วันดาวน์ซินโดรมโลก สถาบันราชานุกูล

สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ส่งเสริมพลังใจครอบครัวผู้บกพร่องทางพัฒนาการฯ กลุ่มอาการดาวน์  
เน้นการรณรงค์ส่งเสริมให้รีบเข้ารักษา ฟื้นฟู  ฝึกฝนพัฒนาการ ย้ำ ยิ่งเร็ว...ยิ่งดี
 
วันนี้ (21 มี.ค.2560) ที่สถาบันราชานุกูล จัดกิจกรรมเนื่องในวันดาวน์ซินโดรมโลก เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ ในชื่องาน “เส้นทางแห่งดาวน์ (ซินโดรม)” แนะนำการดูแลสุขภาพพร้อมกับกิจกรรมสนุกสนาน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทีมสหวิชาชีพ ร่วมด้วยกลุ่มดาวน์ที่ประสบความสำเร็จจากการศึกษาและฝึกวิชาชีพ ตลอดจนกิจกรรมร่วมสนุก เกมส์ การละเล่น และการแสดงความสามารถพิเศษของเด็กๆ กลุ่มอาการดาวน์
พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ กล่าวว่า วันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันดาวน์ซินโดรมโลก หลายภาคส่วนได้สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารสร้างความตระหนักและส่งเสริมศักยภาพของผู้พิการทางสติปัญญา ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเคลื่อนไหวและรวมตัวกันโดยเครือข่ายผู้ปกครองจากทั่วประเทศ และในปีนี้ได้มีการจัดกิจกรรม ทำดี...เพื่อพ่อ Run For Special กับโครงการเดิน – วิ่ง ปลุกพลังสร้างกำลังใจให้คนพิการดาวน์ซินโดรม ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2560 ที่ลานตะวันยิ้ม สวนลุมพินี กรุงเทพฯ ด้วยความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย และสถาบันราชานุกูล เพื่อสร้างความเข้าใจในศักยภาพและความสำเร็จของบุคคล ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมทั่วโลก ซึ่งเป็นคนพิการทางสติปัญญาอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องได้รับการรักษาและฟื้นฟู สร้างขวัญและกำลังใจให้กับพวกเขาเหล่านั้น เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้เช่นเดียวกับบุคคลปกติ เป็นการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในสังคมอีกช่องทางหนึ่ง  
  พญ.นพวรรณ กล่าวต่อว่า การรณรงค์ส่งเสริมด้านการดูแลสุขภาพก็เป็นเรื่องสำคัญที่สุดสำหรับผู้พิการกลุ่มนี้ จากสถิติผู้เข้ารับบริการในสถาบันราชานุกูล ปี 2559 พบเด็กกลุ่มอาการดาวน์เข้ารับบริการการส่งเสริมพัฒนาการและโปรแกรมการฟื้นฟูทางการศึกษาและอาชีพ ร้อยละ 26.34 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ในจำนวนนี้ พบว่า เด็กดาวน์อายุแรกเกิด – 5 ปี มีระดับพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นหลังเข้าโปรแกรม ถึงร้อยละ 67.12 โดยด้านที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังส่งเสริมพัฒนาการ คือ  พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเอง และด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กกลุ่มอาการดาวน์ตั้งแต่อายุแรกเกิด – 5 ปี เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและปัญหาที่เป็นลักษณะเฉพาะของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ จะมีทั้ง การส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยการเสริมความแข็งแรงด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆ  การส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และ การแก้ไขปัญหาการดูด เคี้ยว  การส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสาร และฝึกการช่วยเหลือตนเองที่จำเป็นตามวัยโดยทีมสหวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์  
“เด็กกลุ่มอาการดาวน์ช่วงอายุแรกเกิด – 5 ปี สามารถมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ จากการที่ผู้ปกครองนำมารับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างรวดเร็วตั้งแต่อายุน้อยๆ (ไม่เกินขวบปีแรก) ร่วมกับการที่ผู้ปกครอง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพและให้การส่งเสริมพัฒนาการลูกเองได้ที่บ้านอย่างต่อเนื่อง พ่อแม่ ผู้ดูแลจึงเป็นคนสำคัญที่สุดในการดูแลเด็กกลุ่มนี้ ที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากการศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ที่สามารถเข้าศึกษาในระบบการศึกษาปกติได้ ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข” พญ.นพวรรณ กล่าว 
 
**************21 มีนาคม 2560
 
ลิงค์ข่าวสารจากสื่อมวลชน
 

Poster Down2017_B.pdf
Poster Down2017_C.pdf
Fact sheet กลุ่มอาการดาวน์ ปี 2560.pdf
Poster Down2017_A.pdf
Press release.pdf

  View : 4.02K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 212
 เมื่อวาน 1,376
 สัปดาห์นี้ 6,235
 สัปดาห์ก่อน 6,556
 เดือนนี้ 22,876
 เดือนก่อน 57,053
 จำนวนผู้เข้าชม 872,044
  Your IP : 52.167.144.214