้เหตุผลคุยกัน A : Appreciative คือ ชื่นชมยินดีกับลูกเมื่อลูกทำในสิ่งที่ดีงาม การแสดงความยินดีด้วยท่าทีที่แสดงออกด้วยรอยยิ้ม หัวเราะ ปรบมือ และโอบกอดนั้น ล้วนส่งผลดีต่อบุคลิกภาพ ความเชื่อมั่นในตัวเองของลูก และทำให้เขารู้ถึงคุณค่าในตนเอง อีกทั้งยังสร้างความทรงจำที่แสนดีที่มีต่อ “พ่อ” ได้ตลอดไป T : Tender คือ การแสดงความรักอย่างนุ่มนวล สัมผัสโอบกอดพูดจาต่อกันด้วยความสุภาพสร้างความรัก ความผูกพันบรรยากาศดีๆ ให้เกิดขึ้นในครอบครัว H : Honest คือ ความซื่อสัตย์ จริงใจเป็นแบบอย่างของผู้นำครอบครัวที่มีความซื่อสัตย์ จริงใจให้ลูกเห็น เช่น ซื่อสัตย์และจริงใจ รักแม่ของลูกอยู่เคียงข้างและคอยดูแลกันมีปัญหาก็คุยกัน ช่วยกันแก้ไข ให้เกียรติและยกย่องกันและกัน ไม่ให้บุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตคู่ E : Encouraging คือ การให้กำลังใจส่งเสริมให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่เขาอยากทำด้วยความเต็มใจส่งเสริมให้ลูกมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ปลอบประโลมและให้กำลังใจเมื่อลูกผิดหวังหรือรู้สึกท้อแท้และ R :  Responsible คือ ความรับผิดชอบ ทั้งในหน้าที่การงาน และชีวิตครอบครัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกด้านการประพฤติปฏิบัติตนที่ถูกต้องเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในทุกๆเรื่องประหยัดอดออมวางแผนการใช้จ่ายในครอบครัว ชักจูงให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามทำความดีมีหลักศาสนายึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นต้น

การสอนลูกให้ได้ผลดีที่สุด คือ ต้องทำให้ดูเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่แค่เพียงคำพูด การทำให้ดูเป็นแบบอย่างจะทำให้เด็กจดจำและเลียนแบบพฤติกรรม ลักษณะนิสัยดีๆ ของพ่อได้ และความอ่อนโยนของพ่อ ย่อมสร้างความรักความผูกพันให้เกิดขึ้นในครอบครัว ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคมได้เป็นอย่างดี”  อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

      ด้าน พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวเสริมว่า การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว พ่อแม่ควรมีความรักเป็นพื้นฐานทำตัวเป็นต้นแบบให้กับลูกในเชิงของความใจเย็น แก้ปัญหาอารมณ์ของตนเองด้วยวิธีการที่อ่อนโยนนุ่มนวล ใช้ความหนักแน่นของพ่อแม่ในการดูแลจิตใจลูก เพราะการใช้ความรุนแรงในครอบครัว หรือการใช้ความรุนแรงกับเด็ก จะทำให้เด็กคิดว่าความรุนแรง คือ ทางแก้ปัญหา และโตมาเป็นคนที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด ดังนั้น จึงควรปลูกฝังความรักและความเข้าใจกันในครอบครัว  พูดจากันด้วยเหตุผล  เห็นใจผู้อื่นอ่อนแอกว่า  ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันเอาใจใส่ให้เด็กรู้ว่าตัวเขาเองมีคุณค่าและจะตอบกลับคนอื่นๆ ด้วยความรัก มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยพ่อแม่ต้องเป็นผู้สร้างค่านิยมเหล่านี้ และทำให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดี

 

 

  View : 1.98K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 771
 เมื่อวาน 1,376
 สัปดาห์นี้ 6,794
 สัปดาห์ก่อน 6,556
 เดือนนี้ 23,435
 เดือนก่อน 57,053
 จำนวนผู้เข้าชม 872,603
  Your IP : 17.241.227.118