กรมสุขภาพจิต โดยสถาบันราชานุกูลร่วมกับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังร่วมกับอีก 13 องค์กร และ IASSIDD ผลักดันงานวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสติปัญญาทั่วโลก ยึดแนวทาง “พัฒนาอย่างยั่งยืน กลมกลืนในสังคม”

 

วันนี้ (14 พ.ย.2560) นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ ในระดับเอเชียแปซิฟิก 2017 IASSIDD 4th Asia-Pacific Regional Congress ส่งเสริมการวิจัยและแลกเปลี่ยน  องค์ความรู้ในการดูแลผู้พิการทางสติปัญญา ณ ห้อง Convention Hall A-B รร.แอมบาสเดอร์ สุขุมวิท กทม. โดยกล่าวให้ความสำคัญต่อการค้นหากลยุทธ์และรูปแบบของการพัฒนาและสนับสนุนผู้พิการทางสติปัญญา ผ่านนโยบายภาครัฐที่สอดคล้องกับระบบการให้บริการจากทุกภาคส่วนของสังคม นำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวในชุมชน ผู้พิการได้รับการยอมรับ    ไม่ถูกละเลยทั้งในเรื่องนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิต การสนับสนุนให้พึ่งพาตนเองได้ คุณภาพของครอบครัว การจ้างงานและมีอาชีพ ตลอดจนถึงการเข้าถึงโอกาสและการยอมรับทางสังคม

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สะท้อนถึงความสำคัญของการศึกษาทั้งในโรงเรียนและในสังคม โดยระบบที่เอื้อต่อผู้พิการจะต้องรวมถึงการประเมิน การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การเอื้อให้เข้าถึงโอกาสและสิทธิในทุกระดับชั้นการศึกษา อีกทั้งยังต้องมีกลไกของการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นเดียวกับผู้เรียนรู้กลุ่มทั่วไปอื่นๆในสังคม

ขณะที่นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ ได้เน้นถึงการดูแลสุขภาพที่เป็นองค์รวมทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้พิการทางสติปัญญา ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของกรมสุขภาพจิต ในการดูแลสุขภาพเชิงรุกตลอดในทุกช่วงอายุ ตั้งแต่การดูแลในครรภ์ การวินิจฉัยทางพันธุกรรม การช่วยเหลือรักษาอย่างรวดเร็วตั้งแต่แรกเริ่มของปัญหาความพิการ การติดตามสุขภาพกาย-จิตใจ การรักษาและฟื้นฟูทางการแพทย์ เพื่อให้มีโอกาสพัฒนาด้านการศึกษาและสังคมได้อย่างลงตัวต่อไป

ซึ่งการประชุมครั้งนี้ประเทศไทย โดย กรมสุขภาพจิต ได้รับเกียรติจาก The International Association for the Scientific Study of Intellectual and Developmental Disabilities (IASSIDD) ซึ่งเป็นองค์กรที่สนับสนุนการศึกษาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้พิการทางสติปัญญา ให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการนานาชาติในระดับเอเชียแปซิฟิค  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับผู้พิการทางสติปัญญา ระหว่างสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง องค์กรอิสระ รวมถึงกลุ่มผู้ปกครองของผู้พิการทางสติปัญญา  ทั้งนี้ ทั่วโลก มีผู้พิการทางสติปัญญา 76 ล้านคน ประเทศไทย มีจำนวน 650,000  คน ช่วงอายุ 5-19 ปี ประมาณ 123,300 คน เข้าถึงบริการทางสุขภาพ ร้อยละ 5.59

 ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ฟิลลิป เดวิดสัน มหาวิทยาลัยแพทย์และทันตกรรม แห่งเมืองโรเชสเตอร์ (University of Rochester School of Medicine and Dentistry) ประธาน IASSIDD  ได้ระบุว่า การประชุมวิชาการนานาชาติ 2017 IASSIDD 4th  Asia Pacific Regional Congress  ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกภูมิภาคของโลก รวมทั้งสิ้นกว่า 600 คน

จากประมาณ 29 ประเทศ มีผลงานวิจัยที่เป็นต้นแบบนวัตกรรมซึ่งจะมีผลต่อการผลักดันคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสติปัญญามากกว่า 100 เรื่อง เช่น ผลงานวิจัยที่สะท้อนลักษณะสำคัญของธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสังคม (Social enterprise) ซึ่งต้องไม่เน้นเพียงเรื่องของการจ่ายค่าจ้าง แต่ยังต้องเป็นงานที่มีความหมายในการให้โอกาสแก่ผู้พิการได้เรียนรู้ทักษะด้านอาชีพ

และทักษะที่สังคมยอมรับหรือเห็นคุณค่า รวมถึงยังช่วยพัฒนาสัมพันธภาพทางสังคมของผู้พิการทางสติปัญญาด้วย       

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่บ่งบอกว่าพี่น้องของผู้พิการทางสติปัญญา เป็นอีกส่วนในครอบครัวที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาความเครียด และปัญหาคุณภาพชีวิต รวมทั้งเกิดความห่างเหินจากพ่อแม่ สังคมจึงต้องให้ความสำคัญต่อการเกื้อหนุนผู้พิการทางสติปัญญาในรูปแบบที่มองครอบครัวเป็นศูนย์กลางอย่างเป็นองค์รวม (Holistis family-centric support)  เป็นต้น

โดยการจัดประชุมครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ สามารถติดตามข้อมูลได้ทาง www.rajanukul.go.th และ www.iassidd.org

.....................................

ข่าวเผยแพร่ทางสถานีข่าว และ Social Network

1. กรมสุขภาพจิต ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังร่วมกับอีก 13 องค์กร และ IASSIDD ผลักดันงานวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสติปัญญาทั่วโลก  http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/TNSOC6011140010077 สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ 14 พฤศจิกายน 2560

2. จุฬาฯ ผลักดันงานวิจัยพัฒนาผู้บกพร่องทางสติปัญญา http://www.banmuang.co.th/news/education/95649 สำนักข่าว บ้านเมือง 16 พฤศจิกายน 2560

3. ผลักดันงานวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสติปัญญาทั่วโลก https://www.hfocus.org/content/2017/11/14926 Hfocus 18 พฤศจิกายน 2560 

4. กรมสุขภาพจิต ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังร่วมกับอีก 13 องค์กร และ IASSIDD ผลักดันงานวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสติปัญญาทั่วโลก ยึดแนวทาง “พัฒนาอย่างยั่งยืน กลมกลืนในสังคม”

 http://www.ryt9.com/s/prg/2742061 ThaiPR.Net 17 พฤศจิกายน 2560

5. จุฬาฯร่วมสถาบันราชานุกูลและองค์กรต่างๆดันงานวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิตผู้บกพร่องทางสติปัญญา http://www.tddf.or.th/news/detail.php?contentid=0066&postid=0016713 ห้องข่าว มพพ. (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย)  16 พฤศจิกายน 2560

6. จุฬาฯร่วมสถาบันราชานุกูลและองค์กรต่างๆดันงานวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิตผู้บกพร่องทางสติปัญญา http://m.eduzones.com/content.php?id=190494 EDUZONE 16 พฤศจิกายน 2560

7. กรมสุขภาพจิต ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังร่วมกับอีก 13 องค์กร และ IASSIDD ผลักดันงานวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสติปัญญาทั่วโลก ยึดแนวทาง พัฒนาอย่างยั่งยืน กลมกลืนในสังคม http://www.thailand4.com/gen/2017-11-17/40139b9d61c16820481039eeed1be92b/  Thailand press release news  17 พฤศจิกายน 2560

8.Earlier treatment of intellectual disability urged โดย The Nation http://www.nationmultimedia.com/detail/national/30331586 14 พฤศจิกายน 2560

9.Prof.Philip W. Davidson , IASSIDD President และ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล ได้รับเชิญสัมภาษณ์ในรายการ Thailand Today ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT 1 ธันวาคม 2561 https://www.youtube.com/watch?v=tpTjIHg0fLw&index=27&list=PLo2h_UfHtk9jUaEgwl-zayug16XYAoNXn

 

  


Press Release IASSIDD.pdf

  View : 2.59K


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


 วันนี้ 281
 เมื่อวาน 957
 สัปดาห์นี้ 2,156
 สัปดาห์ก่อน 7,656
 เดือนนี้ 15,044
 เดือนก่อน 33,046
 จำนวนผู้เข้าชม 896,722
  Your IP : 51.222.253.18