หลักการและเหตุผล ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กบกพร่องทางพัฒนาการเฉลี่ยร้อยละ 1-2 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเด็กเหล่านี้ยังถูกมองข้าม และถูกทอดทิ้งให้เป็นภาระของครอบครัวและสังคมจำนวนมาก สำหรับกรุงเทพมหานครมีประชากรประมาณ 5,702,224 คน (กรมการปกครอง, 20 ธันวาคม 2552) จึงประมาณได้ว่าน่าจะมีเด็กบกพร่องทางพัฒนาการประมาณ 57,000-114,000 คน นอกจากนั้นกรุงเทพมหานครมีสถิติเด็กเกิดใหม่เฉลี่ยปีละประมาณ 110,000 คน (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2546-2550) โดยในจำนวนนี้มีเด็กน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ประมาณร้อยละ 12 ซึ่งเป็นกลุ่มสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังปัญหาภาวะบกพร่องทางพัฒนาการ และเมื่อรวมกับเด็กบกพร่องทางพัฒนาการที่ต้องช่วยเหลือดูแลพบว่าเป็น จำนวน 70,200 127,200 คน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่บิดามารดาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักในการเฝ้าระวัง และให้การช่วยเหลือดูแลส่งเสริมให้มีการพัฒนาไปตามวัยอย่างถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ถ้าปล่อยปละละเลยไม่มีกระบวนการดูแลช่วยเหลือที่ชัดเจน เด็กจะเสียโอกาสในการพัฒนาตามวัยรวมทั้งอาจเกิดปัญหาพัฒนาการที่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นภาระต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติในที่สุด ในปี 2552 สถาบันราชานุกูล ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ (กรุงเทพมหานคร) และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันดำเนินงานให้มีระบบการคัดกรองเด็กวัยแรกเกิด 5 ปี ในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร 30 แห่ง และเพิ่มความเข้มแข็งของระบบบริการให้มีการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการ จากการดำเนินงาน พบว่า เด็กในพื้นที่เป้าหมายได้รับการคัดกรองพัฒนาการจำนวน 52,778 คน (เดือนเมษายน พฤศจิกายน 2552) คิดเป็นร้อยละประมาณ 25 ของประชากรเด็กในพื้นที่ (ประชากรเด็กในพื้นที่ จำนวน 211,477 คน : กรมการปกครอง, ธันวาคม 2551 ) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2551 เด็กได้รับการตรวจสุขภาพและตรวจพัฒนาการครบตามเกณฑ์ จากศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร 68 แห่ง จำนวน 68,329 คน คิดเป็นร้อยละประมาณ 19 ของประชากรเด็กในพื้นที่(ประชากรเด็กในพื้นที่ จำนวน 357,419 คน : กรมการปกครอง, ธันวาคม 2551) และจากการคัดกรองพัฒนาการเด็กจำนวน 52,778 คน พบมีความเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางพัฒนาการ จำนวน 5,658 คน แต่มีเด็กที่ได้รับการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการจำนวน 671 คน ดังนั้นเพื่อความครอบคลุม และความต่อเนื่องในการจัดบริการ สถาบันราชานุกูล ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ (กรุงเทพมหานคร) และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จึงจัดทำ โครงการการจัดบริการแก่เด็กบกพร่องทางพัฒนาการวัยแรกเกิด-5 ปี ในกรุงเทพมหานคร ต่อเนื่องในปี 2553 เพื่อพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ และดำเนินการพัฒนาระบบส่งต่อในระดับทุติยภูมิให้มีประสิทธิภาพ และเตรียมความพร้อมในหน่วยบริการระดับตติยภูมิ ตลอดจนพัฒนาต้นแบบพื้นที่บริการในชุมชน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กบกพร่องทางพัฒนาการวัยแรกเกิด- 5 ปี ในกรุงเทพมหานคร ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการให้มีพัฒนาการดีที่สุดตามศักยภาพที่เป็นไปได้อย่างทั่วถึง และถูกต้องเหมาะสม 2. เพิ่มความเข้มแข็งของระบบส่งต่อในหน่วยบริการระดับทุติยภูมิ 8 แห่ง และเตรียมความพร้อมในหน่วยบริการระดับตติยภูมิ 4 แห่ง 3. ให้การส่งเสริมสนับสนุนแก่บุคลากรในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันในด้านการคัดกรองเด็กและจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการแก่ผู้ปกครองได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานครสามารถคัดกรองเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการได้ครอบคลุมประชากรของพื้นที่เป้าหมาย 2. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานครสามารถจัดบริการให้เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างเหมาะสม 3. มีระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ 4. มีต้นแบบการคัดกรองและจัดบริการแก่เด็กบกพร่องทางพัฒนาการในชุมชน ปัจจุบันสามารถเข้ารับบริการได้ที่ หน่วยบริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร ระดับตติยภูมิ
ระดับทุติยภูมิ
ระดับปฐมภูมิ
ระดับปฐมภูมิ(ต่อ)
|
โปสเตอร์รณรงค์.pdf
ตารางส่งเสริมพัฒนาการ.pdf
บกพร่องทางพัฒนาการ.pdf
ออทิสติก.pdf
โรคซน.pdf
.doc
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง